วิชา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม , พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ,พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 สามารถค้นหาคำพิพากษาฎีกาภายใน 1o ปี หลังสุดได้แล้วครับ จะเร่งเพิ่มวิชาต่อไปให้เสร็จตามมาเรื่อยๆครับ

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา
www.lawbooks-by-mrt.blogspot.com

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คำพิพากษาฎีกาที่1185/2553

1185/2553   ขณะเจ้าพนักงานตำรวจตั้งจุดตรวจ  ภ. ขับรถยนต์กระบะมีพวกนั่งอยู่ในห้องโดยสาร 1 คน และมีพวกอีก 4 คน ซึ่งมีจำเลยรวมอยู่ด้วยนั่งที่กระบะรถยนต์ เมื่อมาถึงจุดตรวจแล้วไม่ยอมหยุดให้ตรวจกลับเร่งความเร็วรถหนีไป จ่าสิบตำรวจ จ. สิบตำรวจตรี ท. และสิบตำรวจตรี ส. จึงกระโดดขึ้นไปบนกระบะรถยนต์ของกลาง จำเลยกับพวกยินยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจใส่กุญแจมือโดยดีไม่มีท่ามี่จะต่อสู้  หลังจากนั้นเจ้าพนักงานตำรวจใช้อาวุธปืนยิงขู่และทุบกระจกเพื่อให้ ก. หยุดรถ แต่ ก. ยังคงขับรถต่อไป จนกระทั่งต่อมาเมื่อพวกคนหนึ่งตะโกนว่าสู้มัน จำเลยกับพวกที่นั่งในกระบะรถยนต์เข้าต่อสู้กับสิบตำรวจตรี ท. และสิบตำรวจตรี ส. แล้วพวกคนหนึ่งใช้อาวุธยิงสิบตำรวจตรี ส. ถึงแก่ความตาย  ส่วนพวกอีกคนที่นั่งในห้องโดยสารใช้อาวุธปืนยิงสิบตำรวจตรี ท. ที่ใบหน้าได้รับอันตรายสาหัสโดยจำเลยถูกกระสุนปืนที่เท้าด้วย  จากนั้น ภ. กับพวกนำเจ้าพนักงานตำรวจทั้งสองที่ถูกยิงไปทิ้งในซอยหมู่บ้านจัดสรร พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยกับพวกมิได้คบคิดกันจะฆ่าและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานตำรวจตั้งแต่แรก แต่การฆ่าและพยายามฆ่าดังกล่าวเกิดขึ้นในทันทีทันใดระหว่างมีการต่อสู้กันโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยมีการกระทำใดที่แสดงว่ามีส่วนร่วมด้วยแต่กลับถูกระสุนปืนจากการยิงต่อสู้กันเข้าที่เท้า บ่งชี้ว่าน่าจะไม่รู้มาก่อนด้วยว่าจะมีการใช้อาวุธปืนยิงกันดังนี้ การกระทำของจำเลยยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกับพวกฆ่าสิบตำรวจตรี ส.    และพยายามฆ่าสิบตำรวจตรี ท.(ม.83)
                     การที่  ภ.  ไม่ยอมหยุดรถเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจกระโดดขึ้นไปบนรถเพื่อจับกุม แต่ยังคงขับรถต่อไปและเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจกระทำการเพื่อให้ ภ. หยุดรถอีก แต่ ภ. ก็ยังขับรถต่อไปทำให้เจ้าพนักงานตำรวจไม่สามารถลงจากรถมาตรวจค้นจำเลยกับพวกได้นั้น  ภ. กระทำไปโดยเจตนาหลบหนีให้พ้นการจับกุมให้ได้เท่านั้น ยังไม่เพียงพอจะรับฟังว่ามีเจตนาหน่วงเหนี่ยวกักขัง หรือทำให้เจ้าพนักงานตำรวจที่ขึ้นไปบนรถปราศจากเสรีภาพในร่างกาย(ม.310)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น