ประเสริฐ
เสียงสุทธิวงศ์
การเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นมีหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
๕๓๘ ว่า “เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น
ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ถ้าเช่ามีกำหนดว่าสามปีขึ้นไป
หรือกำหนดตลอดอายุของผู้เช่าหรือให้เช่าไซร้ หากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ท่านว่าการเช่านั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แต่เพียงสามปี”
จำเลยทำหนังสือสัญญาเช่นตึกแถวพิพาทจากโจทก์เป็นเวลา ๒๑ ปีนับแต่วันที่ ๘
มิถุนายน ๒๕๓๒ แต่มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีได้เพียง ๓
ปี คือวันที่ ๘
มิถุนายน ๒๕๓๕ เท่านั้นแต่หลังจากครบกำหนดดังกล่าวแล้ว จำเลยยังคงเช่าตึกแถวพิพาทต่อไปอีกโดยโจทก์มิได้ทักท้วง
จึงต้องถือว่าเป็นการเช่าต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา
๕๗๐
ซึ่งโจทก์จะบอกเลิกสัญญาเช่าเสียเมื่อใดก็ใด แต่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนตามวิธีที่กำหนดไว้ใน มาตรา
๕๖๖
เมื่อปรากฎว่าโจทก์จะบอกเลิกสัญญาเช่าเสียเมื่อใดก็ได้
แต่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนตามวิธีที่กำหนดไว้ใน มาตรา
๕๖๖ เมื่อปรากฎว่าโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าและให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาทภายใน ๖๐ วัน
นับแต่วันได้รับหนังสือ
จำเลยได้รับเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม
๒๕๔๔ ตามใบตอบรับไปรษณีย์ การบอกเลิกสัญญาเช่าของโจทก์จึงมีผมตามกฎหมายแล้ว จำเลยต้องออกไปจากตึกแถวพิพาท หาใช่โจทก์ก็ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าไม่ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๙๖/๒๕๕๒)
บันทึกเอกสารหมาย จ.๔ มีข้อความว่า “ข้าพเจ้านาง บ.(จำเลย)ขอรับว่าเป็นหนี้ค่าเช่าที่ขายของคุณ
อ.(โจทก์)จริงตามคำบอกกล่าวของทนายที่แจ้งมาแล้วนั้น แต่นาง
บ.(จำเลย)ขอลดหนี้จะชำระเพียง ๗๐,๐๐๐บาท จึงยังตกลงกันไม่ได้ ทรายจึงต้องสอบถามจากคุณ อ.(โจทก์) เจ้าหนี้เสียก่อนว่าจะมีความเห็นประการใดจึงได้ลงชื่อกันไว้ต่อหน้าพยาน”
เป็นเรื่องที่จำเลยยอมรับว่าได้เช่าที่ดินโจทก์และยังค้างค่าเช่าอยู่จริง
เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อในบันทึกดังกล่าวย่อมถือเป็นเป็นหลักฐานการเช่าอันจะทำมาฟ้องร้องขอให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ มาตรา ๕๓๘ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๒๔๖/๒๕๕๐)
ข้อสังเกต
ก.มาตรา ๕๓๘ ใช้บังคับเฉพาะสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น หากเป็นสัญญาเช่าสังหาริมทรัพย์เท่านั้น
หากเป็นสัญญาเช่าสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าจะเป็นสัญญาเช่าสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา ๔๕๖
วรรคหนึ่ง เช่น เรือมีระวางตั้งแต่หาตันขึ้นไป แพและสัตว์พาหนะ ย่อมไม่ตกอยู่ในบังคับมาตรา ๕๓๘
เช่นการเช่าเรือยนต์ซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๓๔/๒๔๘๐)
การเช่าช่วงอสังหาริมทรัพย์
การเช่าช่วงที่ดินพิพาทถือเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่งจึงต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ
มาตรา ๕๓๘ ซึ่งจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ
เมื่อจำเลยเข้าไปอยู่มนที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเช่าช่วงจากโจทก์
แต่ไม่ได้ทำหนังสือสัญญาเช่าช่วงจากโจทก์แต่อย่างใด
และไม่ปรากฎว่ามีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อของ จำเลยจึงไปอาจยกการเช่าช่วงขึ้นใช้ยันโจทก์ได้
การที่จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทจึงต้องถือว่าจำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิของโจทก์
จำเลยจะอ้างว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินแก่โจทก์แล้วเพื่อต่อสู้ว่าโจทก์
จำเลยจะอ้างว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินแก่โจทก์แล้วเพื่อต่อสู้ว่าจืก์ไท้ทัอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยหาได้ไม่
เมื่อโจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยอยู่ในที่พิพาทอีกต่อไปอละได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว
แต่จำเลยเพิกเฉยยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทต่อมาย่อมเป็นการอยู่โดยละเมิด
โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๒๗๕/๒๕๕๑)
คำมั่นจะให้เช่า มิใช่สัญญาเช่าใช้ไม่อยู่ในบังคับมาตรา ๕๓๘
เช่นกันเพราะ มาตรา ๕๓๘
ใช้บังคับเฉพาะสัญญาเช่า อสังหาริมทรัพย์เท่านั้นตัวอย่างเช่น ในสัญญาเช่ามีข้อความว่าเมื่อครบกำหนดเวลาเช่า ๒
ปี ตามสัญญาแล้ว ผู้เช่ามีสิทธิที่จะเช่าต่อไปได้อีก ๒
ปี
ถ้าประสงค์และเมื่อได้แต้งความประสงค์เช่าต่อแก่ผู้ให้เช่าแล้ว ผู้ให้เช่าจะปฏิเสธไม่ได้ และถ้าหากได้ทำสัญญาต่อไปดังกล่าว
เมื่อครบกำหนดอีกครั้งหนึ่งผู้เช่าคงมีสิทธิจะเช่าต่อไปได้อีก ๒
ปี ในเงื่อนไขดังกล่าวมาข้างต้น
และต่อจากนั้นถ้าผู้เช่าคงครอบครองสถานที่เช่าอยู่ ให้ถือว่ายังคงเช่าต่อไปไม่มีกำหนดเวลา
หรือในกรณีทำสัญญาเช่าห้องกันสามปีและมีข้อสัญญาต่อไปอีกหนึ่งข้อว่า เมื่อสิ้นสัญญา ฉบับนี้แล้ว
ผู้ให้เช่ายินดีที่จะทำสัญญาต่อให้แก่ผู้เช่าต่อไปอีกเป็นงวดๆจนครบ ๑๐
ปี
กรณีเช่นนี้เป็นคำมั่นจะให้เช่า
เมื่อผู้เช่าแสดงเจตนาขอเช่าต่อไปก่อนหมดอายุสัญญาเช่าแล้วผู้ให้เช่าผูกพันต้องให้ผู้เช่าได้เช่าตามระยะเวลาที่ให้คำมั่นไว้ไม่ได้ความตกลงดังว่านี้หาใช่เป็นการทำสัญญาเช่าโดยมีกำหนดเวลาเกินกว่า ๓
ปี ไม่ และการให้คำมั่นดังกล่าวแล้ว
แม้จะเป็นการตกลงให้เช่าติดต่อกันรวมแล้วเกิน ๓
ปี ก็ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา ๔๓๘
ที่จะต้องจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๒๖/๒๔๙๐,๙๗๖/๒๔๙๕)
แม้คำมั่นจะให้เช่าจะผู้พันผู้ให้เช่าในอันที่ต้องยอมให้ผู้เช่าได้เช่าทรัพย์สินต่อไปอีกและผู้ให้เช่าไม่อาจถอนคำมั่นนั้นได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ก็ตาม
แต่ก็มิได้ห้ามคู่สัญญาในอันที่ตะคกลงกันยกเลิกคำมั่นนั้นสัยได้ ดังนั้นเมื่อจ้อเท็จจรงฟังได้ว่า
โจทก์กับจำเลยตกลงยกเลิกคำมั่นนั้นเสียแล้ว คำมั่นดังกล่าวย่อมสิ้นผลไป โจทก์ก็ย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยทำสัญญาเช่าต่อไปภายหลังครบกำหนดเวลาเช่าได้อีกทั้งการตกลงกันยกเลิกคำมั่นดังกล่าวก็หาใช่การที่จำเลยถอนคำมั่นเพียงฝ่ายเดียวอันจะเป็นการต้องห้ามชัดแจ็งโดยกฎหมายและเป็นโมฆะกรรมดังที่โจทก์กล่าวอ้างในฎีกาไม่
แม้จะสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วก็ตาม แต่ข้อความในสัญญาเช่าต่างคอบแทน ข้อ
๓ ท้ายสัญญาเช่าเป็นคำมั่นที่จำเลยให้โอกาสดแก่โจทก์ในอันที่ตะค่อสัญญาเช่าได้อีกเท่านั้นจึงเป็นเพียงข้อตกลงที่แยกต่างหากนอกเหนือจากสัญญาเช่าได้และคำมั่นจะให้เช่านั้นก็ไม่มีบทบัญญัติกฎฆมายใดที่ระบุให้ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย
เพียงแต่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญก็มีผลใช้บังคับได้แล้ว
ดังนั้นเมื่อคำมั่นจะให้เช่าไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การทำบันทึกยกเลิกคำมั่นจะให้เช่านั้นก็ไม่จำต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เช่นกัน
บันทึกข้อตกลงดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์(คำพิพาทษาฎีกาที่ ๓๐๗๘ - ๓๐๗๙
/๒๕๕๒)
คำมั่นที่โจทก์จะให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทภายหลังสัญญาเช่าครบกำหนดแล้วเป็นเพียงคำมั่นด้วยวาจาและอยู่นอกเหนือจากข้อตกลงตามสัญญาเช่าเดิม
ซึ่งโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ในตึกแถวพิพาทอันเป็นทรัพย์สินที่เช่ามาจากมารดาโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่า แม้จำเลยจะสนองรับคำมั่นนั้นก่อนครบกำหนดสัญญาเช่าเดิมและเกิดเป็นสัญญาเช่าใหม่ก็ตาม แต่ตราบใดที่โจทก์ยังมิได้ทำหลักฐานการเช่าตึกแถวพิพาทใหม่เป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ
จำเลยย่อมไม่อาจขอให้บังคับโจทก์ต้องยอมให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทต่อไปได้ตาม ป.พ.พ
มาตรา ๕๓๘
โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวพิพาทเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดเวลาเช่า (คำพิพาทษาฎีกาที่ ๗๓๘๖/๒๕๔๘)
ข.
การทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์โดยเจตนาหลีกเลี่ยงบทบัญญัติ มาตรา
๕๓๘ เช่น “ จำเลยทำสัญญาเช่าขึ้นพร้อมกัน
๒ ฉบับ ลงวันที่ในสัญญาเช่าขึ้นพร้อมกัน ๒
ฉบับลงวันที่ในสัญญาและระยะเวลาที่เช่าติดต่อกันรวมได้กว่า ๓
ปี
ต้องการหลีกเลี่ยงกฎหมายย่อมฟ้องร้อง
บังคับกันได้เพียงสามปี
ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ มาจตรา
๕๓๘ซึ่งการฟ้องร้องให้บังคับคดีดังกล่าวหมายความรวมถึงการที่ยกขึ้นกล่าวอ้างต่อสู้ให้บังคับคดีไปตามข้อกล่าวอ้างนั้นด้วย
เพราะการบังคับคดีย่อมทำได้ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ฯลฯ”(คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๗๖/๒๕๒๘) ผู้ร้องทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกับเจ้าของเดิมพร้อมกัน ๓
ฉบับ รวมระยะเวลาเช่า๘ปี เมื่อมิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมบังคับกันได้เพียง ๓
ปี ตามสัญญาเช่าฉบับแรก
สิทธิของผู้ร้องที่จะอยู่ในตึกแถวที่เช่าจึงมีอยู่ถึงวันครบกำหนดตามสัญญาดังกล่าว
ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นเจ้าของตึกแถวและที่ดินสิทธิของผู้ร้องก็มีอยู่คงเดิม (คำพิพากษาฎีกาที่๙๙๒/๒๕๓๑) นอกจากนี้ยังมีคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๙๘๕/๒๕๒๖, ๒๖๕๕/๒๕๒๖ ๒๕๘๗ ---๒๕๘๙/๒๕๒๑,
๑๘๘๐/๒๕๑๘,๑๒๔๙/๒๕๑๕,๗๘๖/๒๕๑๓
, ๘๕๗/๒๕๐๓,
๑๘๑/๒๕๓๕ วินิจฉัยในแนวเดียวกัน
การทำสัญญาเช่ากันใหม่เพื่อขยายเวลาเช่าในสัญญาเดิมในระหว่างที่เวลาเช่าเดิมยังมีอยู่ ก็ถือเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติ มาตรา
๕๓๘ เช่นกัน
ทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินมีกำหนด ๕
ปี เมื่อทำสัญญาดังกล่าวแล้ว ๑
ปี จึงทำสัญญากันเองเช่ากัน ๓
ปีนับแต่วันสิ้น สัญญาที่ทำต่อพนักงานนั้น ถือว่าเป็นการขยายเวลาเช่าเดิม
เป็นการหลีกเลี่ยงการที่จะต้องทำสัญญาเช่าต่อเจ้าพนักงาน สัญญาเช่าที่ทำกันใหมจึงไม่สมบูรณ์ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๑๖/๒๔๙๒)
โจทก์กับพวกได้ทำสัญญาเช่าที่ดินจากจำเลยมีกำหนด ๒
ปี นับแต่วันที่ ๓๑
มีนาคม ๒๕๒๑ ถึงวันที่
๓๐ มีนาคม ๒๕๒๓
ครั้นวันที่ ๒๑ มีนาคม
๒๕๒๒
จำเลยได้ทำหนังสือให้โจทก์กับพวกเช่าอีก๔
ปี นับตั้งแต่วันที่ ๑
เมษายน ๒๕๒๔ เป็นต้นไป
ตามพฤติการณ์แห่งคดีแสดงให้เห็นว่าขณะทำหนังสือเพื่อโจทก์กับพวกจะเช่าต่อไปอีก ๔
ปี เวลาเช่าเดิมยังมีอยู่อีก ๑
ปี จึงจะครบกำหนดเช่า
เห็นได้ว่าเป็นการทำสัญญากันใหม่เพื่อขยายเวลาเช่าในสัญญาเดิมออกไปจึงเป็นการหลีกเลี่ยงการไปทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ
มาตรา ๕๓๘ ข้อตกลงเช่ากันใหม่อีก ๔ ปี จึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย (คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๐๑๓/๒๕๓๓)
ค.
การได้สิทธิตามสัญญาเช่ามาโดยคำพิพากษาตามยอมไม่อยู่ในบังคับ มาตรา๕๓๘
ข้อเท็จจริงมีว่า เมื่อวันที่
๕ มีนาคม๒๕๑๔
โจทก์ทำสัญญาให้จำเลยเช่าที่ดินมีโฉนดตามฟ้องมีกำหนด ๑๐
ปี นับแต่วันที่ ๕
มีนาคม ๒๕๑๔ ถึงวันที่
๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔
ต่อมาจำเลยฟ้องโจทก์ขอให้ศาลบังคับโจทก์ไปจดทะเบียนการเช่ามีกำหนดระยะเวลา ๑๐ ปี โดยอ้างว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาโจทก์ในฐานะจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าสัญญาเช่าดังกล่าวไม่ใช่สัญญาต่างตอบแทน สัญญาดังกล่าวมีกำหนดการเช่าเกิน ๓ ปี มิได้จดทะเบียนการเช่าเป็นโมฆะ และจำเลยใช้ที่เช่าผิดวัตถุประสงค์ของสัญญาเช่าเป็นการผิดวัตถุประสงค์ของสัญญาเช่า ขอให้ยกฟ้องและขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่เช่า
ผลที่สุดโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน
โดยโจทก์จำเลยยอมถือปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาเช่าที่ดินฉบับลงวันที่ ๕
มีนาคม ๒๕๑๔ ต่อไป
ศาลพิพากษาตามปรากฎตามคดีของศาลชั้นต้นหมายเลขแดงที่ ๒๗๐๒/๒๕๒๐ ซึ่งสัญญาดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลาการเช่า ๑๐ ปี ครั้น ยัง ไม่ครบกำหนดระยะเวลาเช่า ๑๐
ปีโจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่เช่าโดยอ้างเหตุว่าสัญญาเช่าซึ่งกำหนดระยะเวลาเช่า ๑๐
ปี
นั้นมิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สัญญาดังกล่าวจึงมีผลบังคับเพียงสามปีเท่านั้น บัดนี้พ้นกำหนดระยะเวลา ๓
ปีแล้ว
คดีมีปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยหรือไม่
พิเคราะห์แล้วเห็นว่า
สัญญากประนีประนอมยอมความซึ่งซาลได้พิพากษาตามยอมนั้นนคดีถึงที่สุดแล้ว ปรากฎตามคดีของศาลชั้นต้นหมายเลขแดงที่ ๒๗๐๒/๒๕๒๐
คำพิพากษานั้นย่อมมีผลผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความแพ่ง มาตรา
๑๔๕ วรรคแรก เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีคำพิพากษาตามยอมระบุว่าจำเลยมีสิทธิที่จะอยู่ในที่เช่าต่อไปจนครบกำหนดเวลา ๑๐
ปี ตามสัญญาเช่าจึงเป็นเรื่องสิทธิของจำเลยที่ได้มาโดยผลของคำพิพากษา
จำเลยย่อมได้สิทธิตามคำพิพากษานั้นโดยสมบูรณ์
โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้มีผลบังคับคดีผิดไปจากคำพิพากษาที่ผูกพันโจทก์อยู่ ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
๕๓๘ บัญญัติว่า การเช่าอหังสาริมทรัพย์ ถ้ามีกำหนดกว่าสามปีขึ้นไปหรือกำหนดตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่า
หากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แต่เพียงสามปีนั้น เห็นว่า
เป็นบทกฎหมายที่บังคับคู่ความที่ฟ้องร้องบังคับกันตามสัญญาเช่าที่มีกำหนดการเช่าเกินกว่าสามปีหรือคลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่า ให้มี ผล บังคับกันได้เพียงสามปี
ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับกรณีที่เป็นปัญหาอยู่ในคดีนี้ ฯลฯ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๑๒๗/๒๕๒๗)
กรณีตามคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวเป็นเรื่องสิทธิการเช่าที่ได้มาโดยผลของคำพิพากษาตามยอม
แต่ถ้าเป็นกรณีที่คู่ความตกลงกันยอมให้เช่าพิพาทมีกำหนดว่าสามปีแล้วถอนฟ้องไปโดยศาลมิได้พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความผลย่อมเป็นไปตามมาตรา ๕๓๘
หากมิได้
จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมีผลบังคับกันได้เพียง ๓ ปี
บิดาโจทก์เคยฟ้องขับไล่จำเลย แล้วตกลงประนีประนอมกัน โดยบิดาโจทก์ยอมให้จำเลยเช่าที่พิพาทมีกำหนด ๕
ปี และบิดาโจทก์ถอนฟ้อง ศาลอนุญาติ ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาล
สัญญาประนีประนอมตามรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวเป็นสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
๕๓๗
ระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลยด้วย
เมื่อบิดาโจทก์ตายที่พิพาทเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์
โจทก์ย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของบิดาโจทก์ที่มีต่อจำเลย แต่บิดาโจทก์กับจำเลยตกลงกัน ศาลมิได้พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิพิเศษใด
ๆนอกเหนือจากสัญญาเช่าอสังหารืมทรัพย์ธรรมดาทั่ว ๆไป เมื่อมิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สัญญาเช่า
จึง มีผลบังคับกันได้เพียง ๓ ปี
ตามมาตรา ๕๓๘ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๓๕๙/๒๕๓๐)
ง.
การเช่าที่ฝ่าฝืนมาตรา ๕๓๘ นั้น
กฎหมายมิได้บัญญัติว่าการเช่าจะต้องเป็นโมฆะ
กฎหมายบัญญัติแต่เพียงว่า จะฟ้องร้องให้บังคับหาได้ไม่เท่านั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๕๐/๒๕๐๘, ๑๓๙๙/๒๕๒๐)
หรืออาจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แต่เพียงสามปี เช่น
หนังสือสัญญาเช่าห้องที่โจทก์จำเลยทำกันมีกำหนด ๔
ปี แต่มิได้ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น หาตกเป็นโมฆะไม่ ตาม ป.พ.พ
มาตรา ๕๓๘ ให้ฟ้องร้องบังคับคดีได้เพียง ๓ ปี (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๖/๒๕๐๓, ๑๑๙๖/๒๕๕๒)
จ.
การฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ให้เช่าและเรียกค่าเสียหาย ไม่มีกฎหมายใดบังคับให้ต้องแนบสัญญาเช่าเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดมาพร้อมกับฟ้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๕๓๘
บังคับแต่เพียงว่าในการเช่าอสังหาริมทรัพย์ถ้าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือไม่ย่อมสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ซึ่งฟ้องโดยไม่แนบสัญญาเช่ามาพร้อมกับฟ้อง จึงไม่เป็นการฝ่าฝืน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา
๑๘(คำพิพากษาฎีกาที่
๓๓๐๓/๒๕๓๒) และคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๔๕/๒๕๓๒) และคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๔๕/๒๕๑๗
วินิจฉัยเช่นกัน
ฉ.
กรณีที่จำเลยยื่นคำให้การยอมรับว่าได้ทำสัญญาเช่ากับโจทก์จริง
กรณีเช่นนี้จึงไม่จำต้องใช้สัญญาเช่าเป็นพยานหลักฐานแม้สัฐฐาเช่าจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา๑๑๘
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำหนังสือสัญญาเช่ากับโจทก์ตามสำเนาหนังสือสัญญาเช่าท้ายฟ้องแล้วผิดสัญญา ขอให้ขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหาย
จำเลยให้การว่าหนังสือสัญญาเช่าเอกสารท้ายฟ้องเป็นสัญญาที่โจทก์เจ้าของที่ดินรวมและจำเลยมีเจตนาให้เป็นสัญญาซื้อขายโจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า
ตามคำให้การของจำเลยดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยให้การยอมรับว่า
จำเลยทำหนังสือสัญญาเช่าดังกล่าวกับโจทก์จริง เพียงแต่อ้างว่าหนังสือสัญญาเช่าดังกล่าวกับโจทก์จริง
เพียงแต่อ้างว่าหนังสือสัญญาเช่าดังกล่าวคู่สัญญามีเจตนาให้เป็นสัญญาซื้อขายกรณีเช่นนี้จึงไม่จำต้องใช้หนังสือสัญญาเช่าดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานแม้หนังสือสัญญาเช่าฉบับดังกล่าวจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ตามคำรับของจำเลยว่ามีการทำหนังสือสัญญาเช่ากันจริงไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา ๑๑๘ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๗๒๐/๒๕๕๐)
คำว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่นั้นมีความหมายสองประการ คือ
๑.
จะฟ้องร้องให้บังคับคดีตามสัญญาเช่าไม่ได้
เช่น ผู้เช่าไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับให้ผู้ให้เช่ายอมให้ผู้เช่าเช่าห้องพิพาทต่อไป(คำพิพาทฎีกาที่ ๑๕๒๐/๒๕๐๘, ๒๗๐๓/๒๕๒๔)
หรือผู้ให้เช่าจะฟ้องเรียกค่าเช่าจากผู้เช่าหาได้ไม่ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๘๐/๒๕๓๔, ๑๘๑/๒๕๓๕, ๒๒๘๘/๒๕๒๓,๑๗๙๒/๒๕๒๔, ๘๖๙/๒๕๒๐, ๑๓๙๙/๒๕๒๐, ๒๘๐/๒๔๙๐) การเช่าตึกแถวเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์
เมื่อไม่ได้ทำสัญญาเช่ากันไว้เป็นหนังสือแล้ว
ผู้ให้เช่าจะฟ้องร้องบังคับเอาค่าเช่าไม่ได้และจะบังคับเอาค่าเสียหายก็ไม่ได้ เพราะผู้ให้เช่าโดยละเมิด (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๘๘/๒๕๒๓)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท โดยซื้อที่ดินมาจาก ว. จำเลยได้เช่าจากว. ในอัตราค่าเชื่อเดือนละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท นับ แต่โจทก์ได้ซื้อที่ดินมา จำเลยไม่เคยชำระค่าเช่าส่วนของโจทก์ให้แก่โจทก์
ขอให้บังคับจำเลยนำค่าเช่าที่ดินไปชำระให้แก่โจทก์เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยนำค่าเช่าที่ดินไปชำระให้แก่โจทก์เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเช่าตามสัญญาเช่า แม้โจทก์ไม่ได้ฟ้องเรียกค่าเช่าแต่เป็นการฟ้องเรียกค่าตอบแทนจากการใช้ที่ดินที่กำหนดจำนวนแน่นอนเป็นรายเดือนแม้จะเรียกชื่ออย่างอื่นที่แท้ก็คือค่าเช่า
เมื่อโจทก์ไม่มีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยเป็นผู้รับผิดแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.พ.พ มาตรา ๕๓๘ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๕๒๕/๒๕๔๒)
อย่างไรก็ดี การเช่าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือผู้ให้เช่าก็ยังฟ้องฐานละเมิดให้ขับไล่โดยอาศัยกรรมสิทธิ์ได้เพราะมิใช่เป็นการฟ้องร้องให้ชำระหนี้ตามสัญญาเช่าแต่อย่างใด (นัยคำพิพากษาฎีกาที่ ๕๖๗/๒๕๐๕, ๑๔๑๓/๒๕๑๓, ๑๖๐๐/๒๕๒๐, ๒๓๗๖
-- ๒๓๘๙/๒๕๒๑, ๒๘๐๒/๒๕๒๕ , ๑๓๑๗/๒๕๒๖, ๕๐๗๒/๒๕๓๘, ๒๖๘๘/๒๕๔๔)
คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๕๓๕/๒๕๔๔
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “.....คดีมีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยว่าเมื่อโจทก์และจำเลยไม่ได้ทำสัญญาเช่าต่อกัน
โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
๕๓๘ นั้น เห็นว่า
การที่โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบเกี่ยวกับเรื่องจำเลยเช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์ก็เป็นเพียงให้เห็นในเบื้องต้นว่าจำเลยเข้าไปอยู่ในตึกแถวของโจทก์โดยอาศัยสิทธิแห่งสัญญาเช่า แต่เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ต่อไปและบอกกล่าวให้จำเลยออกจากตึกแถวดังกล่าวแล้วแต่จำเลยเพิกเฉย
จึงมิใช่การฟ้องขับไล่โดยอาศัยสิทธิแห่งสัญญาเช่า แต่เป็นการฟ้องเพื่อใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
๑๓๓๖
จึงไม่ได้ตกอยู่ในบังคับของมาตรา
๕๓๘
แม้โจทก์จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายได้
ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือครอบครองตาม ป.พ.พ
มาตรา ๑๓๓๖
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยเคยเช่าบ้านพิพาทของโจทก์เป็นเวลา ๓
ปี
โดยไม่ได้ทำสัญญาเช่ากันไว้
แต่โจทก์ก็บรรยายฟ้องต่อมาว่าสัญญาเช่าบ้านพิพาทที่จำเลยมีต่อโจทก์ได้ครบกำหนดแล้ว และโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าบ้านพิพาทอีกต่อไป
การบรรยายฟ้องของโจทก์ในลักษณะนี้เป็นการบรรยายเท้าความย้อนให้จำเลยเข้าใจว่า
เหตุที่จำเลยมีสิทธิเข้าไปอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทของโจทก์ในเบื้องแรกก็เนื่องมาจากโจทก์เคยให้จำเลยเช่าบ้านพิพาท
เป็นเวลา ๓ ปีมาก่อนเท่านั้น
เมื่อสัญญาเช่าบ้านระหว่างโจทก์กับจำเลยครบกำหนดแล้ว
จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะอาศัยอยู่ในบ้านหลังดังกล่าวต่อไป คำฟ้องโจทก์มิใช่คำฟ้องขอให้บังคับคดีตามสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ จึงมิได้ตกอยู่ในบังคับของมาตรา ๕๓๘
แห่ง ป.พ.พ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง”(คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๓๑๙/๒๕๓๘, ๕๐๗๒/๒๕๓๘)
การครอบครองที่ดินในฐานะผู้เช่าเป็นการครอบครองที่ดินแทนผู้ให้เช่า แม้ครอบครอง
เกิน ๑๐ ปี
ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครองครองตาม
ป.พ.พ มาตรา
๑๓๘๒
การฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายในกรณีที่การเช่ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น
มิได้เป็นการฟ้องร้องบังคับตามสัญญาเช่าแต่เป็นการฟ้องโดยอาศัยอำนาจกรรมสิทธิ์ของเจ้าของทรัพย์เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอยู่ในที่พิพาทต่อไปและบอกกล่าวให้ออกแล้วจำเลยไม่ยอมออกจึงตกเป็นการอยู่โดยละเมิด
โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๙/๒๕๒๙)
๒. คำว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่นั้น หมายความรวมถึงฟ้องแย้งด้วย เช่น
เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยระบุชัดว่า
การเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งให้บังคับคดีเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระจากโจทก์ได้เพราะต้องห้ามตามมาตรา ๕๓๘
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๘๐/๒๕๓๔ และ
๑๘๑/๒๕๓๕)
และมิได้หมายความถึงผู้ที่จะเป็นโจทก์ฟ้องร้องอย่างเดียว
แต่หมายความรวมถึงการต่อสู้คดีด้วยเพราะการบังคับคดีย่อมทำได้ด้วยกันทั้งสองฝ่าย (นัยคำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๗๖/๒๕๒๘, ๑๙๘๕/๒๕๒๗, ๕๓๗/๒๕๒๑, ๒๘๐๒/๒๕๒๕, ๗๐/๒๕๒๒, ๑๔๓๐ ๑๔๘๒/๒๕๑๐, ๗๐๐/๒๕๑๕ ,
๒๖๕/๒๕๐๘,๑๒๒๖/๒๕๐๘, ๑๓๓-๒๕๐๗, ๒๓๗/๒๕๐๔)
ดังนั้น
การเช่าที่ฝ่าฝืนมาตรา ๕๓๘ เช่น
ทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์มีกำหนดระยะเวลาการเช่าเกินกว่าสามปีขึ้นไปหรือกำหนดตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่า หากมีแต่เพียงหลักฐานเป็นหนังสือ
แต่มิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การเช่านั้นย่อมฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้เพียงสามปีตามมาตรา ๕๓๘
ผู้เช่าไม่อาจฟ้องบังคับให้ผู้ให้เช่าไปจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ เช่น
ทำสัญญาเช่าที่ดินกันเองมีกำหนดระยะเวลา
๒๐ ปี
จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้เพียงสามปีตามมาตรา ๕๓๘
โจทก์ไม่อาจฟ้องขอให้บังคับคดีกันได้เพียงสามปีตามมาตรา ๕๓๘
โจทก์ไม่อาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนการเช่าได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๗๑๔/๒๕๒๒ อ้างฎีกาที่
๖๙๘/๒๕๒๒)
นอกจากนี้ยังมีคำพิพากษาฎีกาที่
๒๕๒๑/๒๕๑๙,
๑๕๓๘,
๑๕๓๘/๒๕๐๙, ๑๔๐๙/๒๕๐๘, ๑๑๗๕/๒๕๐๒ วินิจฉัยเช่นกัน
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์มีกำหนดระยะเวลากว่าสามปี หากมีข้อตกลงหรือระบุในสัญญาเช่าว่าจะไปจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานกันภายหลัง เช่น
ระบุในสัญญาเช่าว่าจะไปจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนด ๖
เดือน หลังจากวันทำสัญญาเช่า
ดังนี้ถ้าผู้ให้เช่าไม่ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว
ผู้เช่าจะฟ้องบังคับให้ผู้ให้เช่าไปจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้หรือไม่นั้น แต่เดิมมีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยได้ดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่
๕๘/๒๕๑๗ การเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มีกำหนดเกินกว่า ๓
ปีหรือกำหนดตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าจะมีผลใช้บังคับเต็มตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า ต่อเมื่อได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว
หากไม่จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือตกลงกัน
หรือระบุในสัญญาเช่าว่าจะไปจดทะเบียนการเช่าพนักงานเจ้าหน้าที่
ผู้เช่าจะฟ้องบังคับให้ผู้ให้เช่าไปจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่
๒๕๒๑/๒๕๑๙การที่โจทก์จำเลยทำสัญญาเช่ากันมีกำหนดเวลา ๑๔
ปี และมีข้อความว่า
ผู้ให้เช่าจะร่วมกับผู้เช่ายื่นคำร้องขอจดทะเบียนการเช่าภายใน ๗
วันนั้นสีญญาเช่าจะมีระยะเวลาการเช่าเกินกว่า ๓
ปีเมื่อยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยทะเบียนการเช่ามีกำหนดเวลา ๑๔
ปีไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่
๑๘๐๐ – ๑๔๐๓/๒๕๓๕
สัญญาเช่าที่พิพาทระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยร่วมมีกำหนดระยะเวลาเช่า ๓๐
ปี
เมื่อมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมฟ้องร้องบังคับได้เพียง ๓
ปี
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๕๓๘ แม้สัญญาเช่าระบุว่า เมื่อได้ชำระค่าเช่าครบแล้ว เจ้าของที่จะจัดให้จดทะเบียนสัญญาเช่า
จำเลยร่วมก็ไม่มีสิทธิบังคับโจทก์ทั้งสี่ให้ไปจดทะเบียนได้
การที่โจทก์ทั้งสี่ไม่จดทะเบียนการเช่าให้จำเลยร่วมจะถือว่าโจทก์ทั้งสี่ผิดสัญญาหาได้ไม่ และเมื่อโจทก์ทั้งสี่บอกเลิกสัญญาเช่าซึ่งถือว่าเป็นการเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลาเนื่องจากโจทก์ทั้งสี่ไม่ทักท้วงในการที่จำเลยร่วมอยู่ต่อมาภายหลังสัญญาเช่าสิ้นกำหนดลงตามมาตรา ๕๖๖
และ ๕๗๐ แล้ว
โดยให้เวลาก่อนฟ้องเกินกว่า ๒ เดือน
สัญญาเช่าย่อมระงับไป
โจทก์ทั้งสี่จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยร่วมได้
คำพิพากษาฎีกาที่
๑๕๘๓/๒๕๓๘
โจทก์ทำหนังสือสัญญาเช่าอาคารพร้อมที่ดินกับจำเลยมีกำหนด ๘
ปี ๖ เดือน
๕ วัน
ตกลงกันว่าจะไปจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนด ๖
เดือน
หลังจากวันทำสัญญาโจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยจดทะเบียนการเช่าตามที่ตกลงกันได้
คำพิพากษาฎีกาที่
๕๓๓๗/๒๕๕๐ เมื่อโจทก์ที่
๒
และจำเลยทั้งแปดมีเจตนาที่จะจดทะเบียนการเช่าและได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานแล้ว
แต่ไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าให้เสร็จในวันเดียวกันได้ เพราะต้องประกาษให้ผู้มีส่วนได้เสียคัดค้านก่อนมีกำหนดเวลา ๓๐
วัน
การที่จำเลยทั้งแปดได้ขอยกเลิกหนังสือมอบอำนาจจากโจทก์ที่ ๒
ดำเนินการจดทะเบียนการเช่าดังกล่าวแทนจำเลยทั้งแปดในเวลาต่อมาเป็นเหตุให้โจทก์ที่ ๒
ไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าได้นั้นจึงเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น
การที่โจทก์ที่ ๒ ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งแปดจดทะเบียนการเช่าจึงเป็นการขอให้จำเลยทั้งแปดปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้การเช่าได้มีการจดทะเบียนซึ่งจะทำให้มีผลบังคับเต็มตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเชิ
มิใช่การฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาเช่าหรือโดยอาศัยสิทธิแห่งสัญญาเช่าซึ่งฟ้องร้องให้บังคับคดีได้เพียง ๓
ปี โจทก์ที่ ๒
จึงฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งแปดจดทะเบียนการเช่าได้ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ
มาตรา ๕๓๘
คดีนี้มีข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากแนวคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวแต่เพียงว่าผู้เช่าและผู้ให้เช่าได่ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว แต่ไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าให้เสร็จในวันเดียวกันได้เพราะต้องประกาศให้ผู้มีส่วนได้เสียคัดค้านก่อน
ต่อมาผู้ให้เช่าได้ขอยกเลิกการจดทะเบียนการเช่านั้นเสียศาลฎีกาจึงวินิจฉัยว่าผู้เช่าฟ้องบังคับให้ผู้ให้เช่าจดทะเบียนการเช่ามีกำหนด ๓๐
ปีได้
ปัจจุบัน
มีคำพิพากษาฎีกาที่ ๒๐๖/๒๕๔๒ (ประชุมใหญ่) วินิจฉัยกลับหลักดังกล่าวว่า
สัญญาเช่าที่มีกำหนดอายุการเช่ากว่าสามปีนั้น
ตราบใดที่ยังมิได้มีการจดทะเบียนการเช่าสัญญาดังกล่าวย่อมมีผลบังคับได้เพียงสามปีข้อกำหนดในสัญญาเช่าให้ผู้เช่าและผู้ให้เช่าต้องไปจดทะเบียนการเช่าตามสัญญาเช่าให้เรียบร้อยภายในกำหนดนั้น ย่อมมีผลผูกพัน
ผู้ให้เช่าและผู้เช่าให้ต้องปฏิบัติตามตราบเท่าที่สัญญาเช่ามีผลบังคับได้คือ ๓
ปี ตามมาตรา ๕๓๘
ดังนั้น
เมื่อผู้เช่าฟ้องร้องเพื่อบังคับใช้สิทธิดังกล่าวภายในระยะเวลาที่สัญญาเช่ายังมีผลบังคับได้ตามกฎหมายผู้ให้เช่าจึงมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันนั้นศาลจึงบังคับให้ผู้ให้เช่าไปจดทะเบียนการเช่าได้
สัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยลงวันที่ทำสัญญาคือ
๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ ซึ่งกำหนดอายุการเช่าไว้เป็นเวลา ๒๐
ปี ๒ เดือน
เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์
๒๕๓๖ เป็นต้นไปจนถึงวันที่ ๓๑
มีนาคม ๒๕๕๖ ตราบใดที่ยยังมิได้มีการจดทะเบียนการเช่า สัญญาดังกล่าวนี้ย่อมมีผลบังคับได้เพียง ๓
ปี คือมีผลบังคับจนถึงวันที่ ๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ ข้อกำหนดต่าง ๆ ทุกข้อในสัญญาเช่าพิพาทย่อมมีผลผูกพันคู่สัญญาตามระยะเวลาดังกล่าวเช่นกัน ดังนี้
ข้อกำหนดให้ผู้เช่าและผู้ให้เช่าต้องไปจดทะเบียนการเช่าตามสัญญาให้เรียบร้อยภายในวันที่ ๓๑
มีนาคม ๒๕๓๖ ตามข้อ
๕ และ ๖
แห่งสัญญาเช่าพิพาทย่อมมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยให้ต้องปฏิบัติตามตราบเท่าที่สัญญาเช่าดังกล่าวมีผลบังคับได้คือวันที่ ๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ เช่นกัน
เมื่อปรากฎว่าโจทก์ได้อาศัยข้อกำหนดแห่งสัญญาเช่าข้อที่ ๕
และ ๖ บอกกล่าวเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้คือไปจดทะเบียนการเช่าตั้งแต่วันที่ ๒๖
กันยายน ๒๕๓๗ และฟ้องร้องเพื่อการบังคับใช้สิทธิดังกล่าวเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ ๑๗
มกราคม ๒๕๓๙
ภายในระยะเวลาที่สัญญาเช่าพิทพาทซึ่งรวมถึงข้อกำหนดข้อ ๕ และ
๖ ยังมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย
จำเลยจึงมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันนั้น จำเลยไม่มีเหตุใด ๆ ที่จะหลุดพ้นความรับผิดตามสัญญาที่ได้ผูกพันไว้โดยชอบดังกล่าว
จึงชอบศาลจะบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการเช่านั้นได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๐๖/๒๕๔๒) และมีคำพิพากษาฎีกาที่ ๕๕๔๒/๒๕๔๒ วินิจฉัยเช่นกัน
ข้อสังเกต
(๑)สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา นั้น ไม่อยู่ในบังคับมาตรา ๕๓๘
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดงหรือบังคับให้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
และผู้เช่ามีอำนาจฟ้องขอให้ผู้ให้เช่าไปจัดการจดทะเบียนการเช่าได้ (นัยคำพิพากษาฎีกาที่ ๗๙๑/๒๕๐๑, ๑๒๓๖/๒๕๐๑, ๑๖๒๗/๒๕๐๕, ๑๐๐๒/๒๕๐๙, ๔๑๒/๒๕๑๑, ๙๔๔/๒๕๑๒, ๒๐๑๖/๒๕๒๔, ๒๕๑๖/๒๕๓๑, ๑๗๑/๒๕๓๓,๔๑๕๖/๒๕๓๓, ๔๙๓๙/๒๕๓๓, ๔๙๑/๒๕๔๐,๔๕๑/๒๕๕๑)
เมื่อจำเลยทั้งสามเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าที่ดิน
และตามสัญญาเช่าที่ดินได้ระบุไว้ว่าเมื่อครบ ๓๐
ปี ตามสัญญาเช่าแล้ว ผู้เช่ายอมให้อาคารและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่อยู่ในที่ดินตกเป็นของผู้ให้เช่าทันทีโดยปราศจากภาระผูกพันใด
ๆ ทั้งสิ้น
สัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาแม้จะทำสัญญาเช่าที่ดินเกินกว่า ๓ ปี แต่ยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ผูกพันบังคับกันได้
โจทก์จึงมีสิทธิบังคับให้จำเลยทั้งสามปฏิบัติตามสัญญาเช่าที่ดินได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๓๘/๒๕๔๐)
อย่างไรก็ดี
กรณีที่จะอ้างว่าสัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดานั้น จำเลยจะต้องให้การต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นด้วย
จะยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้
จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในศาลชั้นต้นว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดาแต่เพิ่งหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาเช่นนี้ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อันเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา
๒๔๙ วรรคหนึ่ง (คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๓๔๖/๒๕๔๘)
(๒)พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๒๔ มาตรา ๒
ให้การเช่านามีการควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้และให้ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ทั้งนี้
ไม่ว่าจะมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือไม่ก็ตาม
(๓)พระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๔๒ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ มาตรา
๔ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
บทบัญญัติของกฎหมายที่เกียวกับกำหนดเวลาเช่าอสังหาริมทรัพย์
การเรียกเอาอสังหาริมทรัพย์อันเดียวกันโดยอาศัยสัญญาเช่าต่างราย การโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่เช่า
(ก)มาตรา ๕๔๐
อันอสังหาริมทรัพย์ท่านห้ามมิให้เช่ากันเป็นกำหนดเวลาเกินกว่าสามสิบปี ถ้าได้ทำสัญญากันไว้เป็นกำหนดเวลานานกว่านั้นท่านก็ให้ลดลงมาเป็นสามสิบปี
อนึ่ง กำหนดเวลาเช่าดังกล่าวมานี้ เมื่อสิ้นลงแล้วจะต่อสัญญาอีกก็ได้ แต่ต้องอย่าให้เกินสามสิบปีนับแต่วันต่อสัญญา
(ข)มาตรา ๕๔๓
บุคคลหลายคนเรียกร้องเอาอสังหาริมทรัพย์อันเดียวกัน อาศัยมูลสัญญาเช่าต่างราย ท่านให้วินิจฉัยดังต่อไปนี้
(๑)
ถ้าการเช่านั้นเป็นประเภทซึ่งมิได้บังคับไว้โดยกฎหมายว่าต้องจดทะเบียนท่านให้ถือว่าผู้เช่าซึ่งได้ทรัพย์สินไปไว้ในครอบครองก่อนด้วยสัญญาเช่าของตนนั้นมีสิทธิยิ่งกว่าคนอื่น
ๆ
(๒) ถ้าการเช่าทุก ๆ
รายเป็นประเภทซึ่งบังคับไว้โดยกฎหมายว่าต้องจดทะเบียนท่านให้ถือว่าผู้เช่าซึ่งได้จะทะเบียนการเช่าของตนก่อนนั้นมีสิทธิกว่าคนอื่น
ๆ
(๓) ถ้าการเช่ามีทั้งประเภทซึ่งต้องจดทะเบียนและประเภทซึ่งไม่ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายยันกันอยู่ไซร้ ท่านว่าผู้เช่าคนที่ได้จดทะเบียนการเช่าของตนนั้นมีสิทธิยิ่งกว่าเว้นแต่ผู้เช่าคนอื่นจะได้ทรัพย์สินนั้นไปไว้ในครอบครองด้วยการเช่าของตนเสียก่อนวันจดทะเบียนนั้นแล้ว
(ค)มาตรา ๕๖๙
อันสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นย่อมไม่ระงับไปเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินซึ่งให้เช่าผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่านั้นด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น