วิชา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม , พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ,พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 สามารถค้นหาคำพิพากษาฎีกาภายใน 1o ปี หลังสุดได้แล้วครับ จะเร่งเพิ่มวิชาต่อไปให้เสร็จตามมาเรื่อยๆครับ

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา
www.lawbooks-by-mrt.blogspot.com

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

บทบรรณาธิการ ภาค2 สมัย64 เล่ม2

                คำถาม  คดีฟ้องขับไล่ออกจากอสังหาริมทรัพย์ และมีประเด็นโต้เถียงว่าที่ดินพิพาท เป็นกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของโจทก์ หรือเป็นที่ดินสาธารณะ จะถือว่าเป็นคดีที่ทุนทรัพย์หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์
                คำตอบ ให้แยกพิจารณาคู่ความที่พิพาทกันในคดี ดังนี้
                คดีพิพาทกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินระหว่างราษฎรกับเจ้าพนักงานหรือหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ดูแลรักษาที่ดิน ถือว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์
                ถ้าเป็นคดีที่ราษฎรกับราษฎรพิพาทกัน และมีประเด็นโต้เถียงว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือเป็นที่ดินสาธารณะ ถือว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๗๗๒-๓๗๗๕/๒๕๔๙)
                . คดีระหว่างราษฎรกับเจ้าพนักงานหรือหน่วยงานของรัฐ
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๒๑/๒๕๔๙ โจทก์ฟ้องคดีโดยมีคำขอให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าโจทก์มีสิททธิครองครองในที่ดินพิพาท เพราะเหตุที่จำเลยที่ ๑ อนุมัติให้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงในที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ซึ่งจำเลยมี่อำนาจหน้าที่ดูแลรักษาตามกฎหมาย แม้จำเลยจะมิได้เข้าแย่งการครอบครอง ก็เป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ซึ่งหากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ย่อมเป็นผลให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท คำขอที่ให้แสดงสิทธิครอบครองดังกล่าวจึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้โจทก์จะมีคำขอให้ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย แต่การที่ศาลจะพิพากษาตามคำขอในส่วนนี้ได้ ก็ต้องได้ความก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครองและมิใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์ คำขอในส่วนนี้จึงเป็นเพียงคำขอที่ต่อเนื่องกับคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งถือว่าเป็นคำขอประธาน คดีนี้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ สิทธิของโจทก์ในการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงต้องพิจารณาจากราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรักย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๒๔. วรรคหนึ่ง
                พิพากษาฎีกาที่ ๑๘๙๑/๒๕๕๑ โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท แต่องค์การบริหารส่วนตำบลจำเลยที่ ๑ อ้างว่าเป็นที่ดินสาธารณะ และ กล่าวหาว่าโจทก์บุกรุกที่สาธารณะ ให้โจทก์ดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและรั้วกำแพงคอนกรีตออกจากที่ดินดังกล่าว และมีคำขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ไม่ใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์สำหรับประชาชนใช้ร่วมกันและให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ ๑ และให้จำเลยที่ ๔ รื้อถอนเสาไม้ชั่วคราวที่ปักอยู่ที่ดินของโจทก์ จำเลยทั้งสี่ให้การว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินของโจทก์แต่เป็นที่ดินสาธารณะ ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์เท่ากับราคาที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์เรียกร้อง ๒๖๗,๑๕๐ บาท จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครปฐม แม้โจทก์จะมีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ ๑ และให้จำเลยที่ ๔ รื้อถอนเสาไม้ชั่วคราวที่ปักอยู่ในที่ดินของโจทก์ด้วย ก็เป็นคำขอต่อเนื่อง เมื่อศาลแขวงนครปฐมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคำขอหลักว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือไม่แล้ว ก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในคำขอต่อเนื่องดังกล่าวด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๒ (๑)
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๑๑/๒๕๕๐ โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท องค์การบริหารส่วนตำบลจำเลยขออนุญาตนำรถแบ็กโฮเข้าไปขุดหน้าดินในที่ดินดังกล่าวเพื่อนำไปถมทางเกวียนให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ให้ประชาชนสัญจรไปมา โดยมีข้อตกลงว่าเมื่อจำเลยขุดหน้าดินแล้ว จำเลยยอมให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวได้เหมือนเดิม แต่เมื่อจำเลยได้ขุดกหน้าดินเสร็จสิ้นแล้ว จำเลยได้นำป้ายปักไว้ว่า ห้ามจับปลาในร่องน้ำ และห้ามมิให้โจทก์เข้าเกี่ยวข้องกับร่องน้ำ กับได้นำราษฎร์เข้าไปจับปลาที่โจทก์เลี้ยงไว้ในร่องน้ำ การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เพราะไม่สามารถทำนาในที่ดินส่วนที่จำเลยขุดหน้าดินไป ไม่สามารถใช้น้ำในร่องน้ำปลูกผักสวนครัวและเลี้ยงปลาในร่องน้ำได้ ขอให้พิพากษาว่า ที่ดินส่วนที่จำเลยขุดเป็นร่องน้ำเป็นที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครองห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง และเรยกค่าเสียหายที่ต้องขาดผลประโยชน์ในการใช้ที่ดินจำเลยขุดเป็นร่องน้ำ แม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ แต่พฤติการณ์ของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาเห็นได้ชัดว่าจำเลยได้โต้แย้งว่าพิพาทไม่ใช่ที่ดินของโจทก์แต่เป็นที่ดินสาธารณะ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์โดยถือทุนทรัพย์เท่ากับราคาที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์เรียกร้อง
                ที่ดินพิพาทมีราคา ๘๑,๖๔๘ บาท ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องเอาจากจำเลยเป็นเงิน ๘๐,๐๐๐บาท เมื่อราคาที่ดินและค่าเสียหายรวมกันเป็นเงิน ๑๖๑,๖๔๘ บาท ไม่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท จึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงสุรินทร์ที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๑๗ ประกอบมาตรา ๒๕ (๔) ศาลจังหวัดสุรินทร์ชอบที่จะโอนคดีเรื่องนี้ไปให้ศาลแขวงสุรินทร์พิจารณาพิพากษาต่อไปตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๑๖ วรรคท้าย การที่ศาลแขวงสุรินทร์มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งรับโอนคดีแล้วมีคำสั่งใหม่เป็นว่าไม่รับโอนคดี และให้จำหน่ายคดีนี้ออกจากสารบบความ จึงไม่ชอบ
                . คดีที่ราษฎรกับราษฎรพิพาทกัน
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๙๙/๒๕๕๒ ในชั้นฎีกาโจทก์และจำเลยโต้เถียงกันว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่สาธารณประโยชน์หรือไม่ จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลออกจากอสังหาริมทรัพย์ เมื่อที่ดินพิพาทมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าในขณะยื่นคำฟ้องเดือนละไม่เกิด ๑๐,๐๐๐ บาท การที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์มิใช่ผู้ครอบครองที่ดินพิพาทเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค ๙ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๔๘ วรรคสอง
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๘๓๐/๒๕๕๑ โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์คิดเป็นเนื้อที่ ๗๔ ตารางวา ราคาประเมินตารางวาละ ๑,๐๐๐ บาท เป็นทุนทรัพย์ ๗๔,๐๐๐ บาท จำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์โดยอ้างการครอบครองปรปักษ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ที่ดินอีกส่วนหนึ่งจำเลยอ้างว่าเป็นที่ดินของกรมชลประทาน เท่ากับว่าจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ส่วนนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์แต่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าหากให้เช่าจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ ๑,๐๐๐ บาท จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำร้องไม่เกินเดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท ฉะนั้นคำฟ้องของโจทก์ทั้งส่วนที่มีทุนทรัพย์และส่วนที่ไม่มีทุนทรัพย์จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๔๘ ที่โจทก์ฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ได้ให้จำเลยเช่าตามสัญญาเช่า เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกา
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๘๖๔/๒๕๕๓ โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์และออกไปจากที่ดินซึ่งเป็นที่งอกริมตลิ่งของโจทก์ จำเลยให้การเพียงว่าที่งอกริมตลิ่งตามฟ้องเป็นที่สาธารณประโยชน์ไม่ได้กล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยจึงเท่ากับมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ กรณีจึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ โดยเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลต่างๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ ศาลแขวงจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๑๗ ประกอบมาตรา ๒๕ (๔)
                คำถาม ในคดีแพ่ง การยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติม หากศาลชั้นต้นไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ จะต้องโต้แย้งคำสั่งชี้ขาดดังกล่าวไว้อีกหรือไม่ จะถือเอาคำร้องที่ยื่นเป็นคำโต้แย้งคำสั่งศาลแล้วเพื่อประโยชน์ในการอุทธรณ์ฎีกาได้หรือไม่
                คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๓๓๐-๙๓๓๓/๒๕๕๓ จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องว่า ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้อง โดยขอให้กำหนดประเด็นเพิ่มว่า จำเลยทั้งสามต่อเติมผนังคอนกรีตด้านหลงตึกแถวของจำเลยทั้งสามรุกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยสุจริตหรือไม่ด้วยหากศาลไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มให้แก่จำเลยทั้งสาม จำเลยทั้งสามจึงขอคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาล เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องว่า คำให้การของจำเลยทั้งสามไม่ชัดแจ้งว่าจะต่อสู้ไปในทางใด จึงไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ ถือเป็นการชี้ขาดคำคัดค้านตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๘๓ วรรคสาม จำเลยทั้งสามต้องโต้แย้งคำสั่งชี้ขาดของศาลชั้นต้นนั้นไว้ตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๒๖ วรรคสอง จึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้ จำเลยทั้งสาม จะถือเอาคำร้องของจำเลยทั้งสามดังกล่าวเป็นคำโต้แย้งคำสั่งศาลแล้วไม่ได้ เพราะเป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งชี้ขาด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.. มาตรา ๒๒๖ (๒) จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ ถึงแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยในปัญหาเรื่องนี้ให้จำเลยทั้งสาม โดยเห็นพ้องกับศาลชั้นต้นที่ไม่กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ก็เป็นการไม่ชอบเพราะต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวมิให้อุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยทั้งสามถือเป็นดรื่องที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๔๙ วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
                มีคำพิพากษาฎีกาที่ ๕๖๕/๒๕๔๐, ๓๖๑/๒๕๔๓ วินิจฉัยเช่นกัน
                คำถาม เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินซึ่งตกเป็นภาระจำยอม จะมีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี กรณีที่มีปัญหาในการบังคับคดีระหว่างโจทก์จำเลยหรือไม่
                คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๗๒๖/๒๕๕๓ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปัญหาวินิจฉัยข้อแรกตามฎีกาของผู้ร้องว่า ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านในคดีนี้หรือไม่ ผู้ร้องฎีกาว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมที่ดินโฉนดที่ ๓๓๙๙๘ ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการบังคับคดีและคำสั่งของศาลชั้นต้น ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีนี้ เห็นว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมที่ดินซึ่งตกเป็นภาระจำยอมและถูกบังคับคดีในคดีนี้ เมื่อการบังคับคดีมีปัญหาอันเนื่องจากโจทก์และจำเลยแปลความคำพิพากษาแตกต่างกัน จำเลยและผู้ร้องเห็นว่าการบังคับคดีไม่ถูกต้องตามคำพิพากษา ทำให้จำเลยและผู้ร้องเสียหาย ผู้ร้องย่อมใช้สิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๗ (๑)
                                                                                                         นายประเสริฐ       เสียงสุทธิวงศ์
                                                                                                                          บรรณาธิการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น