ข้อสอบปากเปล่าความรู้ชั้นเนติบัณฑิต
ตั้งแต่
สมัยที่ ๗ ปีการศึกษา ๒๔๙๗
ถึง
สมัยที่ ๖๔ ครั้งที่ ๒ ปีการศึกษา
๒๕๕๔
ข้อสอบปากเปล่า*
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๗
ประจำปีการศึกษา ๒๔๙๗
คำถาม
ในการฟ้องคดีอาญาและคดีแพ่ง
มีหลักสำคัญที่จะต้องแสดงให้ปรากฏในคำฟ้องแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
ธงคำตอบ (ไม่ได้ตั้งไว้)
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๘
ประจำปีการศึกษา ๒๔๙๘
คำถาม การให้การต่อสู้คดี ในคดีแพ่งมีหลักแตกต่างกับการให้การต่อสู้คดีในคดีอาญาอย่างไรบ้าง
ธงคำตอบ (ไม่ได้ตั้งไว้)
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๙
ประจำปีการศึกษา
๒๔๙๙
คำถาม
ข้อเท็จจริงที่ศาลได้ชี้ขาดในคำพิพากษาเรื่องหนึ่งจะนำมาใช้ในคดีอีกเรื่องหนึ่งได้เพียงใดหรือไม่
ธงคำตอบ
(ไม่ได้ตั้งไว้)
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๑๐
ประจำปีการศึกษา
๒๕๐๐
คำถาม
บุคคลอาจเป็นคู่ความ
หรือโจทก์จำเลยได้อย่างไร และในกรณีใดบ้าง
ธงคำตอบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๕, ๕๖, ๕๗
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔, ๕, ๖, ๒๘
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๑๑
ประจำปีการศึกษา
๒๕๐๑
คำถาม
ที่ว่า
ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนจริงเพียงใด
ธงคำตอบ
(ไม่ได้ตั้งไว้)
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๑๒
ประจำปีการศึกษา
๒๕๐๒
คำถาม
การให้การต่อสู้คดีในคดีแพ่งและคดีอาญานั้นมีหลักเกณฑ์ต่างกันอย่างไร
ธงคำตอบ
คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๗ วรรค ๒ (ตั้งประเด็น)
คดีอาญา ให้การอย่างไรก็ได้
หรือไม่ให้การก็ได้
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๑๓
ประจำปีการศึกษา
๒๕๐๓
คำถาม
ค่าสินไหมทดแทนในกรณีละเมิด
กับกรณีผิดสัญญาต่างกันหรือไม่
ธงคำตอบ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๓๘ และ ๒๒๒
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๑๔
ประจำปีการศึกษา
๒๕๐๔
คำถาม
ให้อธิบายความแตกต่างระหว่างการถอนฟ้องคดีอาญากับการถอนฟ้องคดีแพ่ง
ธงคำตอบ
คดีอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๕, ๓๖
คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๑๗๕, ๑๗๖
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๑๕
ประจำปีการศึกษา
๒๕๐๕
คำถาม
การอ้างพยานบุคคลในคดีแพ่ง
มีหลักเกณฑ์อย่างไรต่างกับการอ้างพยานบุคคลในคดีอาญา
ธงคำตอบ
คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๘๘
คดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๑๕
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๑๖
ประจำปีการศึกษา
๒๕๐๖
คำถาม
ในคดีแพ่ง
“ชี้สองสถาน” เข้าใจว่า มีประโยชน์อย่างไร จำเป็นต้องมีการชี้สองสถานทุกคดีหรือไม่
ธงคำตอบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๘๓ ไม่จำเป็นต้องมีทุกคดี
จะมีการชี้สองสถานหรือไม่แล้วแต่รูปคดี
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๑๗
ประจำปีการศึกษา
๒๕๐๗
คำถามหน้าที่นำสืบในคดีแพ่งและคดีอาญานั้น
ต่างกันอย่างไร เพราะเหตุใด
ธงคำตอบ
คดีอาญา ศาลจะไม่ลงโทษจำเลยนอกจากจะปรากฏว่ากระทำผิดจริง
และกฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่าทุกคนบริสุทธิ์
ฉะนั้นคดีจึงมีประเด็นอยู่เสมอว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่
กฎหมายจึงบัญญัติให้โจทก์มีหหน้าที่นำสืบก่อนเสมอ
เพื่อแสดงว่าจำเลยได้กระทำผิดจริง (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๗๔)
คดีแพ่ง
เป็นเรื่องที่พิพาทกันว่าฝ่ายใดมีสิทธิดีกว่ากัน
ฉะนั้นหน้าที่นำสืบก่อนจึงอาจตกแก่ฝ่ายใดก็ได้แล้วแต่รูปคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๑๘๓
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๑๘
ประจำปีการศึกษา
๒๕๐๘
คำถาม
ค่าฤชาธรรมเนียมคืออะไร
การเรียกค่าธรรมเนียมมีประโยชน์อย่างไร ทำไมคดีอาญาจึงไม่เรียกค่าธรรมเนียม
ธงคำตอบ
ค่าฤชาธรรมเนียม
คือค่าใช้จ่ายในคดีเท่าที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกำหนดไว้ (มาตรา ๑๕๒
และมาตรา ๑๖๑ วรรค ๒)
ประโยชน์ในการเรียกค่าธรรมเนียม
๑. ทำให้ยั้งคิด
๒.
บุคคลมาขอประโยชน์จากรัฐเป็นพิเศษจากคนอื่นก็ต้องเสียอะไรบ้าง
คดีอาญา
เป็นเรื่องของแผ่นดินจึงไม่เรียก
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
๒๘
ประจำปีการศึกษา
๒๕๑๘
คำถาม
บุคคลใดเป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญา
ธงคำตอบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๕, ๕๖
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๘, ๒๙ มาตรา ๔, ๕, ๖
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๓๔
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๒๙
ประจำปีการศึกษา
๒๕๑๙
คำถาม
คำสั่งระหว่างพิจารณาในคดีอาญาและในคดีแพ่งจะอุทธรณ์ได้เพียงไรหรือไม่
ธงคำตอบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๒๖, ๒๒๗, ๒๒๘
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๖
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๓๐
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๓๐
ประจำปีการศึกษา
๒๕๒๐
คำถาม
ในคดีแพ่งก็ดี
ในคดีอาญาก็ดี ในวันสืบพยานนัดแรก โจทก์ขาดนัดพิจารณา
ศาลจะต้องดำเนินกระบวนการพิจารณาอย่างไร และคู่ความมีสิทธิและหน้าที่อย่างไรบ้าง
ธงคำตอบ
คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๐๑
คดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๖๖, ๑๘๑
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๓๑
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๓๑
ประจำปีการศึกษา
๒๕๒๑
คำถาม
คำบรรยายฟ้องในคดีแพ่งและคดีอาญามีหลักสำคัญอย่างไร
ให้อธิบาย
ธงคำตอบ
คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๒
ประจำปีการศึกษา
๒๕๒๒
คำถาม
คดีแพ่งก็ดี
คดีอาญาก็ดี ถ้าจำเลยตามระหว่างพิจารณา ศาลจะดำเนินการกระบวนพิจารณาต่อไปอย่างไร
ธงคำตอบ
คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๔๒
คดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๓๙
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๓๓
ประจำปีการศึกษา
๒๕๒๓
คำถาม
ในคดีแพ่งก็ดี
คดีอาญาก็ดี โจทก์ไม่มาศาลในวันสืบพยานนัดแรก
ศาลจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างไรจึงจะชอบ
ธงคำตอบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๖๖, ๑๘๑
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๐๑, ๒๐๓
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๓๔
ประจำปีการศึกษา
๒๕๒๔
คำถาม
คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ถอนฟ้องไปจากศาลแล้ว
จะนำมาฟ้องใหม่อีกได้หรือไม่
ธงคำตอบ
คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๖
คดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๓๖
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๓๕
ประจำปีการศึกษา
๒๕๒๕
คำถาม การแก้ไขฟ้องในคดีแพ่ง และคดีอาญา
มีหลักเกณฑ์อย่างไร
ธงคำตอบ
คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๑๘๐
คดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๖๓
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๓๖
ประจำปีการศึกษา
๒๕๒๖
คำถาม
การฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญา
เมื่อโจทก์ฟ้องแล้วก่อนศาลพิพากษาก็ดี หรือเมื่อศาลพิพากษาแล้วก็ดี
โจทก์คนเดียวกันนั้นจะฟ้องคดีเรื่องเดียวกันนั้นอีกได้หรือไม่
ธงคำตอบ
คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๘, ๑๗๓
คดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๓๙ (๔), ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๑๗๓ ประกอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๓๗
ประจำปีการศึกษา
๒๕๒๗
คำถาม
การนั่งพิจารณาและสืบพยานในคดีแพ่งและคดีอาญานั้น
ต้องทำต่อหน้าจำเลยเสมอไปหรือไม่
ธงคำตอบ
คดีแพ่งไม่ต้องทำต่อหน้าจำเลยเสมอไป ถ้าจำเลยมีทนายศาลก็ทำต่อหน้าทนายจำเลยได้เลย
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๓๘
ประจำปีการศึกษา
๒๕๒๘
คำถาม
บุคคลผู้มีสิทธิเสนอคดีแพ่งและคดีอาญา
ได้แก่ผู้ใดบ้าง
ธงคำตอบ
คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๕, ๖๐
คดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๒๘ ประกอบด้วยมาตรา ๓, ๔, ๕, ๖
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๓๙
ประจำปีการศึกษา
๒๕๒๙
คำถาม
ฟ้องซ้ำและฟ้องซ้อนในคดีแพ่งต่างกันอย่างไร
ให้อธิบาย
ธงคำตอบ
ฟ้องซ้ำ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๘
ฟ้องซ้อน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๗๓
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๔๐
ประจำปีการศึกษา
๒๕๓๐
คำถาม
บทบัญญัติเกี่ยวกับการให้การของจำเลยในคดีแพ่งกับการให้การของจำเลยในคดีอาญามีอยู่อย่างไร
ธงคำตอบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๒, ๑๗๗
วรรคสอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๖๕, ๑๗๒
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๔๑
ประจำปีการศึกษา
๒๕๓๑
คำถาม
คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่เพียงใด
ให้อธิบายทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๒๒๔, ๑๘๓ ทวิ, ๑๘๓ ตรี
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๔๒
ประจำปีการศึกษา
๒๕๓๒
คำถาม
การดำเนินกระบวนพิจารณาเมื่อโจทก์มรณะระหว่างพิจารณาคดีแพ่ง
และเมื่อผู้เสียหายยื่นฟ้อง แล้วตายลงในคดีอาญาแตกต่างกันอย่างไร
ธงคำตอบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๔๒
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๙
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๔๓
ประจำปีการศึกษา
๒๕๓๓
คำถาม
ให้อธิบายการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาคดีแพ่งและคดีอาญา
ธงคำตอบ
คดีแพ่ง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๒๖, ๒๒๗
และ ๒๒๘
คดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๙๖
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๔๔
ประจำปีการศึกษา
๒๕๓๔
คำถาม ในการสืบพยานคดีแพ่ง
เมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมแสดง คู่ความจะนำพยานบุคคล
หรือสำเนาเอกสารมาสืบแทนได้เพียงใด
ธงคำตอบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๙๔
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๔๕
ประจำปีการศึกษา
๒๕๓๕
คำถาม
ในคดีอาญาการพิจารณาคดีลับหลังจำเลยจะกระทำได้หรือไม่เพียงใด
ธงคำตอบ
๑.
กรณีที่ศาลพิจารณาและสืบพยานลับหลังจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๗๒ ทวิ
๒. กรณีการส่งประเด็นให้ศาลอื่นสืบพยานหรือการไปเดินเผชิญสืบพยานโดยจำเลยไม่ติดใจไปฟังการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๒๓๐
๓.
กรณีที่ศาลมีคำสั่งให้จำเลยออกจากห้องพิจารณา
เพราะเหตุที่จำเลยขัดขวางการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๘๐
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๔๖
ประจำปีการศึกษา
๒๕๓๖
คำถาม
คำสั่งระหว่างพิจารณาคืออะไร
จะอุทธรณ์คำสั่งนี้ได้เพียงใด ให้ตอบทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา
ธงคำตอบ คำสั่งระหว่างพิจารณาคือ คำสั่งใดๆ
ของศาลที่ได้สั่งในระหว่างการดำเนินกระบวนพิจารณาก่อนมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีโดยเมื่อศาลสั่งไปแล้วยังมีกระบวนการพิจารณาที่ศาลจะต้องดำเนินต่อไปอีก
การอุทธรณ์คำสั่ง
คดีแพ่ง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๒๖, ๒๒๗, ๒๒๘
คดีอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๖
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๔๗
ประจำปีการศึกษา
๒๕๓๗
คำถาม คู่ความในคดีแพ่ง
มีสิทธิฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้เพียงใด
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๒๔๗
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๔๘
ประจำปีการศึกษา ๒๕๓๘
คำถาม คดีมีข้อพิพาทและคดีไม่มีข้อพิพาทต่างกันอย่างไร
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๕๕, ๑๘๘
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๔๙
ประจำการศึกษา ๒๕๓๙
คำถาม ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง
โจทก์ไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง จะมีผลในการดำเนินการอย่างไร
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๖๖
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๕๐
ประจำการศึกษา ๒๕๔๐
คำถาม การถอนฟ้องคดีอาญากับการถอนฟ้องคดีแพ่ง
เมื่อศาลอนุญาตแล้วมีผลอย่างไร
ธงคำตอบ คดีอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๖
คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๑๗๖
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๕๑
ประจำการศึกษา ๒๕๔๑
คำถาม การยอมความในคดีแพ่งและคดีอาญา ต่างกันอย่างไร
ธงคำตอบ
การยอมความในคดีแพ่งจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่รับผิด
(ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๕๐) การยอมความในคดีอาญาหามีบทบัญญัติให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือไม่
การยอมความทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาจะกระทำเมื่อใดก็ได้ก่อนคดีถึงที่สุด
คดีแพ่งทุกชนิดอาจยอมความกันได้
และศาลจะพิพากษาไปตามทีคู่ความตกลงยอมกัน ถ้าข้อตกลงนั้นไม่เป็นฝ่าฝืนกฎหมาย
คู่ความจะอุทธรณ์คดีไม่ได้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้น (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๑๓๘)
คดีอาญาอาจยอมความกันได้เฉพาะคดีความผิดอันยอมความกันได้
หรือที่เรียกว่าความผิดต่อส่วนตัว (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๕
วรรคสอง) ซึ่งมีผลให้สิทธินำคดีมาฟ้องระงับไป (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา
๓๙ (๒)
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๕๒
ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๒
คำถาม ในคดีอาญา
ผู้ใดมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย และมีอำนาจอย่างไรบ้าง
ธงคำตอบ ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายได้แก่
บุคคลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๕ มีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๓
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๕๓ ครั้งที่ ๑
ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๓
คำถาม ผู้ใดมีอำนาจฟ้อง
(ก) คดีแพ่ง (ข) คดีอาญา ต่อศาลได้
ธงคำตอบ (ก) คดีแพ่ง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๓๕
(ข) คดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๒๘ มาตรา ๒ (๔), (๕)
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๕๓ ครั้งที่ ๒
ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๓
คำถาม จำเลยไม่ให้การ มีผลอย่างไร (ก)
คดีแพ่ง, (ข) คดีอาญา
ธงคำตอบ (ก)
ตอบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๙๗ ถึง ๑๙๘
(ข) ตอบตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๗๒ วรรค ๒
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๕๔ ครั้งที่ ๑
ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๔
คำถาม หลักกฎหมายพยานหลักฐานสำหรับคดีแพ่ง และคดีอาญา
มีข้อแตกต่างที่สำคัญอย่างไรให้ยกตัวอย่าง ๓ กรณี
ธงคำตอบ ข้อแตกต่างที่สำคัญ
เช่น
๑.
การรับฟังพยานหลักฐาน
ในคดีแพ่ง
คู่ความอาจตกลงกันเกี่ยวกับวิธีการรับฟังพยานหลักฐานได้ เช่น ตกลงกันเกี่ยวกับ
“คำท้า” เป็นค้น แต่ในคดีอาญาคู่ความหาอาจตกลงกันได้ไม่
๒. มาตรฐานการพิสูจน์
ในคดีแพ่ง
คู่ความจะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าพยานหลักฐานของตรมีน้ำหนักดีกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจึงจะชนะคดีได้
ส่วนคดีอาญาโจทก์จะต้องพิสูจน์ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดโดยปราศจากข้อสงสัยตามสมควร
(ป.วิ.อ. มาตรา ๒๒๗)
๓. การรับข้อเท็จจริงโดยคู่ความ
ในคดีแพ่ง
คู่ความอาจรับข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายก็ได้ คำให้การที่ไม่ปฏิเสธข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง
ต้องถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงนั้น
ส่วนคดีอาญา
การรับข้อเท็จจริงของจำเลยต้องเป็นไปโดยชัดแจ้ง
คำให้การที่ไม่รับข้อเท็จจริงในคำฟ้อง ต้องถือว่าปฏิเสธ
๔. การอ้างจำเลยเป็นพยานโจทก์
อาจทำได้ในคดีแพ่ง
แต่ต้องห้ามในคดีอาญา (ป.วิ.อ. มาตรา ๒๓๒)
๕. การส่งสำเนาเอกสาร
ในคดีแพ่ง
ฝ่ายที่อ้างพยานเอกสาร ต้องส่งสำเนาให้อีกฝ่ายหนึ่งก่อนสืบพยาน (ป.วิ.อ. มาตรา ๙๐) แต่ในคดีอาญา
ศาลสั่งให้ฝ่ายที่อ้างเอกสารส่งสำเนาให้ต่อเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งต้องการ (ป.วิ.อ. มาตรา ๒๔๐)
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๕๔ ครั้งที่ ๒
ประจำปีการศึกษา
๒๕๔๔
คำถาม คดีอาญามีข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงของคู่ความไว้ประการใดบ้าง
ธงคำตอบ ตอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๑๘, ๒๑๙, ๒๑๙
ทวิ, ๒๑๙ ตรี และมาตรา ๒๒๐
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๕๕ ครั้งที่ ๑
ประจำปีการศึกษา
๒๕๔๕
คำถาม ในคดีแพ่ง และคดีอาญา
คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นค้นในปัญหาข้อเท็จจริงได้เพียงใด
ธงคำตอบ คดีแพ่ง
ป.วิ.แพ่ง
มาตรา ๒๒๔
คดีอาญา ป.วิ.อาญา
มาตรา ๑๙๓ ทวิ และมาตรา ๑๙๓ ตรี (หรือตอบตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง
พ.ศ.
๒๔๙๙ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๒ ทวิ
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๕๕ ครั้งที่ ๒
ประจำปีการศึกษา
๒๕๔๕
คำถาม การขอสืบพยานล่วงหน้าในคดีแพ่งและคดีอาญามีหลักเกณฑ์อย่างไร
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 237 ทวิ
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๕๖ ครั้งที่ ๑
ประจำปีการศึกษา
๒๕๔๖
คำถาม คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
คือคดีอะไร มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการพิพากษาคดีส่วนแพ่งว่าอย่างไร
ธงคำตอบ คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
คือคดีแพ่งที่มีมูลมาจากการกระทำผิดอาญา การพิพากษาคดีส่วนแพ่ง
ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
และคำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง
โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลย ต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดหรือไม่
(ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔๖ และ ๔๗)
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๕๖ ครั้งที่ ๒
ประจำปีการศึกษา
๒๕๔๖
คำถาม การกักขังแทนค่าปรับ
มีหลักเกณฑ์สำคัญอย่างไร
ธงคำตอบ ตอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๕๗ ครั้งที่ ๑
ประจำปีการศึกษา
๒๕๔๗
คำถาม ให้อธิบายถึงหลักเกณฑ์การยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวผู้ถูกขัง
ในกรณีที่ถูกขังโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๙๐
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๔๐
หมายเหตุ รัฐธรรมนูญ
มาตรา ๒๔๐ บัญญัติว่า
“ในกรณีที่มีการคุมขังตัวบุคคลในคดีอาญาหรือในกรณีอื่นใด
ผู้ถูกคุมขังเอง พนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้ถูกคุมขัง
มีสิทธิร้องต่อศาลท้องที่ที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาว่าการคุมขังเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อมีคำร้องเช่นว่านี้ให้ศาลดำเนินการไต่สวนฝ่ายเดียวโดยด่วน
ถ้าเห็นว่าคำร้องเช่นว่านั้นมีมูล
ศาลมีอำนาจสั่งผู้คุมขังให้นำตัวผู้ถูกคุมขังมาศาลโดยพลัน
และถ้าผู้คุมขังแสดงให้เป็นที่พอใจของศาล ไม่ได้ว่าการคุมขังเป็นการชอบด้วยกฎหมาย
ให้ศาลปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังไปทันที”
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๕๗ ครั้งที่ ๒
ประจำปีการศึกษา
๒๕๔๗
คำถาม การกระทำโดยป้องกันตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 68
และการกระทำโดยจำเป็นเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นภยันตราย ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 67 (2)แตกต่างกันในสาระสำคัญอย่างใด
ธงคำตอบ
(1)
การกระทำโดยป้องกันผู้กระทำไม่มีความคิด
แต่การกระทำโดยจำเป็นผู้กระทำมีความผิดแต่ได้รับการยกเว้นโทษ
(2)
ภยันตรายที่จะอ้างป้องกันได้ต้องเกิดจากการละเมิดกฎหมายเท่านั้น
ส่วนภยันตรายที่จะอ้างจำเป็นนั้นอาจเกิดจากการละเมิดกฎหมายหรือไม่ก็ได้
(3) ป้องกันเป็นการกระทำต่อผู้ก่อภัย ส่วนจำเป็นเป็นการกระทำต่อบุคคลที่สาม
(4)
ผู้กระทำโดยป้องกันไม่จำต้องหลีกหนีภยันตรายนั้น
แต่การกระทำโดยจำเป็นผู้กระทำจะต้องไม่สามารถหลีกเลี่ยงภยันตรายนั้นให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๕๘ ครั้งที่ ๑
ประจำปีการศึกษา
๒๕๔๘
คำถาม
การอ้างรับฟังพยานเอกสารในคดีแพ่งมีหลักอย่างไร
มีข้อแตกต่างจากคดีอาญาหรือไม่ อย่างไร
ธงคำตอบ
ตอบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 93
การอ้างเอกสารเป็นพยานนั้นให้ยอมรับฟังได้แต่ต้นฉบับเอกสารเท่านั้น
เว้นแต่
(๑)
เมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว
จึงให้ศาลยอมรับฟังสำเนาเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐานแห่งเอกสารนั้นได้
(๒)
ถ้าต้นฉบับเอกสารหาไม่ได้ เพราะสูญหาย หรือ ถูกทำลาย โดยเหตุสุดวิสัย หรือไม่
สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น ศาลจะอนุญาตให้นำสำเนาหรือพยานบุคคลมาสืบก็ได้
(๓)
ต้นฉบับเอกสารที่อยู่ในความอารักขาหรือในความควบคุมของทางราชการนั้น จะนำมาแสดงได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตของรัฐมนตรี
หัวหน้ากรม กอง หัวหน้าแผนก หรือผู้รักษาการแทนในตำแหน่งนั้นๆ
ที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณีเสียก่อน อนึ่ง นอกจากศาลจะได้กำหนดเป็นอย่างอื่น
สำเนาเอกสารหรือข้อความที่คัดจากเอกสารเหล่านั้น ซึ่งรัฐมนตรี หัวหน้ากรมกอง
หัวหน้าแผนก หรือผู้รักษาการแทนในตำแหน่งนั้นๆ ได้รับรองถูกต้องแล้ว
ให้ถือว่าเป็นอันเพียงพอในการที่จะนำมาแสดง
และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 238
ต้นฉบับเอกสารเท่านั้นที่อ้างเป็นพยานได้
ถ้าหาต้นฉบับไม่ได้
สำเนาที่รับรองว่าถูกต้องหรือพยานบุคคลที่รู้ข้อความก็อ้างเป็นพยานได้
ถ้าอ้างหนังสือราชการเป็นพยาน
แม้ต้นฉบับยังมีอยู่ จะส่งสำเนาที่เจ้าหน้าที่รับรองว่าถูกต้องก็ได้
เว้นแต่ในหมายเรียกจะบ่งไว้เป็นอย่างอื่น
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๕๘ ครั้งที่ ๒
ประจำปีการศึกษา
๒๕๔๘
คำถาม
การโอนหนี้อันจะพึงต้องชำระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงจะสมบูรณ์
และยกเป็นข้อต่อสู้หรือบุคคลภายนอกได้นั้น จะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง
ธงคำตอบ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคแรก กล่าวคือ
1. จะสมบูรณ์ต้องทำเป็นหนังสือ
2.
จะยกเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้
จะต้องบอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือ
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๕๙ ครั้ง ที่ ๑
ประจำปีการศึกษา
๒๕๔๙
คำถาม
บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความ
จะเข้ามาเป็นคู่ความในคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นนั้น
มีหลักเกณฑ์อย่างไร ให้ตอบทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา
ธงคำตอบ
คดีแพ่ง:ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๕๗ บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความอาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอด
คดีอาญา:ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๓๐
คดีอาญาใดซึ่งพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว
ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างการพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นก็ได้
มาตรา ๓๑
คดีอาญาที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวซึ่งผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้ว
พนักงานอัยการจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดก่อนคดีเสร็จเด็ดขาดก็ได้
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๕๙ ครั้งที่ ๒
ประจำปีการศึกษา
๒๕๔๙
คำถาม ประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติในเรื่องริบทรัพย์สิน
มีหลักเกณฑ์สำคัญอย่างไร
ธงคำตอบ
ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๓๒
ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด
ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าเป็นของผู้กระทำความคิด
และมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่
มาตรา
๓๓ ในการริบทรัพย์สิน นอกจากศาลจะมีอำนาจริบตามกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว
ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สินดังต่อไปนี้อีกด้วย คือ
(๑)
ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือ
(๒)
ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิด
เว้นแต่
ทรัพย์สินเหล่านี้เป็นทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดมาตรา
๓๔ บรรดาทรัพย์สิน
(๑)
ซึ่งได้ให้ตามความในมาตรา ๑๔๓ มาตรา ๑๔๔ มาตรา ๑๔๙ มาตรา ๑๕๐ มาตรา ๑๖๗ มาตรา ๒๐๑
หรือมาตรา ๒๐๒ หรือ
(๒)
ซึ่งได้ให้เพื่อจูงใจบุคคลให้กระทำความผิ ด
หรือเพื่อเป็นรางวัลในการที่บุคคลได้กระทำความผิด
ให้ริบเสียทั้งสิ้น
เว้นแต่ทรัพย์สินนั้นเป็นของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๖๐ ครั้งที่ ๑
ประจำปีการศึกษา
๒๕๕๐
คำถาม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปในกรณีใดบ้าง
ธงคำตอบ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา
๓๙ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ดั่งต่อไปนี้
(๑)
โดยความตายของผู้กระทำความผิด
(๒)
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย
(๓)
เมื่อคดีเลิกกันตามมาตรา ๓๗
(๔)
เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง
(๕)
เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำผิดยกเลิกความผิดเช่นนั้น
(๖)
เมื่อคดีขาดอายุความ
(๗)
เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๖๐ ครั้งที่ ๒
ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๐
คำถาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติเรื่องส่วนควบของทรัพย์ไว้อย่างไรบ้าง
ธงคำตอบ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา
๑๔๔ ส่วนควบของทรัพย์
หมายความว่า ส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น
และไม่อาจแยกจากกันได้ นอกจากจะทำลายทำให้บุบสลาย
หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป
เจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้น
มาตรา
๑๔๕ ไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบกับที่ดินที่ไม้นั้นขึ้นอยู่
ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติอันจะเก็บเกี่ยวรวงผลไม้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปีไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน
มาตรา
๑๔๖ ทรัพย์ซึ่งติดกับที่ดินหรือติดกับโรงเรียนเพียงชั่วคราวไม่ถือว่าเป็นส่วนควบกับที่ดินหรือโรงเรือนนั้น
ความข้อนี้ให้ใช้บังคับแก่โรงเรียนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น
ซึ่งผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธินั้นปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้นด้วย
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๖๑ ครั้งที่ ๑
ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๑
คำถาม “ความผิดซึ่งหน้า”
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หมายความว่าอย่างไร
ธงคำตอบ ตอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 80
ได้แยกความผิดซึ่งหน้าออกเป็น ๒
ประเภท คือ (๑) ความผิดซึ่งหน้าอย่างแท้จริง และ
(๒) ให้ถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า
(๑)
ความผิดซึ่งหน้าอย่างแท้จริง ได้แก่
(ก)
ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำ (ความผิด) หรือ
(ข) พบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่า
เขาได้กระทำผิดมาแล้วสดๆ
(๒) ให้ถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า ได้แก่ กรณีที่ผู้จับมิได้ “เห็น”
หรือ “พบ” ซึ่งหน้า แต่เป็นกรณีที่
(ก) เป็นความผิดที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
และ
(ข) มีบุคคลถูกไล่จับดั่งผู้กระทำ (ความผิด) โดยมีเสียงร้องเอะอะ หรือ
(ค) เมื่อพบบุคคล
- แทบจะทันทีทันใดหลังจากการกระทำผิด
- ในถิ่นแถวใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุนั้น
และ
- มีสิ่งของที่ได้มากจากการกระทำผิด
หรือ
- มีเครื่องมือ อาวุธ
หรือวัตถุอย่างอื่นสันนิษฐาน ได้ว่าได้ใช้ในการกระทำผิด หรือ
-
มีร่องรอยพิรุธเห็นประจักษ์ที่เสื้อผ้าหรือเนื้อตัวของผู้นั้น
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๖๑ ครั้งที่ ๒
ประจำปีการศึกษา
๒๕๕๑
คำถาม
สินสมรสระหว่างสามี ภรรยา
ได้แก่ทรัพย์สิน อย่างใด
ธงคำตอบ
ตอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1474 สินสมรส ได้แก่ ทรัพย์สิน
(๑) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(๒)
ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินับกรรม หรือ โดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่า
เป็นสินสมรส
(๓)
ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่
ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๖๒ ครั้งที่ ๑
ประจำปีการศึกษา
๒๕๕๒
คำถาม
ให้อธิบายความหมายของ
“คำร้องทุกข์” ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ธงคำตอบ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๒ (๗)
“คำร้องทุกข์” หมายความถึง
การที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้
ว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม
ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย
และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ
ความหมายของคำว่า
“คำร้องทุกข์” จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ คือ
๑)
การที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้
ว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม
ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และ
๒)
การกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ
คำร้องทุกข์จะต้องกระทำโดยผู้เสียหายตามมาตรา
๒ (๔) เท่านั้น และจะประกอบด้วยหลักเกณฑ์ทั้งสองประการดังกล่าว
หากขาดหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์โดยชอบ
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๖๒ ครั้งที่ ๒
ประจำปีการศึกษา
๒๕๕๒
คำถาม การลักทรัพย์โดยมีเหตุฉกรรจ์
หรือเหตุที่ต้องรับโทษหนักขึ้น ตามที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๕ วรรคแรก
บัญญัติไว้ ได้แก่กรณีใดบ้าง ให้ตอบเพียง ๕ กรณี
ธงคำตอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๕ วรรคแรก บัญญัติว่า
ผู้ใดลักทรัพย์
(๑)
ในเวลากลางคืน
(๒)
ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย
หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ
หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกัน
หรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น
หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใดๆ
(๓)
โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ
(๔)
โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า
หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(๕)
โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ได้เห็นหรือจำหน้าได้
(๖)
โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(๗)
โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
(๘)
ในเคหสถาน
สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณที่ตนได้เข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต
หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้นๆ
(๙)
ในสถานที่บูชาสาธารณ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยานที่จอดรถหรือเรือสาธารณ สาธาณสถาน
สำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณ
(๑๐)
ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(๑๑)
ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
(๑๒)
ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์
สัตว์หรือเครื่องมืออันมีไว้
สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มาจากกสิกรรมนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี
และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๖๓ ครั้งที่ ๑
ประจำปีการศึกษา
๒๕๕๓
คำถาม
ฟ้องซ้ำ กับ
ฟ้องซ้อนในคดีแพ่งต่างกันอย่างไร
ธงคำตอบ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๑๔๘ บัญญัติว่า
คดีที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
ห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน
และ
มาตรา
๑๗๓ วรรคสอง (๑) บัญญัติว่า นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้ว
คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาและผลแห่งการนี้
ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่น
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า
สมัยที่ ๖๓ ครั้งที่ ๒
ประจำปีการศึกษา
๒๕๕๓
คำถาม
การได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดยการครอบครองนั้น
มีหลักเกณฑ์อย่างไร
ธงคำตอบ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
๑๓๔๒
บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ
ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี
ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครองครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้
ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์
หลักเกณฑ์การได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา
๑๓๘๒
(๑)
การครอบครองปรปักษ์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น
(๒)
การครอบครองปรปักษ์ทรัพย์สินของผู้อื่นจะต้องเป็นการครอบครองเป็นการครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ
ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา ๑๐ ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา
๕ ปี
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๔ ครั้งที่๑
คำถาม บุคคลจะใช้สิทธิทางศาลในคดีแพ่งได้เมื่อใด
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๔ ครั้งที่ ๒
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๖ ครั้งที่ ๑
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๔ ครั้งที่๑
ประจำปีการศึกษา
๒๕๕๔
คำถาม บุคคลจะใช้สิทธิทางศาลในคดีแพ่งได้เมื่อใด
ธงคำตอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๕
เมื่อบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาลในคดีแพ่ง บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นการเสนอคดีต่อศาลในลักษณะที่เป็นการใช้สิทธิทางศาลของบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยไม่มีบุคคลอื่นใดโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลนั้น การเสนอคดีต่อศาลในกรณีนี้ จึงเป็นการเสนอคดีโดยไม่มีข้อพิพาทกับบุคคลใด กล่าวคือ ไม่มีบุคคลใดเป็นคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งในฐานะจำเลย บุคคลผู้เสนอคดีมีความจำเป็นจะต้องใช้สิทธิทางศาลตามที่มีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนเพื่อรับรองหรือคุ้มครองตามสิทธิของตนที่มีอยู่ ให้เริ่มต้นคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาล และผู้เริ่มต้นคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทนี้เรียกว่าผู้ร้อง
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๔ ครั้งที่ ๒
ประจำปีการศึกษา
๒๕๕๔
คำถาม ให้อธิบายข้อแตกต่างระหว่างตัวการกับผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติในเรื่องตัวการไว้ในมาตรา ๘๓ และบัญญัติเรื่องผู้สนับสนุนไว้
ในมาตรา ๘๖
มาตรา ๘๓ บัญญัติว่า "ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น"
มาตรา ๘๖ บัญญัติว่า " ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆอันเป็นการช่วยเหลือ หรือ ให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด ก่อน หรือ ขณะกระทำความผิด แม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม ผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่สนับสนุนนั้น"
ความแตกต่างระหว่างตัวการและผู้สนับสนุน
๑. ตัวการ จะต้องมีการกระทำร่วมกัน และมีเจตนาร่วมกัน "ขณะ" กระทำความผิด
ผู้สนับสนุน คือผู้ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวก "ก่อน" หรือ "ขณะ" กระทำความผิดของ "ผู้ลงมือ" การช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวก "ขณะ" กระทำความผิดนั้น จะต้องไม่ถึงขั้นเป็นการกระทำร่วมกัน มิฉะนั้นจะกลายเป็นตัวการไป
๒. ตัวการ นั้น ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาร่วมกัน กล่าวคือ แต่ละคนรู้ถึงการกระทำของกันและกัน และถือเอาการกระทำของผู้อื่นทั้งหมดเสมือนเป็นการกระทำของตน หากผู้กระทำคนหนึ่งรู้เห็นการกระทำของคนอื่นและถือเอาผลของการกระทำของคนอื่นเป็นของตน แต่คนอื่นมิได้รู้เห็นด้วย เช่นนี้ ไม่ถือเป็นตัวการ
ผู้สนับสนุน อาจช่วยเหลือหรือให้ความสะดวก โดยที่ผู้ลงมือมิได้รู้เห็นถึงการช่วยเหลือหรือการให้ความสะดวกนั้นก็ได้
ข้อสังเกต ในขณะที่ผู้ลงมือกระทำความผิดนั้น ผู้เกี่ยวข้องในขณะเกิดเหตุ อาจเป็นตัวการหรือผู้สนับสนุนก็ได้ หากข้อเท็จจริงปรากฎว่า การอยู่ในที่เกิดเหตุเป็นการร่วมกระทำโดยมีเจตนาร่วมกระทำ ก็เป็นตัวการ ถ้าไม่ใช่การร่วมกระทำก็ไม่เป็นตัวการ แต่ถ้าเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกก็เป็นผู้สนับสนุน
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๕ ครั้งที่ ๑
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๕ ครั้งที่ ๒
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติในเรื่องตัวการไว้ในมาตรา ๘๓ และบัญญัติเรื่องผู้สนับสนุนไว้
ในมาตรา ๘๖
มาตรา ๘๓ บัญญัติว่า "ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น"
มาตรา ๘๖ บัญญัติว่า " ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆอันเป็นการช่วยเหลือ หรือ ให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด ก่อน หรือ ขณะกระทำความผิด แม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม ผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่สนับสนุนนั้น"
ความแตกต่างระหว่างตัวการและผู้สนับสนุน
๑. ตัวการ จะต้องมีการกระทำร่วมกัน และมีเจตนาร่วมกัน "ขณะ" กระทำความผิด
ผู้สนับสนุน คือผู้ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวก "ก่อน" หรือ "ขณะ" กระทำความผิดของ "ผู้ลงมือ" การช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวก "ขณะ" กระทำความผิดนั้น จะต้องไม่ถึงขั้นเป็นการกระทำร่วมกัน มิฉะนั้นจะกลายเป็นตัวการไป
๒. ตัวการ นั้น ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาร่วมกัน กล่าวคือ แต่ละคนรู้ถึงการกระทำของกันและกัน และถือเอาการกระทำของผู้อื่นทั้งหมดเสมือนเป็นการกระทำของตน หากผู้กระทำคนหนึ่งรู้เห็นการกระทำของคนอื่นและถือเอาผลของการกระทำของคนอื่นเป็นของตน แต่คนอื่นมิได้รู้เห็นด้วย เช่นนี้ ไม่ถือเป็นตัวการ
ผู้สนับสนุน อาจช่วยเหลือหรือให้ความสะดวก โดยที่ผู้ลงมือมิได้รู้เห็นถึงการช่วยเหลือหรือการให้ความสะดวกนั้นก็ได้
ข้อสังเกต ในขณะที่ผู้ลงมือกระทำความผิดนั้น ผู้เกี่ยวข้องในขณะเกิดเหตุ อาจเป็นตัวการหรือผู้สนับสนุนก็ได้ หากข้อเท็จจริงปรากฎว่า การอยู่ในที่เกิดเหตุเป็นการร่วมกระทำโดยมีเจตนาร่วมกระทำ ก็เป็นตัวการ ถ้าไม่ใช่การร่วมกระทำก็ไม่เป็นตัวการ แต่ถ้าเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกก็เป็นผู้สนับสนุน
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๕ ครั้งที่ ๑
ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕
คำถาม การดำเนินคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดหลักการให้ผู้เสียหายกระทำการอื่นใดในการได้มาซึ่งค่าสินไหมทดแทนนอกจากจะฟ้องเป็นคดีต่างหากจากคดีอาญาไว้หรือไม่
อย่างไร
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
บัญญัติในเรื่องการดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาไว้ในมาตรา 44/1 ดังนี้
สิทธิที่ผู้เสียหายจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์
ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต
ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย ชื่อเสียง
หรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอัน เนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย
ผู้เสียหายยื่นคำร้องเข้าไปในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์
ต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่ตนก็ได้
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๕ ครั้งที่ ๒
ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕
คำถาม ดอกผลของทรัพย์ หมายความว่าอย่างไร
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148
บัญญัติว่า ดอกผลของทรัพย์ได้แก่ ดอกผลธรรมดา และดอกผลนิตินัย
ดอกผลธรรมดา หมายความว่า
สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์
ซึ่งได้มาจากตัวทรัพย์โดยการมีหรือใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยม และสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรัพย์นั้น
ดอกผลนิตินัย หมายความว่า
ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มาเป็นครั้งคราวแก่เจ้าของทรัพย์จากผู้อื่นเพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้น
และสามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวันหรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๖ ครั้งที่ ๑
ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๖
คำถาม คดีมโนสาเร่
คือ คดีอย่างไร
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 189 บัญญัติว่า คดีมโนสาเร่ คือ
(1) คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องอันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
(2) คดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ
ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
อยากขอคำแนะนำเรื่องการหาฎีกาหน่อยค่ะ ที่ว่าย้อนหลัง 5 - 10 ปีหมายถึง พ.ศ.2545 - 2555 ใช่หรือเปล่าคะ และอยากขอคำแนะนำเทคนิคการจำฎีกาด้วยค่ะว่ามีหลักอย่างไรที่จะจำได้ทั้งเลขฎีกาและเนื้อความไปพร้อมๆ กัน
ตอบลบคำพิพากษาศาลฎีกา 10 ปีย้อนหลังที่สามารถค้นหาได้ในเว็บไซต์ของผมนี้ คือคำพิพากษาศาลฎีกา ระหว่าง ปี พ.ศ.2544-2555 ครับ จะมีเฉพาะเท่าที่หาพบนะครับ ซึ่งขณะนี้ผมยังรวบรวมอยู่ครับ จะรีบดำเนินการให้เสร็จโดยเร็วที่สุดครับ
ลบสำหรับคำแนะนำในการค้นหาคำพิพากษาฎีกานั้น จะกล่าวเฉพาะการค้นหาในเว็บไซต์นี้เท่านั้นนะครับ ก็ง่ายๆครับ ที่มุมขวาบนจะมีช่องให้ค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกาได้ครับ ถ้ารู้เลขฎีกาอยู่แล้วก็พิมเลขฎีกาลงไปเลยแล้วกดค้นหาได้เลยครับ แล้วมันจะปรากฎลิ้งค์ที่มีคำพิพากษาศาลฎีกาเลขที่ท่านค้นหา(ถ้ามี) หรือ ถ้าต้องการค้นเป็นคำหรือข้อความอะไรที่ท่านต้องการหา ก็ลองพิมลงไปแล้วกดค้นหาได้เลยครับ ถ้ามีเนื้อหาเกี่ยวกับที่ท่านค้นหาอยู่ก็จะปรากฎลิ้งค์ให้ท่านเห็นครับ ถ้าค้นหาไม่มีก็ขออภัยด้วยครับ กำลังพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้นไปครับ ผมทำคนเดียวทั้งหมด 100%ครับ
สำหรับคำแนะนำเทคนิคการจำฎีกานั้น ถ้าเป็นการจำทั้งเลขและเนื้อหา ผมแนะนำไม่ได้จริงๆครับ เพราะผมจะไม่จำเลขฎีกานะครับ เพราะมันรกสมองไม่จำเป็นต่อการเตรียมตัวสอบครับ ผมจะอ่านเนื้อหาของฎีกาต่างๆให้เข้าใจ แล้วก็จำเฉพาะเนื้อหาส่วนที่สำคัญเท่านั้นเองครับ การอ่านให้เข้าใจและอ่านทบทวนอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้จำได้ครับ
ขอบคุณมากๆ เลยค่ะ
ตอบลบยินดีครับ
ลบขอบคุณมาก ๆ
ตอบลบยินดีครับ^^
ลบขอให้เจ้าของบล๊อคจงสอบเป็นผู้พิพากษาได้และมีความเจริญทางปัญญายิ่งๆขึ้นไปเป็นที่พึ่งแก่สังคมสืบไป ขอบคุณท่านมาก ๆ ที่ช่วยลงไว้ให้คนอยู่ไกลได้มีโอกาสติดตามเหมือนคนกรุงเทพได้บ้างครับ ขอบคุณจากใจจริงๆ
ตอบลบยินดีมากครับ และดีใจครับที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่อยู๋ห่างไกล
ลบ