วิชา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม , พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ,พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 สามารถค้นหาคำพิพากษาฎีกาภายใน 1o ปี หลังสุดได้แล้วครับ จะเร่งเพิ่มวิชาต่อไปให้เสร็จตามมาเรื่อยๆครับ

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา
www.lawbooks-by-mrt.blogspot.com

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

บทบรรณาธิการ เล่ม10

                คำถาม ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาตามที่จำเลยให้การ จำเลยมิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ตั้งประเด็นเรื่องฟ้องซ้ำไว้ จำเลยฏีกาว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำได้หรือไม่
                คำตอบ มีคำพิพากษาฏีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
                คำพิพากษาฏีกาที่ ๘๔๑๔/๒๕๕๒  ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องของโจทก์ทั้งสองโดยเห็นว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความและได้วินิจฉัยด้วยว่าฟ้องของโจทก์ทั้งสองไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว  จำเลยที่ ๑ และที่ ๕ ต่างมิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ตั้งประเด็นเรื่องฟ้องซ้ำไว้ การที่จำเลยที่ ๑ และที่ ๕ แพ้คดีในชั้นอุทธรณ์แล้ว จำเลยที่ ๑ และที่ ๕ หวนกลับมาหยิบยกประเด็นเรื่องฟ้องซ้ำขึ้นกล่าวอ้างอีก จึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค ๔ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๔๙ วรรคหนึ่ง
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๔๙๑/๒๕๕๓ จำเลยทั้งสองได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้วว่าการฟ้องคดีของโจทก์เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ แม้เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำวินิจฉัยว่าไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำจำเลยกลับมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค ๗ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๔๙ วรรคหนึ่ง
                คำถาม คดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๒๔ วรรคสอง, ๒๔๘ วรรคสอง นั้น หากคู่ความในคดีฟ้องขับไล่คือคดีระหว่างโจทก์จำเลยต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริง คดีเกี่ยวกับการบังคับบริวารของจำเลยผู้ถูกฟ้องขับไล่จะต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงด้วยหรือไม่
                คำตอบ ในชั้นฎีกามี ป.วิ.. มาตรา ๒๔๘ วรรคสอง บัญญัติไว้ แต่ในชั้นอุทธรณ์ไม่มีบทบัญญัติดังกล่าว แต่มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ทำนองเดียวกัน
                ชั้นฎีกา
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๔๔/๒๕๕๒ โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกจากที่ดินและบ้านซึ่งปลูกสร้างในที่ดินดังกล่าวพร้อมเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน ๓๖,๐๐๐บาท จำเลยไม่ยื่นคำให้การ และโจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินและบ้านดังกล่าวหากให้ผู้อื่นเช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ ๔,๕๐๐ บาท คดีของโจทก์จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท โจทก์และจำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษว่าไม่ใช่บริวารของจำเลย โดย ท. ยกที่ดินและบ้านดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องทั้งสองในฐานะบุตรสาวและบุตรเขย และศาลชั้นต้นงดการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง และมีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีบ้านของผู้ร้องทั้งสอง เท่ากับสาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่าผู้ร้องทั้งสองไม่เป็นบริวารของจำเลย และศาลอุทธรณ์ภาค ๑ พิพากษายืน คดีระหว่างโจทก์และผู้ร้องทั้งสองจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยผู้ถูกฟ้องขับไล่ซึ่งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์ และคดีระหว่างโจทก์จำเลยเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท ซึ่งคู่ความในคดีฟ้องขับไล่นั้นต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๔๘ วรรคสอง เมื่ศาลอุทธรณ์ภาค ๑ พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ว่าศาลจะฟังว่าบุคคลดังกล่าวสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้หรือไม่ คดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๔๘ วรรคสาม
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๙๒/๒๕๔๒ เดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากบ้านพิพาทอันเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้จำเลยเช่าบ้านพิพาทในอัตราค่าเช่าเท่าใด คงได้ความเพียงว่า ผู้ร้องเสียค่าเช่าให้โจทก์ในอัตราเดือนละ ๑๒๐ บาท ดังนั้น ค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องจึงฟังได้ว่าไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท คู่ความในคดีฟ้องขับไล่เดิมนั้นจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๔๘ วรรคสอง เมื่อคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับผู้ร้องซึ่งเป็นบริวารของจำเลยผู้ถูกฟ้องขับไล่และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้น ไม่ว่าศาลจะฟังว่าผู้ร้องสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้หรือไม่ก็ตาม คดีก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.. มมาตรา ๒๔๘ วรรคสาม ที่ผู้ร้องฎีกาว่าผู้ร้องรับโอนสิทธิการเช่าจากจำเลยโดยโจทก์รู้เห็นยินยอม ผู้ร้องจึงเป็นผู้เช่าโดยตรงจากโจทก์และสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับผู้ร้องเป็นสัญญาเช่าต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
                ชั้นอุทธรณ์
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๘๒/๒๕๕๑ คดีเดิมโจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่ผู้เช่าและบริวารออกจากที่ดินพิพาทที่จำเลยเช่าจากโจทก์ในอัตราค่าเช่าเดือนละ ๓,๐๐๐ บาท กับให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างพร้อมค่าเสียหายนับถัดจากวันฟ้อง เป็นคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๒๔ วรรคสอง คดีที่เกี่ยวกับการบังคับผู้ร้องซึ่งเป็นบริวารของจำเลยจึงต้องหห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงด้วย
                ผู้ร้องอุทธรณ์ว่า คำพิพากษาตามยอมผูกพันเฉพาะจำเลยกับโจทก์ผู้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ผูกพันผู้ร้อง เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๒๔ วรรคหนึ่ง
                จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ยอมออกจากที่ดินพิพาทพร้อมกับบริวารแม้ผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว คำพิพากษาตามยอมก็มีผลบังคับแก่ผู้ร้องด้วย โจทก์จึงขอให้บังคับคดีแก่ผู้ร้องได้ตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๙๖ จัตวา
                คำถาม การยื่นคำร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบต่อศาลจังหวัด ศาลมีคำสั่งยกคำร้องโดยผู้พิพากษาคนเดียวเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีนั้น เป็นการชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่
                มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๔๙๒/๒๕๔๘ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งริบรถจักรยานยนต์หมายเลขทะเบียน กงว ๖๐๗ พังงาน ของกลาง เมื่อผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลาง และผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย แต่โจทก์คัดค้านว่า ผู้ร้องมิใช่เจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลาง และผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลย คดีจึงมีประเด็นพิพาทจะต้องวินิจฉัยว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางและรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยหรือไม่ คดีนี้ศาลชั้นต้นเป็นศาลจังหวัด การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้นต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๖ การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนี้ และมีคำสั่งยกคำร้องขอคืนของกลางของผู้ร้องโดยผู้พิพากษาคนเดียวเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๔ (๒) และมาตรา ๒๖ เนื่องจากการพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวมีลักษณะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวที่จะออกคำสั่งได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๕ จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย และศาลอุทธรณ์ภาค ๘ ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๕ วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา ๒๒๕
                คำถาม ผู้เสียหายซึ่งยังเป็นผู้เยาว์จะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการได้หรือไม่
                คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ ดังนี้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๖๓/๒๕๑๗ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายกฎหมายอาญา มาตรา ๒๗๘ เด็กหญิงเซาเด๊าะ ผู้เสียหายโดยนายขือชาให้ความยินยอมร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมศาลชั้นต้นอนุญาต
                กรณีที่เด็กหญิงเซาเด๊าะอายุ ๑๔ ปี เป็นผู้เยาว์จะเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ ต้องกระทำโดยผู้แทนตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.. มาตรา ๓, ๕ และ ๖ การที่เด็กหญิงเซาเด๊าะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมโดยยินยอมของนายขือชาผู้เป็นบิดาซึ่งศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตนั้น มิได้เป็นไปตามบทบังคับอันว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย แต่ว่าจะยกฟ้องหรือไม่รับพิจารณาเสียทีเดียวยังไม่ได้ ชอบที่จำสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเสียก่อนตามนัยแห่ง ป.วิ.. มาตรา ๕๖ วรรค ๔ ประกอบด้วย ป.วิ.. มาตรา ๖ และมาตรา ๑๕ เมื่อโจทก์ร่วมมิได้ฎีกาขึ้นมาและคดีไม่อาจทำให้คำวินิจฉัยของศาลฎีกาเกี่ยวกับปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องของโจทก์หรือไม่เปลี่ยนแปลงไป การจะสั่งให้แก้ไขอำนาจฟ้องของโจทก์ร่วมให้ถูกต้องเสียก่อนในกรณีนี้จึงไม่จำเป็นเพราะไม่เกิดประโยชน์อย่างใด
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๒๘๓/๒๕๔๙ ขณะที่โจทก์ร่วมทั้งสองยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมทั้งสองยื่นคำขอร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตนั้น โจทก์ร่วมทั้งสองยังมีอายุไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสตาม ป... มาตรา ๑๙ และมาตรา ๒๐ และผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งยังเป็นผู้เยาว์จะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม ป.วิ.. มาตรา ๕ (๑) การที่โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ด้วยตนเอง จึงมิได้เป็นไปตามบทบังคับว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย แต่ศาลฎีกาจะยกคำร้องหรือไม่รับพิจารณาเสียทีเดียวยังไม่ได้ ชอบที่ศาลฎีกาจะสั่งแก้ไขข้อบกพร่องเสียก่อนตามนัยแห่ง ป.วิ.. มาตรา ๕๖ วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.. มาตรา ๑๕ แต่เมื่อนับอายุของโจทก์ร่วมทั้งสองในขณะที่คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมทั้งสองมีอายุเกิน ๒๐ ปี พ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นและไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องมีคำสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์ร่วมทั้งสองอีก
                รวมคำบรรยายเล่มนี้เป็นเล่มฉบับสุดท้าย บรรณาธิการขออวยพระให้นักศึกษาทุกคนประสบความสำเร็จสอบได้เป็นเนติบัณฑิตไทยทุกคน            
                                                                                                                       นายประเสริฐ       เสียงสุทธิวงศ์
                                                                                                                                        บรรณาธิการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น