วิชา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม , พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ,พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 สามารถค้นหาคำพิพากษาฎีกาภายใน 1o ปี หลังสุดได้แล้วครับ จะเร่งเพิ่มวิชาต่อไปให้เสร็จตามมาเรื่อยๆครับ

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา
www.lawbooks-by-mrt.blogspot.com

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

บทบรรณาธิการ ภาค2 สมัย64 เล่ม1

                หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ ๖๔ เล่มนี้เป็นเล่มที่ ๑ ของภาคการศึกษานี้ ในนามของสำนักอบรมฯ ขอต้อนรับนักศึกษาทุกคนที่ได้เข้ามาเป็นสมาชิกของสถาบันแห่งนี้
                บทบรรณาธิการ มีวัตถุประสงค์ที่จะแจ้งข่าวสารในเรื่องต่างๆ ให้แก่นักศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอน การสอบ รวมตลอดถึงกรณีที่กฎหมายมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ทั้งจะได้นำคำพิพากษาฎีกาใหม่ คำพิพากษาที่กลับหลักแนวคำวินิจฉัยเดิม หรือที่วินิจฉัยขัดแย้งกัน มานำเสนอเพื่อประโยชน์แก่การศึกษา นักศึกษาจะสอบได้เป็นเนติบัณฑิตควรศึกษาจากเนื้อหาคำบรรยายเป็นหลักเท่านั้น
                ด้วยนายมนตรี ยอดปัญญา ประธานศาลฎีกา  ม..., ..., .. ได้ถึงแก่อสัญกรรมด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวและติดเชื้อในกระแสโลหิต เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ เวลา ๒๑.๑๕ น. ณ โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งอาจารย์มนตรี เป็นผู้บรรยายวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ๒ วิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้น ที่สำนักอบรมฯ มาเป็นระยะเวลานานกับได้เรียบเรียงตำราคำอธิบายกฎหมายวิชาดังกล่าวให้แก่สำนักอบรมฯ จัดพิมพ์เผยแพร่ในนามของสำนักอบรมฯ จึงขอแสดงความอาลัยต่อการจากไปของท่านอาจารย์มนตรี ยอดปัญญา มา ณ โอกาสนี้
                สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ได้ทำการสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิตภาคหนึ่ง สมัยที่ ๖๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ และได้ประกาศผลสอบแล้วปรากฏว่า
                ๑. กลุ่มกฎหมายอาญา มีผู้สอบได้จำนวน ๒,๓๓๑ คน (คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๔๔)
                ผู้ที่ได้คำแนนสูงสุด ชื่อ นางสาวพิมพ์พลอย สกุลมีฤทธิ์ จบนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนางสาวนภาพร ฉายตระกูล จบนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สอบได้ ๗๘ คะแนน ซึ่งได้ทำการสอบกลุ่มนี้เป็นครั้งแรก
                ๒. กลุ่มกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีผู้สอบได้จำนวน ๗๔๗ คน (คิดเป็นร้อยละ ๖.๗๑)
                ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด ชื่อ นายไกรพล อรัญรัตน์ จบนิติศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สอบได้ ๘๒ คะแนน ซึ่งได้ทำการสอบกลุ่มนี้เป็นครั้งแรก
                ๓. ผู้สอบได้กลุ่มกฎหมายอาญาและกลุ่มกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๓๐๓ คน ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด ชื่อ นายไกรพล อรัญรัตน์ กฎหมายอาญา คะแนนสอบ ๖๘ คะแนน กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คะแนนสอบ ๘๒ คะแนน สอบได้คะแนนรวม ๑๕๐ คะแนน
                คำถาม   คดีมโนสาเร่ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและศาลพิพากษาให้แพ้คดี จำเลยมีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เหมือนคดีแพ่งสามัญหรือไม่
                คำตอบ  มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๔๓๙/๒๕๕๓   คดีมโนสาเร่มีบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๘๙ ถึงมาตรา ๑๙๖ บัญญัติเกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ไว้โดยเฉพาะและถึงแม้จะไม่ได้มีบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีใหม่ในคดีมโนสาเร่ แต่มาตรา ๑๙๕ ก็ให้นำบทบัญญัติอื่นในประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีมโนสาเร่ด้วย จึงนำมาตรา ๑๙๙ ตรี อันเป็นเรื่องของการขอพิจารณาคดีใหม่ และมาตราอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขอพิจารณาคดีใหม่มาใช้กับคดีมโนสาเร่ได้ อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้จำเลยซึ่งแพ้คดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การในคดีมโนสาเร่ที่จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ ดังนั้น จำเลยจึงขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้
                มีหมายเหตุท้ายคำพิพากษาฎีกานี้โดยอาจารย์ไพโรจน์ วายุภาพ
                ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๙๓ ทวิ วรรคสอง ได้บัญญัติถึงกรณีที่จำเลยไม่มาศาลและไม่ได้ยื่นคำให้การไว้ว่าให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยนำมาตรา ๑๙๘ ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ส่วนมาตรา ๑๙๙ ตรี อันเป็นเรื่องการขอพิจารณาคดีใหม่ไม่ได้กล่าวถึงว่าให้นำมาตรา ๑๙๙ ตรี มาใช้บังคับด้วยหรือไม่ จงต้องพิจารณาตามมาตรา ๑๙๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ.. ๒๕๕๑ มาตรา ๑๖ ซึ่งบัญญัติให้นำบทบัญญัติอื่นในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม จึงนำมาตรา ๑๙๙ ตรี มาใช้บังคับได้ ต่างกับมาตรา ๑๙๕ เดิมที่บัญญัติให้นำบททั่วไปและบทบัญญัติในคดีสามัญมาใช้บังคับกับคดีมโนสาเร่ด้วยเท่านั้น ซึ่งทำให้มีการตีความว่าไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัด ซึ่งเป็นบทบัญญัติในลักษณะ ๒ วิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้นมาใช้บังคับได้
                คำถาม   ผู้ได้นำมาซึ่งกรรมสิทธิ์รถยนต์โดยการครองครองปรปักษ์จะมายื่นคำร้องขอต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทได้หรือไม่
                คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๕๔๙/๒๕๕๓ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์กระบะพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นคดีที่ไม่มีข้อพิพาทซึ่งตาม ป.วิ.. มาตรา ๕๕ และมาตรา ๑๘๘ (๑) บุคคลใดต้องใช้สิทธิทางศาลจะต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอในกรณีนั้นๆ ได้ แต่กรณีคำร้องขอของผู้ร้องการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์รถยนต์โดยการครอบครองปรปักษ์ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติรับรองให้ผู้ร้องมาใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทต่อศาล ปัญหาว่าผู้ร้องมีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอต่อศาลขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๔๒ (๕) ประกอบมาตรา ๒๔๖ และ ๒๔๗
                คำถาม คำพิพากษาส่วนอาญาว่าพยานหลักฐานตามทางนำสืบของโจทก์ยังไม่เพียงพอให้รับฟังลงโทษจำเลย จะถือว่าศาลได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีแล้วหรือไม่ว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดซึ่งศาลในคดีแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตาม
                คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๒๐๙/๒๕๕๓ โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันบุกรุกและร่วมกันขุดต้นยูคาลิปตัสที่โจทก์ปลูกไว้ออกจากที่ดินของโจทก์ทั้งแปลงและเรียกค่าเสียหายจำนวน ๘๑,๐๐๐ บาท ซึ่งความรับผิดชอบทางแพ่งเกิดจากการกระทำผิดอาญาอันมีมูลคดีเดียวกัน จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อคำพิพากษาส่วนอาญายุติแล้วว่าพยานหลักฐานตามทางนำสืบของโจทก์ยังไม่เพียงพอให้รับฟังลงโทษจำเลยที่ ๑ ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีแล้วว่าจำเลยที่ ๑ ไม่ได้กระทำความผิดฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ ดังนี้ จะฟังข้อเท็จจริงใหม่เป็นอย่างอื่นหาได้ไม่ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ ๑ เป็นผู้ว่าจ้าง ส. นำรถแบ็คโฮไปขุดถอนต้นยูคาลิปตัสในที่ดินของจำเลยที่ ๑ ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์แล้ว ฮ. ให้คนงานนำรถแบ็คโฮไปทำงานตามที่ตนรับจ้างโดยที่จำเลยที่ ๑ ไม่ชี้แนวเขตที่ดินของตน ถือได้ว่าจำเลยที่ ๑ เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้างตาม ป... มาตรา ๔๒๘ จึงไม่ชอบ นอกจากนี้ข้อเท็จจริงดังกล่าวโจทก์ก็ไม่ได้บรรยายมาในฟ้องจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอต้องห้ามตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๔๒ วรรคหนึ่งอีกด้วย แม้ ป.วิ.. มาตรา ๔๗ จะบัญญัติว่า คำพิพากษาส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดหรือไม่ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไปกลับข้อเท็จจริงที่จำต้องรับฟังตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.. มาตรา ๔๖ ศาลจึงไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงในส่วนแพ่งขัดกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญาได้ จึงต้องฟังว่าจำเลยที่ ๑ มิได้ทำละเมิดอันจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
                คำถาม คำแพ่ง คำพิพากษาคดีเดิมที่ยกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโจทก์จะนำคดีมาฟ้องใหม่ได้หรือไม่
                คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๒๒๙/๒๕๕๓ มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามในคดีนี้เป็นมูลหนี้เดียวกันกับมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ๑๓๕๐๙/๒๕๔๕ ของศาลชั้นต้น โดยเป็นการฟ้องเรียกให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ตามเช็คทั้งเจ็ดฉบับ ซึ่งโจทก์อ้างว่ารับโอนหนี้มาจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ศ. โดยอาศัยสัญญาขายระหว่างองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินกับโจทก์ และคดีดังกล่าวถึงที่สุดโดยศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องและโจทก์ไม่อุทธรณ์ คำพิพากษาคดีเดิมที่ยกฟ้องโจทก์เป็นเพียงการวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเท่านั้น จึงเป็นการยกฟ้องโดยยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในการฟ้องคดีว่ามีอยู่จริงหรือไม่ แต่ฟ้องโจทก์คดีนี้โจทก์ได้นำพยานหลักฐานที่แสดงว่า ม. ได้รับคำสั่งแต่งตั้งเป็นเลขาธิการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินมาแสดงต่อศาล อันแสดงว่า ม. มีอำนาจมอบอำนาจ และสัญญาขายทรัพย์สินเป็นสัญญาที่ชอบ ที่โจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาขายทรัพย์สินในฐานะเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยทั้งสาม จึงไม่ใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
                                                                                                                       นาย ประเสริฐ      เสียงสุทธิวงศ์
                                                                                                                                       บรรณาธิการ
               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น