วิชา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม , พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ,พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 สามารถค้นหาคำพิพากษาฎีกาภายใน 1o ปี หลังสุดได้แล้วครับ จะเร่งเพิ่มวิชาต่อไปให้เสร็จตามมาเรื่อยๆครับ

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา
www.lawbooks-by-mrt.blogspot.com

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

บทบรรณาธิการ ภาค2 สมัย64 เล่ม9

                คำถาม ในคดีอาญา จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ทิ้งฟ้องและขอให้จำหน่ายคดี หรือยื่นคำร้องขอให้ศาลยกฟ้องโจทก์เพราะศาลไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีและถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งทันทีได้หรือไม่ หรือจะต้องมีการโต้แย้งคำสั่งไว้ก่อนอุทธรณ์หรือไม่
                คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๕๕๓/๒๕๓๙ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.. มาตรา ๓๒๖, ๓๒๘ ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่า “คดีมีมูล ให้ประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา หมายเรียกจำเลยแก้คดีและให้นัดสืบพยานโจทก์ในวันเดียวกัน แต้งวันนัดให้จำเลยทราบ โดยให้โจทก์นำส่งภายใน ๓ วัน มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง” แต่โจทก์มิได้นำส่งหมายเรียกจำเลยแก้คดีและหมายนัดสืบพยานโจทก์ตามคำสั่ง จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องและขอให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า “ทนายจำเลยมาศาลในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องและลงลายมือชื่อรับทราบในรายงานกระบวนพิจารณาที่ศาลมีคำสั่งว่าคดีโจทก์มีมูลและนัดจำเลยแก้คดีและนัดสืบพยานโจทก์แล้ว ถือได้ว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้ว จึงไม่อาจถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ให้ยกคำร้อง” นั้น เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน เพราะคดีจะต้องพิจารณาต่อไป แม้ว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งต่อไปว่า “จำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัดให้ออกหมายจับให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ จับจำเลยได้เมื่อใดให้โจทก์แถลงต่อศาลเพื่อยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่” ก็เป็นเพียงคำสั่งให้จำหน่ายคดีชั่วคราวอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเช่นกัน ไม่ใช่เป็นกรณีศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ประเด็นสำคัญแล้ว ดังนั้นที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่นำส่งหมายเรียกตามคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการทิ้งฟ้อง จึงเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๙๖
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๔๕/๒๕๓๖ ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ได้ ๒ นัด และสืบพยานโจทก์ได้ ๓ ปากแล้ว ในนัดต่อมาทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าป่วย จำเลยคัดค้านว่ามิได้ป่วยจริง ศาลชั้นต้นให้จ่าศาลไปตรวจสอบอาการของทนายโจทก์แต่ไม่พบ จึงมีคำสั่งยกคำร้องขอเลื่อนคดีและถือว่าโจทก์ไม่มีพยานสืบ ให้งดสืบพยานโจทก์แล้วนัดสืบพยานจำเลย มิใช่กรณีศาลมีคำสั่งตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๖๖, ๑๘๑ เพราะเป็นเรื่องโจทก์ขอเลื่อนคดีแล้ว ศาลไม่ให้เลื่อน หาใช่โจทก์ไม่มาตามนัด ศาลจึงยกฟ้องไม่ ส่วนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลยกฟ้องโจทก์เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาในคดีอาญา ตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๙๖ ซึ่งมิได้บัญญัติให้คู่ความต้องโต้แย้งคำสั่งไว้แต่ประการใดไม่ จำเลยจึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นโดยไม่ต้องโต้แย้งไว้ได้
                คำถาม ในคดีอาญา คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รอการไต่สวนมูลฟ้องไว้ก่อนและให้จำหน่ายคดีชั่วคราว โจทก์จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวทันทีได้หรือไม่
                คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๑๓/๒๕๕๐ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รอการไต่สวนมูลฟ้องไว้ก่อนจนกว่าจะทราบผลที่สุดของคดีแพ่งของศาลชั้นต้น และให้จำหน่ายคดีชั่วคราว โดยได้สั่งไว้ด้วยว่าเมื่อคดีแพ่งดังกล่าวถึงที่สุดแล้วให้โจทก์แถลงต่อศาลเพื่อยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปภายใน ๑ เดือน นับแต่คดีถึงที่สุด คำสั่งดังกล่าวไม่ใช่เป็นคำสั่งจำหน่ายคดีโดยเด็ดขาด เพียงแต่เป็นคำสั่งจำหน่ายคดีไว้ชั่วคราว เป็นคำสั่งที่ไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเสร็จไปแต่อย่างใด จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน โจทก์จึงยังไม่สิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างการพิจารณาตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๙๖
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๐๘๐/๒๕๔๑ คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ให้รอการไต่สวนมูลฟ้องไว้ก่อนจนกว่าคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.๓๖/๒๕๔๐ ของศาลดังกล่าวจะถึงที่สุดและให้จำหน่ายคดีชั่วคราว โดยให้โจทก์แถลงต่อศาลภายใน ๑ เดือน นับแต่ทราบคำสั่งหรือคำพิพากษาคดีดังกล่าว เพื่อจะได้พิจารณาคดีนี้ต่อไปนั้นไม่ใช่เป็นคำสั่งจำหน่ายคดีโดยเด็ดขาด เพียงแต่เป็นคำสั่งจำหน่ายคดีไว้ชั่วคราว จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเสร็จไปแต่อย่างใด เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างการพิจารณาตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๙๖ ประกอบด้วย พ... จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ..๒๕๓๙ มาตรา ๓๘
                คำถาม ในคดีอาญา คำสั่งศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ฎีกาเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาหรือไม่
                คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๐๘๒-๓๐๘๓/๒๕๓๗ การสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาและมีคำสั่งตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.. มาตรา ๒๓ ประกอบ ป.วิ.. มาตรา ๑๕ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาตามคำร้อง โจทก์ร่วมชอบที่จำอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๙๓ วรรคแรก เพราะคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วและยังไม่ได้มีการสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ จึงไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๙๖
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๒๒๗-๗๒๒๘/๒๕๕๑ การขยายระยะเวลายื่นฎีกาเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาและมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๓ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฎีกา จำเลยที่ ๔ ย่อมอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๓ วรรคหนึ่ง เพราะคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งภายหลังที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรร์พิพากษาแล้ว จึงไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๖
                คำถาม ในคดีแพ่ง โจทก์ถอนฟ้องโดยมิได้ร้องหรือแถลงว่า ไม่ฟ้องจำเลยอีก แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในการถอนฟ้องของโจทก์เองว่าไม่มีเหตุที่โจทก์จะถอนห้องแล้วหวลกลับมาฟ้องจำเลยใหม่อีก อนุญาตให้ถอนฟ้อง ดังนี้ โจทก์จะนำคดีมาฟ้องใหม่ได้หรือไม่
                คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๙๒/๒๕๕๒ ปัญหาว่าอำนาจฟ้องของโจทก์ระงับไปด้วยการถอนฟ้องในคดีก่อนหรือไม่ เป็นปัญหาสำคัญทั้งเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงย่อมอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาได้ไม่ต้องห้ามแม้ว่าจำเลยทั้งสองจะมิได้ยกขึ้นอ้างในคำให้การ
                โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ ๑ ต่อศาลตามคดีแพ่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับที่ดินพิพาทแปลงเดียวกันกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ โดยมีประเด็นแห่งคดีเป็นอย่างเดียวกับคดีนี้ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องแล้วก็ตาม แต่ในการถอนฟ้องนั้น โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องโดยอ้างเพียงว่าได้ขายที่ดินให้แก่บุคคลอื่นไปแล้ว และแถลงว่าอยู่ระหว่างจดทะเบียนโอนสิทธิโดยโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจไว้หากโอนไปแล้วโจทก์จึงหมดสิทธิที่จะฟ้องจำเลยที่ ๑ อีก โจทก์มิได้ร้องหรือแถลงไว้ในคดีดังกล่าวว่าจะไม่ฟ้องจำเลยที่ ๑ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทนี้อีกอันจะถือได้ว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์ในคดีนั้นได้กระทำต่อศาลหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งพึงถือว่าโจทก์ได้ยอมสละสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๗๖ เกี่ยวกับการจะยื่นฟ้องใหม่ อันเป็นการผูกมัดตัวโจทก์ และแม้โจทก์เองจะมาเบิกความในคดีนี้ โดยตอบคำถามค้านทนายจำเลยทั้งสองว่า “ในการถอนฟ้องคดีดังกล่าวโจทก์อ้างว่าได้ขายที่ดินไปแล้ว จะไม่นำคดีมาฟ้องอีก ศาลจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องไป” คำเบิกความของโจทก์ในคดีนี้ก็หาใช่กระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าว ส่วนที่ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวมีคำสั่งในการถอนฟ้องของโจทก์ว่า “ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์อยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะถอนฟ้องเพื่อทำฟ้องที่สมบูรณ์มายื่นต่อศาลใหม่อีก ทั้งโจทก์ขอถอนฟ้องโดยอ้างเหตุว่าได้ขายที่ดินให้แก่ผู้อื่น จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะถอนฟ้องแล้วหวนกลับมาฟ้องจำเลยใหม่อีก” ก็เป็นเรื่องดุลพินิจของศาลชั้นต้นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผู้ซื้อที่ดินที่โจทก์อ้างในคดีก่อน ชำระราคาแก่โจทก์ไม่ครบถ้วน จึงยังมิได้มีการจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์แก่กันให้บริบูรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๙๙๘/๒๕๔๐ แม้ในคดีก่อนโจทก์ยื่นคำร้องว่า โจทก์จำเลยตกลงกันได้ โจทก์ไม่มีความประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป ก็มีความหมายว่าไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยสำหรับคดีนั้นเท่านั้น หาอาจแปลไปว่าโจทก์จะไม่ฟ้องคดีใหม่แก่จำเลยอีก การถอนฟ้องในคดีก่อนไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์หมดไป โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ใหม่ได้ภายในอายุความ ตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๗๖ และคดีก่อนศาลจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ถอนฟ้อง ยังมิได้มีคำพิพาฏษาชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี เมื่อโจทก์มาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๔๘
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๖๗๘/๒๕๒๘ ในคดีก่อนนั้นโจทก์ขอถอนฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๕ วรรคแรก โจทก์เพียงแต่ยื่นคำบอกกล่าวขอถอนคำฟ้องต่อศาล และศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องได้โดยมิต้องสอบถามคู่ความฝ่ายอื่นว่าจะยินยอมหรือไม่อย่างใด การที่โจทก์ยื่นคำบอกกล่าวว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยต่อไปนั้น ก็มีความหมายแต่เพียงว่าไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยสำหรับคดีนั้นเท่านั้น หาอาจแปลไปว่าโจทก์จะไม่ฟ้องคดีใหม่กับจำเลยอีกตามสิทธิของโจทก์ ซึ่งตามมาตรา ๑๗๖ บัญญัติรับรองไว้แต่อย่างใดไม่ ทั้งมิใช่กรณีที่มีการถอนฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความกันหรือเทียบได้กับกรณีประนีประนอมยอมความกัน ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๘๒๓/๒๕๒๖ แม้ในคดีเดิมโจทก์จะแถลงว่า สาเหตุที่ถอนฟ้องเพราะโจทก์ไม่ติดใจดำเนินคดีกับจำเลยต่อไปเนื่องจากตกลงกันได้แล้ว ก็ไม่มีข้อความชัดแจ้งหรืออาจแปลได้ว่าโจทก์สละสิทธิที่จะเรียกร้องในมูลกรณีเดียวกันนั้นกับจำเลยอีกในภายหลัง ฉะนั้นการถอนฟ้องในคดีก่อนจึงไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์หมดไป โจทก์จึงฟ้องคดีได้ใหม่ภายในอายุความ
                แต่ถ้าการถอนฟ้องในคดีก่อน โจทก์ร้องหรือแถลงไว้ชัดแจ้งว่าโจทก์จะไม่ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับกรณีพิพาทอีก โจทก์จะนำคดีมาฟ้องอีกไม่ได้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๐๐๒/๒๕๑๑ ศาลฎีกาเห็นว่า การที่โจทก์ได้แถลงต่อศาลตามรายงานกระบวนพิจารณาว่าจะไม่ฟ้องจำเลยที่ ๑ หรือ ๔ เกี่ยวกับที่พิพาทนี้อีกนั้น เป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์ในคดีนั้นได้ทำต่อศาลและต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง คำแถลงของโจทก์ที่ได้ยอมสละสิทธิที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๖ ซึ่งให้สิทธิแก่ผู้ถอนฟ้องที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่อีก จึงผูกมัดโจทก์ โจทก์จึงจะนำคดีมาฟ้องจำเลยที่ ๑ ถึง ๔ นี้อีกไม่ได้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๘๓๔/๒๕๔๐ โจทก์เคยมอบอำนาจให้ ณ เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท ต่อมา ณ ได้ถอนฟ้องไม่ประสงค์จะดำเนินคดีไม่ว่าข้อหาใดๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทอีกต่อไป ดังนี้ เมื่อโจทก์ถอนฟ้องโดยไม่ประสงค์จะนำคดีมาฟ้องอีก ย่อมเป็นการสละสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๗๖ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้
                                                                                                                    นายประเสริฐ       เสียงสุทธิวงศ์
                                                                                                                                     บรรณาธิการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น