วิชา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม , พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ,พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 สามารถค้นหาคำพิพากษาฎีกาภายใน 1o ปี หลังสุดได้แล้วครับ จะเร่งเพิ่มวิชาต่อไปให้เสร็จตามมาเรื่อยๆครับ

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา
www.lawbooks-by-mrt.blogspot.com

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

บทบรรณาธิการ ภาค2 สมัย64 เล่ม7

                คำถาม  การยื่นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นทันทีนับแต่มีคำสั่ง ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๒๖ (๑) ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์  ผู้อุทธรณ์จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาดังกล่าวอีกหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วโดยถือว่ามีการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นแล้วได้หรือไม่
                คำตอบ  การยื่นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาทันทีแม้จะเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๒๖ (๑) ซึ่งศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ แต่ก็ถือว่าเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๒๖ (๒) แล้ว ผู้อุทธรณ์จึงใช้สิทธิอุทธรณ์ปัญหาดังกล่าวหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาได้ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๓๙๕/๒๕๕๒ แม้อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสองจะต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์ทันทีเพราะเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม .วิ.. มาตรา ๒๒๖ (๑) แต่การยื่นอุทธรณ์ดังกล่าวก็มีผลเป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นของจำเลยทั้งสองตามมาตรา ๒๒๖ (๒) แล้ว เมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองจึงอุทธรณ์ปัญหาข้อนี้ได้เมื่อคดีเสร็จการพิจารณาและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา แต่เมื่อปรากฏว่าจะเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ เป็นเหตุให้คดีถึงที่สุดและสิทธิการดำเนินคดีของจำเลยทั้งสองสิ้นสุดลงเช่นนี้ จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค ๕ วินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่ามีเหตุสมควรเรียกนาง บ. ผู้จัดการมรดกของ ค. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป
                คำถาม จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ จะหมายความรวมถึงรับในเรื่องที่โจทก์ขอให้บวกโทษ หรือนับโทษต่อด้วยหรือไม่
                คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้ คำพิพากษาฏีกาที่ ๒๑๖๗/๒๕๔๗ ตามฟ้องโจทก์ได้ระบุไว้แล้วว่านอกจากจะกระทำความผิดในคดีนี้แล้ว จำเลยยังได้กระทำความผิดโดยถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ ๒ ในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้นด้วย และคำขอท้ายฟ้องได้ขอให้นับโทษคดีนี้ต่อจากโทษในคดีดังกล่าว เมื่อศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลย จำเลยให้การรับสภาพตามฟ้องโจทก์จึงต้องถือว่าจำเลยรับว่าได้กระทำผิดจริง และเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อด้วย และสำหรับคดีที่โจทก์ฟ้องในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายหรือจำหน่ายโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.. ๒๕๒๒ มาตรา ๖๖ กำหนดโทษขั้นต่ำจำคุก ๔ ปี ซึ่งเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง โจทก์ไม่จำต้องสืบพยานประกอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๗๖ (กลับหลักฎีกาที่ ๗๑๑๔/๒๕๔๒)
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๒๔๘/๒๕๔๖ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ๒๐๗๙/๒๕๔๒ ให้ลงโทษจำคุก ๑ ปี และปรับ๑๕,๐๐๐ บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด ๒ ปี ฐานเสพเมทแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ภายในกำหนดระยะเวลารอการลงโทษดังกล่าว จำเลยกระทำความผิดคดีนี้อีกขอให้บวกโทษเข้ากับโทษของจำเลยคดีนี้ เมื่อศาลชั้นต้นอ่านอธิบายฟ้องทั้งหมดให้จำเลยฟัง จำเลยได้ให้การว่า ได้ทราบคำฟ้องตลอดแล้ว ข้าพเจ้าจำเลยขอให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนั้น คำให้การจำเลยที่รับสารภาพตามฟ้องดังกล่าว จึงย่อมหมายรวมถึงการรับว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อนตามที่โจทก์กล่าวหาในฟ้องด้วย ศาลชั้นต้นจึงนำโทษจำคุกของจำเลยที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำเลยในคดีนี้ได้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๙๑๒/๒๕๕๒ โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่า จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก ๑๕ วัน และปรับ ๑,๕๐๐ บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด ๑ ปี ข้อหาทำร้ายร่างกาย ภายในกำหนดระยะเวลารอการลงโทษดังกล่าว จำเลยกระทำความผิดคดีนี้อีก เมื่อศาลชั้นต้นอ่านอธิบายฟ้องทั้งหมดให้จำเลยฟัง จำเลยก็ได้ให้การว่าข้าพเจ้าไม่ต้องการทนายและขอให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ดังนั้น คำให้การจำเลยที่รับสารภาพตามฟ้องโจทก์ดังกล่าวจึงย่อมหมายความถึงการรับว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกและศาลรอการลงโทษจำคุกมาก่อนตามที่โจทก์กล่าวในฟ้องด้วยนั่นเอง จึงนำโทษจำคุกของจำเลยที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้ได้
                คำถาม การบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลัง การขอให้นับโทษจำคุกต่อจากคดีอื่น การขอให้เพิ่มโทษจำเลย โจทก์จะต้องมีคำขอมาในฟ้องหรือไม่
                คำตอบ ขอเพิ่มโทษ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕๙ บัญญัติว่า “ถ้าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษ เพราะได้กระทำความผิดมาแล้ว เมื่อโจทก์ต้องการให้เพิ่มโทษจำเลยฐานไม่เข็ดหลาบ ให้กล่าว มาในฟ้อง
                ถ้ามิได้ขอเพิ่มโทษมาในฟ้อง ก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์จะยื่นคำร้องขอเพิ่มฟ้อง เมื่อศาลเห็นสมควรจะอนุญาตก็ได้”
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๔๐๖/๒๕๔๙ แม้ตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๕๙ ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการขอเพิ่มโทษจำเลยได้กำหนดแต่เพียงว่า เมื่อโจทก์ต้องการให้เพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบให้กล่าวมาในฟ้องมิได้กำหนดให้อ้างมาตราในกฎหมายที่ขอเพิ่มโทษไว้ดังเช่นการฟ้องคดีที่ต้องอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๕๘ (๖)ก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันมียาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นความผิดต่อ พ... ยาเสพติดให้โทษฯ และบรรยายมาในฟ้องเกี่ยวกับการขอเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองว่าจำเลยทั้งสองเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และพ้นโทษมาแล้วกลับมากระทำความผิดในคดีนี้ภายในเวลา ๕ ปี นับแต่วันพ้นโทษโดยมีคำขอท้ายฟ้องแต่เพียงว่าขอให้เพิ่มโทษจำเลยทั้งสองตามกฎหมาย แต่เนื่องจากคำขอดังกล่าวเป็นกรณีที่อาจเพิ่มโทษได้กึ่งหนึ่งตาม พ... ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา ๙๗ หรือเพิ่มโทษได้หนึ่งในสามตาม ป.. มาตรา ๙๒ เมื่อคำขอท้ายฟ้องของโจทก์คงระบุเพียงว่าขอให้เพิ่มโทษจำเลยทั้งสองตามกฎหมายไม่แน่ชัดว่าประสงค์ให้เพิ่มโทษตามบทกฎหมายใดจึงต้องตีความให้เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสอง ที่ศาลอุทธรณ์เพิ่มโทษจำเลยทั้งสองคนหนึ่งในสามสำหรับความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษประเภท ๑ ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจึงชอบแล้ว และเมื่อจะต้องลงโทษปรับจำเลยทั้งสองในการกระทำความผิดฐานนี้ด้วยย่อมเพิ่มโทษปรับได้เพราะเป็นกรณีมีการลงโทษในการกระทำความผิดฐานนี้ถึงจำคุก มิใช่ลงโทษฐานนี้เพียงปรับสถานเดียว
                บวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลัง
                มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ ดังนี้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๙๑๔/๒๕๕๒ .. มาตรา ๕๘ บัญญัติว่า “เมื่อความปรากฏแก่ศาลเองหรือความปรากฏตามคำแถลงของโจทก์หรือเจ้าพนักงานว่า ภายในเวลาที่ศาลกำหนดตามมาตรา ๕๖ ผู้ที่ถูกศาลพิพากษาได้กระทำความผิดอันมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิดนั้น ให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังกำหนดโทษที่รอการกำหนดไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษในคดีหลังหรือบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังแล้วแต่กรณี” ดังนั้น เมื่อความปรากฏแก่ศาลเองจากรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยของพนักงานคุมประพฤติว่า ภายในกำหนดระยะเวลาที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนทั้งสองคดีมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีดังกล่าวเข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้ก็ตาม ที่ศาลล่างทั้งสองมิได้นำโทษจำคุกของจำเลยที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนทั้งสองคดีมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายและกรณีนี้มิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ และมิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยเพราะกฎหมายบัญญัติให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษคดีหลังด้วยเสมอ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๑๑๕/๒๕๔๗, ๘๐๗๔/๒๕๔๔, ๘๖๔๒/๒๕๔๓ วินิจฉัยเช่นกัน)
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๘๑/๒๕๔๔ โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในระหว่างนัดฟังพิพากษาศาลชั้นต้น ขอให้บวกโทษจำคุกที่ศาลรอการลงโทษไว้อีก ๒ คดี แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง จึงมีผลเสมือนโจทก์มิได้กล่าวและมีคำขอให้บวกโทษจำคุกคดีเดิมเข้ากับโทษจำคุกคดีนี้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดแจ้งตามรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติประกอบคำให้การรับสารภาพของจำเลยว่า จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกและปรับโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ และภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษจำเลยได้กระทำความผิดคดีนี้อีก ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องบรรยายหรืออ้างมาในฟ้องตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๕๘ (๕) หรือ (๖) แต่อยู่ในดุลพินิจของศาลที่พิพากษาคดีนี้จะใช้อำนาจบวกโทษจำคุกที่อรการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้ตาม ป.. มาตรา ๕๘ วรรคหนึ่ง ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๖ บวกโทษจำคุกคดีนี้เข้ากับโทษจำคุกในคดีก่อนจึงชอบแล้ว และไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๙๒ วรรคหนึ่ง
                การขอให้นับโทษจำคุกต่อจากคดีอื่น
                มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ ดังนี้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๕๔-๒๒๕๖/๒๕๔๒ คดีทั้งสามสำนวนนี้โจทก์ได้ขอรวบรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน และจำเลยไม่ได้คัดค้านทั้งสามสำนวน ดังนั้น คำขอท้ายฟ้องคดีทั้งสามสำนวนนี้ จึงถือเป็นข้อเท็จจริงและเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เมื่อโจทก์มีความประสงค์มาแต่ต้นโดยต้องการให้ศาลชั้นต้นนับโทษจำคุกจำเลยต่อกับคดีอื่น โจทก์ต้องระบุหรือกล่าวไว้ในคำฟ้องหรือขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในภายหลังตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๖๓ เสียก่อนที่จะมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เมื่อคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวและไม่มีคำขอให้นับโทษจำคุกจำเลยต่อกันไว้ การที่โจทก์ขอรวมพิจารณาพิพากษาคดีทั้งสามสำนวนด้วยกันก็เพื่อประโยชน์ในการนำสืบพยานหลักฐานชุดเดียวกันของคู่ความเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องทำนองขอให้นับโทษในคดีต่อกัน ดังที่โจทก์แก้ฎีกาว่า ด้วยเหตุนี้ การที่ศาลล่างพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดรวมทั้งสิ้น ๑๑ กระทง และให้นับโทษจำคุกจำเลยต่อกันจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ที่มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๐๑-๑๓๐๒/๒๕๔๒ โจทก์แยกฟ้องคดีทั้งสองสำนวนซึ่งศาลสั่งให้รวมพิจารณาโดยไม่ได้ขอคำพิพากษานับโทษจำเลยติดต่อกันจึงนับโทษต่อกันไม่ได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๙๒ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิพากษาให้จำคุกกระทงละ ๖ เดือน รวม ๒ กระทง จำคุก ๑ ปี จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๙๕ วรรคสอง ประกอบมาตรา ๒๒๕
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๒๑๔-๖๒๑๖/๒๕๔๔ โจทก์แยกฟ้องคดีเป็นสามสำนวนและมิได้ขอให้นับโทษติดต่อกัน แม้จะรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ศาลพิพากษาให้นับโทษแต่ละสำนวนต่อกัน จึงเป็นการเกินคำขอไม่ชอบตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๙๒
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๙๙/๒๕๔๗ การขอให้ศาลนับโทษจำเลยต่อจากคดีอื่น โจทก์จะต้องขอมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย ถ้าจะขอภายหลังก็ต้องดำเนินการยื่นคำร้องขอก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๖๓ วรรคหนึ่ง โจทก์จะเพียงแต่ขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๔๖๑-๔๔๖๒/๒๕๔๔ กฎหมายมิได้บัญญัติว่าขอให้นับโทษต่อจะต้องกล่าวมาในคำฟ้อง โจทก์จึงยื่นคำร้องขอให้นับโทษต่อในภายหลังได้ คดีทั้งสองเรื่องโจทก์ยื่นคำร้องว่าจำเลยทั้งสองสำนวนเป็นบุคคลเดียวกันกระทำผิดข้อหาเดียวกัน แม้จำเลยจะเพียงแต่ไม่คัดค้านคำร้องไม่เคยรับไว้ในที่ใดว่าเป็นความจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้าง แต่คดีสองเรื่องนี้เป็นเรื่องโจทก์คนเดียวกันฟ้องจำเลยที่ศาลชั้นต้น แห่งเดียวกัน ในเวลาใกล้เคียงกัน และต่อมาศาลสั่งให้รวมการพิจารณาเข้าด้วยกัน เมื่อโจทก์ได้แสดงความประสงค์ขอให้นับโทษต่อมาชัดเจนและจำเลยทั้งสองคดีเป็นบุคคลคนเดียวกันแน่นอน การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งอย่างใดจนกระทั่งพิพากษา ต้องถือว่าศาลชั้นต้นอนุญาตตามคำร้องขอให้นับโทษต่อโดยปริยายแล้ว          
                                                                                                         นายประเสริฐ       เสียงสุทธิวงศ์
                                                                                                                          บรรณาธิการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น