วิชา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม , พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ,พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 สามารถค้นหาคำพิพากษาฎีกาภายใน 1o ปี หลังสุดได้แล้วครับ จะเร่งเพิ่มวิชาต่อไปให้เสร็จตามมาเรื่อยๆครับ

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา
www.lawbooks-by-mrt.blogspot.com

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

บทบรรณาธิการ ภาค2 สมัย64 เล่ม6

                คำถาม คดีฟ้องเรียกค่าทดแทนกรณีผิดสัญญาหมั้นตาม ป... มาตรา ๑๔๓๙, ๑๔๔๐ เป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัวหรือไม่
                คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
                ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า “พิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๒ จำเลยที่ ๑ ได้หมั้นโจทก์ที่ ๑ ด้วยแหวนเพชร ๑ วง ราคา ๒๔๐,๐๐๐ บาท โดยตกลงจะแต่งงานกันภายหลังจากโจทก์ที่ ๑ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกแล้ว แต่ต่อมาจำเลยที่ ๑ ได้ถอนหมั้นโจทก์ที่ ๑ โดยคดีนี้โจทก์ที่ ๑ อ้างว่าการผิดสัญญาหมั้นของจำเลยทั้งสามทำให้โจทก์ที่ ๑ ได้รับความเสียหายแก่กายและชื่อเสียงและจากการจัดการอื่น อันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมาหาได้ จึงเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามรับผิดชดใช้ค่าทดแทนความเสียหายเป็นเงินรวม ๒,๘๐๒,๘๐๐บาท ส่วนโจทก์ที่ ๒ เรียกค่าเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงเป็นเงิน ๑๙๗,๒๐๐ บาท แม้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสองต่างเกิดจากการผิดสัญญาหมั้น แต่เป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๕ ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ ๑ ใช้ค่าทดแทนแก่โจทก์ที่ ๑ เป็นเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท และใช้ค่าทดแทนแก่โจทก์ที่ ๒ เป็นเงิน ๑๗๐,๐๐๐บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ที่ ๒ ฎีกา ขอให้พิพากษาให้จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ ๑ และ ให้ชดใช้ค่าทดแทนแก่โจทก์ที่ ๒ ส่วนจำเลยที่ ๑ ฎีกาว่าไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองตามฟ้อง ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ที่ ๒ และทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของจำเลยที่ ๑ ต่อโจทก์ที่ ๒ ไม่เกินสองแสนบาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๔๙ วรรคหนนึ่ง ที่โจทก์ที่ ๒ และจำเลยที่ ๑ ฎีกาดังกล่าวเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ที่ ๒ และฎีกาของจำเลยที่ ๑ ในส่วนของโจทก์ที่ ๒ มานั้นไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
                คำถาม คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จะฎีกาคำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาได้หรือไม่
                คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
                คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์
                (๑) คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๒๓๙/๒๕๔๔ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาจนกว่าศาลอุทธรณ์จะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๒๖ (๑) ประกอบมาตรา ๒๔๗
                (๒) คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๙๙/๒๕๔๐ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้ถูกต้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แม้ผู้ร้องจะเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบหรือไม่ถูกต้อง ก็มีสิทธิเพียงแต่โต้แย้งคำสั่งนั้นเพื่อใช้สิทธิฎีกาต่อไปเท่านั้น ยังหามีสิทธิที่จำไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นไม่ การที่ผู้ร้องฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๒๖ (๑) ประกอบด้วยมาตรา ๒๔๗
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๘๙/๒๕๔๘ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค ๑ ที่ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มให้ถูกต้อง เป็นคำสั่งก่อนที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๑ ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี และมิใช่คำสั่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๒๗ และ ๒๒๘ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค ๑ ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาคำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามมาตรา ๒๒๖ (๑) ประกอบด้วยมาตรา ๒๔๗ ฎีกาของโจทก์เป็นฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค ๑ ในระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์ยังไม่มีสิทธิฎีกา แม้โจทก์จะเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบหรือไม่ถูกต้อง ก็มีสิทธิเพียงโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เพื่อใช้สิทธิฎีกาต่อไปเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค ๑ ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีนั้นแล้ว หามีสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นไม่
                (๓) คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๐๕๓/๒๕๓๓ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์นั้น เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามมิให้ฎีกาจนกว่าศาลอุทธรณ์จะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๒๖ (และคำพิพากษาฎีกาที่ ๔๖๗๐/๒๕๒๙)
                (๔) คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๐๔๙/๒๕๔๗ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยวางเงินค่าธรรมเนียมภายในวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๔๖ เป็นคำสั่งที่ศาลชั้นต้นปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการเรียกจำเลยให้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แทนคู่ความตามคำพิพากษาวางศาลให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟัง อันเป็นคำสั่งของศาลอุทธรณ์ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังตามกฎหมาย ซึ่งถือว่าเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หากจำเลยเห็นว่าคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร จำเลยชอบที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์โดยนำเงินค่าธรรมเนียม ซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก่อน แล้วใช้สิทธิโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้เพื่อการใช้สิทธิฎีกาภายหลังเมื่อได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์แล้ว การที่จำเลยฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ทันทีในขณะที่ยังถือว่าคดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์เช่นนี้ จึงเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๒๖ (๑) ประกอบด้วยมาตรา ๒๔๗
                คำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ ๘๘/๒๕๔๘ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลภายใน ๑๔ วันนับแต่วันรับหมายนั้น เป็นคำสั่งที่ศาลชั้นต้นปฏิบัติตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค ๗ จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค ๗ หากจำเลยเห็นว่าคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค ๗ ดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร จำเลยชอบที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค ๗ โดยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก่อน แล้วใช้สิทธิโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้เพื่อการใช้สิทธิฎีกาในภายหลังเมื่อได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค ๗ แล้ว การที่จำเลยฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค ๗ ในทันทีในขณะที่ยังถือว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค ๗ จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๒๖ (๑) ประกอบด้วยมาตรา ๒๔๗
                (๕) คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๐๑๗/๒๕๕๓ คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์นั้น เป็นคำสั่งก่อนที่ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี และมิใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๒๗ และ ๒๒๘ แห่ง ป.วิ..จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาคำสั่งงนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๒๖ (๑) ประกอบด้วยมาตรา ๒๔๗ จำเลยทั้งสองยังไม่มีสิทธิฎีกา แม้จำเลยทั้งสองจะเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบหรือไม่ถูกต้อง ก็มีสิทธิเพียงโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เพื่อใช้สิทธิฎีกาต่อไปเมื่อศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้นแล้ว
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๖๙๘/๒๕๕๓ คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ ตาม พ... การธนาคารพาณิชย์ฯ นั้น เป็นคำสั่งก่อนที่ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี และมิใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๒๗ และ ๒๒๘ แห่ง ป.วิ.. จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาคำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๒๖ (๑) ประกอบด้วยมาตรา ๒๔๗ จำเลยที่ ๑ จึงยังไม่มีสิทธิฎีกา คงมีสิทธิเพียงโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เพื่อใช้สิทธิฎีกาต่อไปเมื่อศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีนั้นแล้วเท่านั้น
                คำถาม ผู้มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินกับผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ฝ่ายใดเป็นฝ่ายที่ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นเจ้าของ และภาระการพิสูจน์ตกแก่คู่ความฝ่ายใด
                คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๔๘๕/๒๕๕๓ ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นพิพาทข้อ ๒ ว่า จำเลยที่ ๑ ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๘๒ หรือไม่ โดยเห็นว่าโจทก์ทั้งห้าเป็นผู้มีชื่อในทะเบียนจึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๗๓ ภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลยทั้งสอง และเนื่องจากเป็นประเด็นสำคัญว่าทุกประเด็น จึงเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งให้คู่ความฝ่ายใดนำสืบในประเด็นข้อใดก่อนหรือหลังก็ได้ เมื่อประเด็นข้อ ๒ เป็นประเด็นสำคัญในคดี ศาลชั้นต้นย่อมสั่งให้จำเลยทั้งสองนำสืบก่อนทั้งหมดทุกประเด็นแล้วให้โจทก์ทั้งห้านำสืบแก้ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้โต้แย้งการกำหนดประเด็นหน้าที่นำสืบของศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๘๓ วรรคสาม จำเลยทั้งสองจะยกขึ้นเถียงในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาว่าฝ่ายโจทก์ทั้งห้าเป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบก่อนไม่ได้ ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
                โจทก์ทั้งห้ามีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน โจทก์ทั้งห้าย่อมเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๗๓ มิใช่ว่าจำเลยที่ ๑ เป็นผู้ครอบครองแล้วจำเลยที่ ๑ จะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามมาตรา ๑๓๖๙ และ ๑๓๗๐ ภาระการพิสูจน์ในประเด็นข้อนี้จึงตกอยู่แก่จำเลยที่ ๑
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๕๕๘/๒๕๕๓ ... มาตรา ๑๓๗๓ บัญญัติว่า ถ้าทรัพย์สินเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนไว้ในทะเบียนที่ดิน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ที่ดินพิพาทในคดีนี้เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวว่าเป็นของโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองอ้างว่าจะเลยทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองที่จะต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลยทั้งสอง ที่จำเลยทั้งสองอ้าง ป... มาตรา ๑๓๖๗ ที่บัญญัติว่า บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน ท่านว่าบุคคลนั้นได้ซึ่งสิทธิครอบครองนั้น มาตรา ๑๓๖๗ เป็นเพียงบทบัญญัติทั่วไป เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีโฉนดที่ดินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนไว้ในทะเบียนที่ดิน ซึ่งกฎหมายต้องการให้แสดงออกซึ่งกรรมสิทธิ์ในทางทะเบียนยิ่งกว่าการครอบครองจึงต้องบังคับตามมาตรา ๑๓๗๓ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองมีภาระการพิสูจน์ในประเด็นดังกล่าวจึงชอบแล้ว
                กรณีเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๒๗๗/๒๕๕๓ ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์การที่มีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของเป็นเพียงข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๗๓ เท่านั้น ส่วนความจริงผู้ใดจะมีสิทธิครอบครองจะต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานว่าผู้ใดเข้ายึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน โดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนจึงจะได้สิทธิครอบครองตามมาตรา ๑๓๖๗ ดังนั้น การที่โจทก์มิได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทเพียงแต่มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์จึงเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๕๖๕/๒๕๓๘ ที่ดินตาม น..๓ หรือ น..๓ก. เป็นที่ดินที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดินของสำนักงานที่ดินอำเภอ จึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนที่ดิน ดังนั้นข้อสันนิษฐานตาม ป... มาตรา ๑๓๗๓ ว่า อสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนนั้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองย่อมรวมถึงที่ดินที่มี น..๓หรือ น..๓ก. ด้วย
                                                                                                          นายประเสริฐ       เสียงสุทธิวงศ์
                                                                                                                            บรรณาธิการ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น