วิชา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม , พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ,พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 สามารถค้นหาคำพิพากษาฎีกาภายใน 1o ปี หลังสุดได้แล้วครับ จะเร่งเพิ่มวิชาต่อไปให้เสร็จตามมาเรื่อยๆครับ

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา
www.lawbooks-by-mrt.blogspot.com

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9384/2550


9384/2550    จำเลยที่ 1 ทำสัญญาให้จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ต่างๆบนที่ดินของจำเลยที่ 1  โดยจำเลยที่ 2 เป็นคนเก็บเงินค่าก่อสร้างจากผู้จองอาคารพาณิชย์  โดยจำเลยที่ 1 จะจดทะเบียนการเช่าให้แก่ผู้จองมีกำหนดคนละ 30 ปี   จำเลยที่ 1 เป็นผู้กำหนดที่ดินที่จะปลูกสร้าง  จำเลยที่ 1 เท่านั้นมีสิทธิยื่นคำขอก่อสร้างต่อทางราชการ   จำเลยที่ 2 ยังได้โฆษณาชักชวนบุคคลภายนอกเข้ามาจองอาคารพาณิชย์เพื่อการทำธุรกิจค้าขายอันเป็นโครงการที่จำเลยที่ 1 กับที่ 2  วางแผนร่วมกันแบ่งปันผลประโยชน์และผลกำไรกัน   โดยเมื่อสร้างเสร็จกรรมสิทธิ์ในตึกแถวให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1  โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ออกเงินค่าวัสดุก่อสร้างแต่อย่างใด   จำเลยที่ 2 ก็ได้รับประโยชน์ค่าตอบแทนจากการปลูกสร้างด้วย  ตามลักษณะสัญญาพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และวัตถุประสงค์ในการทำสัญญาจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก  และสัญญามัดจำปลูกสร้าง   สัญญาปลูกสร้างอาคารระหว่างจำเลยทั้งสองยังเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนที่จำเลยทั้งสองร่วมลงทุนแบ่งผลกำไรกัน
                    จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนได้โฆษณาชี้ชวนให้บุคคลทั่วไปและโจทก์ให้เข้าทำสัญญากับจำเลยที่ 2  โดยมีเหตุจูงใจว่าจำเลยทั้งสองจะร่วมกันทำศูนย์กลางการค้าขาย   แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้ร่วมกันดำเนินการในขั้นตอนต่างๆด้วยกันก็ย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย  และจำเลยที่ 1 จะทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาดังกล่าวในภายหลังว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องสร้างอาคารมาต่อสู้โจทก์ไม่ได้เพราะเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยด้วยกันเอง  โจทก์ไม่ได้ยินยอมรู้เห็นด้วย  การที่จำเลยทั้งสองไม่สร้างอาคารตามสัญญาที่ทำกับโจทก์  ทั้งที่โจทก์ชำระค่าก่อสร้างครบถ้วนแล้ว  จำเลยทั้งสองจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา   โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและจำเลยทั้งสองต้องคืนเงินค่าก่อสร้างพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
 http://deka-by-mrt.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น