วิชา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม , พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ,พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 สามารถค้นหาคำพิพากษาฎีกาภายใน 1o ปี หลังสุดได้แล้วครับ จะเร่งเพิ่มวิชาต่อไปให้เสร็จตามมาเรื่อยๆครับ

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา
www.lawbooks-by-mrt.blogspot.com

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความรับผิดในทางอาญา

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจบางเรื่องเกี่ยวกับ
“ความรับผิดในทางอาญา”
                                                                        เกียรติขจร  วัจนะสวัสดิ์
(๑) แม้ตามความจริงทรัพย์ที่จำเลยรับไว้จะได้มาจากการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์  แต่จะลงโทษจำเลยตามมาตรา  ๓๕๗  วรรคสองได้  ก็ต่อเมื่อจำเลยรู้ว่า  ทรัพย์นั้นได้มาโดยการปล้นทรัพย์  หากจำเลยไม่รู้  ก็ลงโทษตามวรรคสองไม่ได้  ทั้งนี้ตามที่มาตรา  ๖๒  วรรคท้ายบัญญัติไว้  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๕๒๖๔/๒๕๔๘)
(๒) จำเลยเอาก้อนอิฐขว้างปาผู้เสียหาย  ผู้เสียหายหลบ  ก้อนอิฐไม่ถูกตัวผู้เสียหาย  แต่ตัวผู้เสียหายเซไป  มือจึงฟาดถูกข้างเรือ  ทำให้ปลายมือบวมยาว    เซนติเมตร  กว้าง    เซนติเมตร  และเจ็บที่บริเวณศีรษะ  ถือได้ว่าอันตรายแก่กายนี้เนื่องจากการกระทำของจำเลย  จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา  ๒๙๕  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๘๙๕/๒๕๐๙)
ข้อสังเกต  อันตรายแก่กายของผู้เสียหายเป็น  “ผลโดยตรง”  จากการกระทำของจำเลยเพราะถ้าจำเลยไม่ขว้าง  ผู้เสียหายก็ไม่หลบ  หากไม่หลบ  มือก็ไม่ฟาด  หากไม่ฟาด  ก็ไม่เกิดอันตรายแก่กาย
ข้อสังเกต  เทียบเคียงจากฎีกาเรื่องนี้  หากผู้เสียหายหลบ  แต่เสียหลักล้มลง  ศีรษะฟาดพื้น  ถึงแก่ความตาย  จำเลยก็ผิดมาตรา  ๒๙๐  เพราะความตายย่อมเป็น  “ผลโดยตรง”  จากการที่จำเลยเอาก้อนอิฐขว้างปาผู้เสียหาย
(๓) จำเลยใช้ก้อนหินขนาดโตเท่ากำปั้นขว้างกระจกหน้ารถยนต์บรรทุกที่ผู้เสียหายกำลังขับอยู่  กระจกแตก  เศษกระจก  กระเด็นถูกตาผู้เสียหาย  ทำให้ผู้เสียหายขับรถส่ายไปมาและถูกรถยนต์ที่แล่นตามมาพุ่งชนท้าย  แต่ผู้เสียหายสามารถควบคุมไม่ให้รถยนต์บรรทุกพลิกคว่ำลงข้างทางได้  จึงไม่ถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาฎีกาที่  ๑๑๗๘/๒๕๓๙  วินิจฉัยว่า  จำเลยประสงค์ให้ผู้เสียหายหลักในการขับรถและอาจขับรถพลิกคว่ำลงข้างทางหรือถูกรถยนต์คันอื่นที่ตามมาชนจนพลิกคว่ำหรือตกข้างทาง  ซึ่งเมื่อเกิดเหตุดังกล่าวขึ้นแล้ว  จำเลยย่อมเล็งเห็นผลที่อาจเกิดขึ้นได้ว่า  ผู้เสียหายอาจได้รับบาดเจ็บและถึงแก่ความตายได้  จำเลยจึงมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย  การกระทำจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น
(๔) ยืนอยู่บนสะพานใช้ก้อนหินขนาดน้ำหนักถึง    กิโลกรัม  และครึ่งกิโลกรัม  จำนวนหลายก้อนทุ่มลงมาในหมู่คนจำนวนมากที่อยู่ในเรือ  ซึ่งมีพื้นที่จำกัดที่แล่นลอดใต้สะพาน  ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า  ก้อนหินอาจถูกศีรษะซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย  อาจเป็นผลทำให้ถึงตายได้  ถือว่า  จำเลยมีเจตนาฆ่า  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๒๕๔๘/๒๕๔๔)
(๕) จำเลยใช้ปืนยิงไปที่พื้นดินหนึ่งนัด  ในขณะที่ผู้เสียหายกำลังเดินไปหาจำเลยและอยู่ห่างประมาณ    วา  กระสุนปืนถูกขา  ผู้เสียหายบาดเจ็บ  จำเลยย่อมเล็งเห็นผลแห่งการกระทำได้ว่ากระสุนปืน  อาจถูกผู้เสียหายได้  ต้องถือว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายผู้เสียหาย  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๒๓๔/๒๕๒๙)
ข้อสังเกต  หากจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายในระดับต่ำถูกบริเวณขาและน่องซ้ายของผู้เสียหาย  แสดงว่าเจตนาให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายเท่านั้น  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๒๒๓/๒๕๓๗)  กรณีนี้  ถือว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายร่างกายอันเป็นเจตนาประเภทประสงค์ต่อผล  ข้อเท็จจริงเช่นนี้  ไม่ถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า  เพราะมิฉะนั้นคงเลือกยิงในตำแหน่งซึ่งอาจทำให้ถึงตายได้โดยไม่ยาก  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๒๒๓/๒๕๓๗)  หรือจำเลยยิงไปที่ขาผู้เสียหาย  เหนือตาตุ่ม  ขณะนั้นจำเลยกับผู้เสียหายอยู่ห่างกันเพียงวาเศษ  ถ้าจำเลยตั้งใจจะฆ่าผู้เสียหายแล้วก็คงยิงถูกร่างกายผู้เสียหายในที่สำคัญๆ  ได้  จำเลยจึงไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๑๐๐๖/๒๕๐๑)
ข้อสังเกต  ถ้าจำเลยชักปืนเล็งไปที่หน้าอกผู้เสียหายและขึ้นนกปืนจะยิงในระยะห่างประมาณ    เมตรเศษ  มีผู้เข้าจับมือกดลงต่ำปืนลั่นกระสุนถูกผู้อื่นที่เท้า  จำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นด้วย  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๘๗๐/๒๕๒๖)  เหตุผลเพราะจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย  (ด้วยการชักปืนเล็งไปที่หน้าอก)  เมื่อผลเกิดแก่ผู้อื่น  เจตนาฆ่าที่จำเลยมีต่อผู้เสียหายก็  “โอน”  ไปยังผู้อื่นด้วย  จำเลยจึงผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยพลาด  ตามมาตรา  ๒๘๘,  ๖๐,  ๘๐
หากจำเลยมีเจตนาทำร้ายผู้เสียหาย  (ไม่ว่าจะเป็นเจตนาทำร้ายโดยเล็งเห็นผล  ตามคำพิพากษาฎีกาที่  ๒๓๔/๒๕๒๙  ที่กล่าวข้างต้น  หรือเจตนาทำร้ายโดยประสงค์ต่อผลตามคำพิพากษาฎีกาที่  ๒๒๓/๒๕๓๗  และคำพิพากษาฎีกาที่  ๑๐๐๖/๒๕๐๑)  หากผลไปเกิดแก่ผู้อื่นด้วย  จำเลยก็มีเจตนาทำร้ายผู้อื่นโดยพลาด  เพราะเจตนาทำร้ายที่จำเลยมีต่อผู้เสียหาย  “โอน”  ไปยังผู้อื่นด้วย  จำเลยจึงมีความผิดต่อผู้อื่นตามมาตรา  ๒๙๕,  ๖๐  หรือ  ๒๙๗,  ๖๐  (แล้วแต่กรณี)  หากผู้อื่นถึงแก่ความตาย  จำเลยก็ผิดมาตรา  ๒๙๐  ไม่ใช่มาตรา  ๒๘๘  เพราะเจตนาที่จำเลยมีต่อผู้เสียหายในตอนแรกเป็นเจตนาทำร้าย  (โดยประสงค์ต่อผลหรือโดยเล็งเห็นผล)  เท่านั้น
(๖) เจตนาประสงค์ต่อผลต่อชีวิตในขณะเดียวกันก็อาจเป็นเจตนาเล็งเห็นผลต่อทรัพย์  ตามมาตรา  ๒๑๘  (๑)  ได้
ตัวอย่าง  จำเลยใช้ของเหลวไวไฟเทราดผู้ตายตั้งแต่ศีรษะลงมาถึงพื้นห้อง  ซึ่งอยู่บนชั้นสองของตึกแถวอันเป็นโรงเรือนที่พักอาศัย  แล้วจำเลยใช้ไฟแช็กจุดไปที่ต้นคอผู้ตายทำให้ไฟไหม้ตามตัวผู้ตาย  นอกจากนั้นไฟยังลุกไหม้พื้นห้องด้วย  จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายโดยประสงค์ต่อผล  และเจตนาวางเพลิงเผาโรงเรือน  โดยเล็งเห็นผล  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๖๗๓๘/๒๕๓๗)
(๗)  เจตนาพิเศษ  ไม่มี  “เล็งเห็นผล”  เช่น  ความผิดตามมาตรา  ๒๒๘  คำว่า  “เพื่อให้เกิดอุทกภัย”   เป็นเจตนาพิเศษ  คำพิพากษาฎีกาที่  ๑๒๔๐/๒๕๐๔  (ประชุมใหญ่)  วินิจฉัยดังนี้  ศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่เห็นว่าเพื่อให้เกิดอุทกภัยตามมาตรานี้  จำเลยจะต้องมีเจตนาให้เกิดอุทกภัยโดยตรง  จะยกเอาการเล็งเห็นผลของการกระทำตาม  มาตรา  ๕๙  วรรคสอง  มาใช้ไม่ได้  แต่เจตนาของบุคคลเป็นเรื่องในใจ  ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นเรื่องๆ  ไปเป็นเครื่องชี้เจตนา  สำหรับเรื่องนี้ตามพฤติการณ์ที่กล่าวข้างต้น  แสดงว่าการทำนบปิดกั้นคลองของจำเลยเพื่อเจตนาจะให้เกิดอุทกภัยเพราะนาจำเลยอยู่ในที่สูง  สวนยางและนาผู้เสียหายอยู่ในที่ต่ำกว่าจำเลยย่อมตั้งใจให้เกิดอุทกภัยแก่สวนและนาของผู้เสียหาย  น้ำจึงจะไหลเข้าถึงนาของจำเลย  ยิ่งกว่านี้เมื่อเกิดอุทกภัยแล้วทางการสั่งให้เปิดทำนบ  จำเลยก็ไม่ยอมเปิด  แสดงให้เห็นชัดว่าจำเลยเจตนาทำให้เกิดอุทกภัยตลอดมา  จำเลยจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา  ๒๒๘
ศาสตราจารย์  จิตติ  ติงศภัทิย์  ได้กล่าวไว้ท้ายคำพิพากษาฎีกาที่  ๖๓๘/๒๕๒๓  ว่า  “มาตรา  ๑๕๗  ต้องมีเจตนาพิเศษคือ  เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใดหรือโดยทุจริต  เพียงแต่เล็งเห็นผลว่าจะเกิดความเสียหายยังไม่พอ”
ข้อสังเกต  เจตนาธรรมดา  มีทั้ง  “ประสงค์ต่อผล”  และ  “เล็งเห็นผล”  แต่เจตนาพิเศษไม่มีเล็งเห็นผล  ซึ่งหมายความว่าจำเลยจะต้องมีเจตนาให้เกิดอุทกภัย  (กรณีตามมาตรา  ๒๒๘)  หรือให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใด  (กรณีมาตรา  ๑๕๗)  โดยตรง  จะลงโทษจำเลยโดยถือว่าจำเลยเล็งเห็นผลของการกระทำว่าจะทำให้เกิดอุทกภัย  (กรณีตามมาตรา  ๒๒๘)  หรือจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใด  (กรณีตามมาตรา  ๑๕๗)  ไม่ได้
(๘)  ถ้อยคำในมาตรา  ๒๖๔  ที่ว่า  “เพื่อให้ผู้หนื่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง”  เป็น  “เจตนาพิเศษ”
หากจำเลยทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินขึ้นเพื่อให้  .  หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงก็เป็นความผิด  (สำเร็จ)  แล้ว  แม้จำเลยยังมิได้นำเอกสารไปใช้แสดงต่อ  .  ก็ตาม  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๗๖๙/๒๕๔๐)
(๙)  ถ้อยคำในมาตรา  ๒๖๔  ที่ว่า  “โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน”  ไม่ใช่เจตนาพิเศษ  แต่เป็น  “พฤติการณ์ที่ประกอบการกระทำ”  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๗๖๙/๒๕๔๐)
ข้อสังเกต  เพียงแต่  “น่าจะเกิด”  ความเสียหาย  ก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว  ไม่ใช่ขั้นพยายาม  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๑๒๘๑-๑๒๘๒/๒๕๓๘  และ  ๘๕๘๓/๒๕๔๗)
(๑๐)       (ก)  การที่จำเลยทั้งสองไม่ได้เป็นแพทย์และไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภาได้ฉีดและให้ผู้ตายกินยาปฏิชีวนะประเภทเพนิซิลลิน  โดยผู้ตายมีอาการหมดสติแทบจะทันใด  หลังจากจำเลยให้กินยาและฉีดยา  และถึงแก่ความตายหลังจากนั้นประมาณ    ชั่วโมง  โดยไม่ปรากฏว่าผู้ตายรับการฉีกยาจากสถานพยาบาลอื่นมาก่อนมีอาการ  เช่นนั้นถือว่าความตายเป็นผลโดยตรง  จากการที่จำเลยทั้งสองให้กินยาและฉีดยาเพนิซิลลิน  จำเลยทั้งสองจึงต้องมีความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย  ตามประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา  ๒๙๑  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๔๖๑/๒๕๓๖)
                (ข)  ช้างเป็นสัตว์ใหญ่  เมื่อกำลังตกมันย่อมเป็นสัตว์ดุ  จำเลยไม่ค่อยควบคุมดูแลโดยใกล้ชิด  เพียงแต่ใช้เชือกผูกไว้จึงเป็นการกระทำโดยประมาท  และเป็นเหตุโดยตรงให้  .  ผู้เสียหายถูกช้างของจำเลยแทงด้วยงาได้รับอันตรายสาหัส  จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา  ๓๐๐  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๓๔๓๕/๒๕๒๗)
ข้อสังเกต  ข้อเท็จจริงทั้งสองกรณีดังกล่าว  ศาลฎีกาถือว่าเป็นการกระทำ  “โดยประมาท”  ตามมาตรา  ๕๙  วรรคสี่  และผลที่เกิดขึ้นเป็น  “ผลโดยตรง”  จากการกระทำโดยประมาท
มีข้อสังเกตว่า  คำพิพากษาฎีกาที่  ๓๔๓๕/๒๕๒๗  ใช้คำว่า  การกระทำโดยประมาท  “เป็นเหตุโดยตรงให้  .  ผู้เสียหายลูกช้างของจำเลยแทงด้วยงาได้รับอันตรายสาหัส  เป็นการพิจารณาถึง  “เหตุ”  อันที่จริงน่าจะพิจารณาถึง  “ผล”  มากกว่า  “เหตุ)  โดยน่าจะใช้ถ้อยคำว่า  “การที่ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสเป็นผลโดยตรง  จากการที่จำเลยไม่ควบคุมดูลช้างโดยใกล้ชิด”  ขอให้ดูการใช้ถ้อยคำจากคำพิพากษาฎีกาที่  ๔๖๑/๒๕๓๖  ข้างต้น
(๑๑)  บุคคลหลายคนต่างคนต่างทำร้ายผู้ตาย  เพราะโกรธที่ผู้ตายยิงปืน  จำเลยเข้าไปเตะและกระทืบผู้ตาย  มิได้ใช้อาวุธทำร้ายร่างกายผู้ตาย  จำเลยได้กระทำไปตามลำพังมิได้ร่วมหรือสมคบกับผู้อื่น  ปรากฏจากบาดแผลของผู้ตายตามรายงานการชันสูตรพลิกศพว่าเหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากถูกตีด้วยของแข็งอย่างแรงหลายทีและถึงแก่ความตายทันทีที่ถูกตีดังกล่าว  แสดงว่าการที่จำเลยเตะและกระทืบผู้ตายมิได้เป็นเหตุให้ผู้ตายได้รับบาดแผลดังกล่าว  จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา  ๓๙๑  เท่านั้น  ความตายของผู้ตายมิใช่ผลโดยตรงที่เกิดจากการกระทำของจำเลย  จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้นตาม  มาตรา  ๒๙๐  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๓๙๑๓/๒๕๓๔)
(๑๒)  “ภยันตรายที่ใกล้จะถึง”  ตามความหมายของมาตรา  ๖๘  ไม่จำต้องถึงขั้นที่เป็นความผิดเสียก่อน  การตระเตรียมฆ่า  เช่นการชัดปืนออกมาจากเอวทำท่าจะยิงผู้ที่จะถูกยิงก็ใช้สิทธิในการป้องกันได้  โดยไม่ต้องให้ผู้ก่อภัยเล็งปืนจ้องจะยิงเสียก่อน
คำพิพากษาฎีกาที่  ๒๒๘๕/๒๕๒๘  วินิจฉัยว่า  ผู้ตายมาพูดขอแบ่งวัวจากจำเลย  จำเลยไม่ยอมแบ่งและชวนให้ไปตกลงกันที่บ้านผู้ใหญ่บ้านหรือที่บ้านกำนัน  แต่ผู้ตายไม่ยอมไป  กลับชักปืนออกมาจากเอว  จำเลยย่อมเข้าใจว่าผู้ตายจะใช้ปืนนั้นยิงจำเลยอันเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง  การที่จำเลยใช้ปืนยิงผู้ตายไป    นัด  และผู้ตายถึงแก่ความตาย  จึงเป็นการป้องกันสิทธิของตนพอสมควรแก่เหตุ  การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย  จำเลยไม่มีความผิด
ข้อสังเกต  การที่ผู้ตาย  “ชักปืนออกมาจากเอว”  เป็นแต่เพียงการตระเตรียมฆ่า  ยังไม่เป็นการ  “ลงมือ”  (หรือ  “พยายาม”)  ฆ่าจำเลย  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๑๖๔๗/๒๕๑๒)  อย่างไรก็ตาม  ในแง่ของจำเลยต้องถือว่าการกระทำของผู้ตายเป็น  “ภยันตรายที่ใกล้จะถึง”  แล้วหลักมีว่า  ถ้าภยันตรายนั้น  “มาถึง”  แล้ว  เป็นภยันตรายที่เกิดจากการละเมิดกฎหมาย  ดังนั้น  แม้  “ใกล้จะถึง”  ผู้จะรับภยันตรายนั้นก็ย่อมอ้างป้องกันได้  ดังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาฎีกาข้างต้น
(๑๓)  ความผิดอาญาบางฐาน  หากผู้ที่ร่วมกระทำเป็น  “ตัวการ”  ไม่ได้  เขาก็เป็น  “ผู้ใช้”  ไม่ได้เช่นเดียวกัน
ตัวอย่าง  ราษฎรร่วมกระทำความผิดมาตรา  ๑๔๘  กับเจ้าพนักงาน  ราษฎรไม่อาจเป็น  “ตัวการ”  ตามมาตรา  ๘๓  ร่วมกับเจ้าพนักงานได้  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๖๕๗/๒๕๑๓  และ  ๑๒๓๐/๒๕๑๐)  ดังนั้น  ในความผิดดังกล่าวหากราษฎร  “ก่อ”  ให้เจ้าพนักงานกระทำความผิด  (ครบหลักเกณฑ์ของการเป็น  “ผู้ใช้”  ตามมาตรา  ๘๔)  ราษฎรก็ไม่อาจเป็นผู้ใช้ได้  (แต่เป็น  “ผู้สนับสนุน”  ได้)
เหตุผลเพราะมาตรา  ๘๔  วรรคสอง  “โยง”  “ผู้ใช้”  ไว้กับ  “ตัวการ”  โดยบัญญัติไว้ว่าหากผู้ถูกใช้ความผิด  ผู้ใช้รับโทษเสมือนเป็นตัวการ  ด้วยเหตุนี้  เมื่อความผิดตามมาตรา  ๑๔๘  ราษฎรเป็น  “ตัวการ”  ไม่ได้  เขาก็ย่อมไม่อาจที่จะ  “รับโทษเสมือนเป็นตัวการ”  ได้  ดังนั้น  เขาจึงเป็น  “ผู้ใช้”  ไม่ได้
ในประเด็นนี้  ศาสตราจารย์จิตติ  ติงศภัทิย์  กล่าวไว้ในหนังสือคำอธิบายกฎหมายอาญา  ภาค    (หัวข้อ  ๑๖๐)  ว่า  “ไม่มีเหตุอย่างใดที่กฎหมายลงโทษผู้ที่ร่วมกันกระทำไม่ได้  เพราะขาดคุณสมบัติเฉพาะตัว  แล้วกลับจะลงโทษผู้นั้นในฐานเป็นตัวการ  เพราะใช้ผู้อื่นกระทำความผิดนั้นได้”  ซึ่งหมายความว่า  เมื่อกฎหมายลงโทษผู้ที่ร่วมกระทำเป็นตัวการไม่ได้  (เพราะเป็น  “ราษฎร”  จึงขาดคุณสมบัติของความเป็นเจ้าพนักงาน)  กฎหมายก็ไม่อาจลงโทษผู้นั้นให้รับโทษเสมือนเป็นตัวการเพราะเป็น  “ผู้ใช้”  ได้
คำพิพากษาฎีกาที่  ๒๐๗๙/๒๕๓๖  วินิจฉัยว่า  ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา  ๑๕๗,  ๑๖๒  (๑)  เป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของจำเลยที่    จำเลยที่    ซึ่งมิใช่เจ้าพนักงานเป็นผู้ใช้จ้างวานให้จำเลยที่    กระทำผิดดังกล่าว  ย่อมไม่สามารถรับโทษเสมือนเป็นตัวการได้  จำเลยที่    คงเป็นได้แต่เพียงผู้สนับสนุนการกระทำผิดเท่านั้น  จึงต้องรับโทษเพียงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น