วิชา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม , พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ,พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 สามารถค้นหาคำพิพากษาฎีกาภายใน 1o ปี หลังสุดได้แล้วครับ จะเร่งเพิ่มวิชาต่อไปให้เสร็จตามมาเรื่อยๆครับ

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา
www.lawbooks-by-mrt.blogspot.com

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

บทบรรณาธิการ ภาค2 สมัย64 เล่ม12

                คำถาม พนักงานสอบสวนมิได้ขอฝากขังผู้ต้องหาต่อศาลภายในกำหนด จะเป็นเหตุให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องหรือไม่
                คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๒๙๔/๒๕๕๐ การ ควบคุมตัวจำเลยที่ ๑ ในชั้นสอบสวน ซึ่งพนักงานสอบสวนจะต้องขออำนาจศาลฝากขังจำเลยที่ ๑ หากพนักงานสอบสวนมิได้ขอฝากขังต่อศาลภายในกำหนด เมื่อพ้นอำนาจการควบคุมตัวผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนต้องปล่อยตัวผู้ต้องหาไป หาใช่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความ โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีอาญามาฟ้องได้
                คำถาม คดีอาญา ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยจะยื่นคำร้องขอถอนคำให้การเดิม และให้การใหม่เป็นรับสารภาพตามฟ้องได้หรือไม่
                คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๙๔/๒๕๔๙ จำเลย ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้อง แต่หากศาลเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดก็ขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุก ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยยื่นคำร้องขอถอนข้อต่อสู้เดิมตามฎีกาที่ให้การปฏิเสธ และให้การใหม่เป็นรับสารภาพตามฟ้อง คำร้องของจำเลยเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๖๓ วรรคสองที่บัญญัติไว้กระทำได้ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา ส่วนที่จำเลยขอแก้ไขฎีกาที่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งพิพากษาว่าจำเลย กระทำความผิดตามฟ้องนั้น เป็นการขอแก้ไขฎีกาโดยมิได้เพิ่มเติมประเด็นใหม่ แต่เป็นการสละข้อต่อสู้ในชั้นฎีกา ไม่ใช่การคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ตกอยู่ในจำกัดเวลาฎีกาตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๑๖ วรรคหนึ่ง จำเลยจึงยื่นคำร้องขอแก้ไขฎีกาได้แม้พ้นกำหนดเวลา ๑ เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
                คำถาม คำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวนระบุว่า ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ดังนี้ ศาลจะอนุญาตให้ฝากขังได้หรือไม่
                คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๔๘๔/๒๕๔๙ .วิ.. มาตรา ๘๗ วรรคสี่ (ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุ) บัญญัติว่า ถ้าเกิดความจำเป็นที่จะควบคุมผู้ถูกจับไว้เกินกว่ากำหนดเวลาในวรรคก่อน เพื่อให้การสอบสวนเสร็จสิ้นให้ส่งผู้ต้องหามาศาล ให้พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องต่อศาลขอหมายขังผู้ต้องหานั้น ไว้ฯลฯและ มาตรา ๘๗ วรรคหก บัญญัติว่า ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินกว่าหกเดือนแต่ไม่ถึงสิบปี หรือปรับเกินกว่าห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขังหลายครั้งติดๆ กันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกินสิบสองวันและรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกินสี่สิบแปดวัน ซึ่งเป็นการให้อำนาจต่อศาลในการพิจารณาคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวนว่ามี เหตุอันสมควรอนุญาตให้ฝากขังหรือไม่ และผู้พิพากษาศาลจังหวัดสุโขทัยได้ไต่สวนแล้ว เห็นว่ามีเหตุที่จะอนุญาตให้พนักงานสอบสวนฝากขังโจทก์ไว้ตามคำร้อง จึงมีคำสั่งอนุญาตตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ แม้ตามคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวนดังกล่าวระบุว่าผู้ต้องหาให้การรับ สารภาพตลอดข้อกล่าวหาตามที่โจทก์อ้างก็ตาม แต่ก็ไม่มีมาตราใดใน ป.วิ.. ที่บังคับว่า ถ้าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพแล้ว ศาลต้องไม่อนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาไว้ ดังนั้น การที่ผู้พิพากษาศาลจังหวัดสุโขทัยอนุญาตให้ฝากขังโจทก์จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบแล้ว
                ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลไม่มีหน้าที่ตรวจสอบการใช้ดุลพินิจสั่งคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวของผู้พิพากษาในศาล
                คำถาม คำ ฟ้องคดีอาญา ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง หากความปรากฏในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ศาลจะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องได้หรือไม่
                คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๓๙๕/๒๕๔๔ คดีอาญาที่โจทก์มิได้ลงลายมือชื่อไว้ในฟ้องเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.. มาตรา ๑๕๘ (๗) แต่การที่ศาลฎีกาจะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตามมาตรา ๑๖๑ วรรคหนึ่ง ก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้ เพราะศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จสิ้นแล้ว ศาลฎีกาไม่อาจพิจารณาฟ้องของโจทก์ได้ จึงต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลย
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๖๔/๒๕๔๖ ฟ้องโจทก์ปรากฏแต่ลายมือชื่อผู้เรียงและผู้พิมพ์ฟ้องเท่านั้น ไม่ปรากฏลายมือชื่อโจทก์ จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.. มาตรา ๑๕๘ (๗), และการที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๖๑ วรรคหนึ่งนั้น ก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้เพราะศาลชั้นต้นได้สั่งประทับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จสิ้นจนคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค ๑ แล้ว ศาล อุทธรณ์ภาค ๑ ย่อมไม่มีวิธีปฏิบัติเป็นประการอื่นนอกจากพิพากษายกฟ้องโจทก์ และมาตรา ๑๖๑ ก็หาได้เป็นบทบัญญัติซึ่งมิได้กำหนดระยะเวลาให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไข ฟ้องให้ถูกต้องเสียเมื่อใดก็ได้ก่อนคดีถึงที่สุดไม่ ทั้งปัญหาว่าฟ้องโจทก์ที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายหรือ ไม่นั้น เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นโต้แย้งคัดค้านศาลอุทธรณ์ภาค ๑ ก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างและวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๙๕ วรรคสอง
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๒๙๐/๒๕๔๙ ตามฟ้องของโจทก์ปรากฏว่าไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้เรียงและพิมพ์ จึงถือว่าไม่เป็นฟ้องตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๕๙ (๗) แต่การที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๖๑ วรรคหนึ่ง นั้น ก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้ เพราะศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไปจนเสร็จสิ้นแล้ว ศาล ฎีกาจึงต้องยกฟ้องโดยไม่จำต้องพิจารณาปัญหาอื่นอีก และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยคดีได้ตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๙๕ วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา ๒๑๕, ๒๒๕และ พ... จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา ๔
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๙๑๘/๒๕๔๙ ตามฟ้องโจทก์ปรากฏแต่เพียงลายมือชื่อผู้พิมพ์และผู้เรียบเท่านั้น ไม่ปรากฏลายมือชื่อโจทก์ จึงถือเป็นฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.. มาตรา ๑๕๘ (๗) หากศาลชั้นต้นตรวจพบข้อผิดพลาดดังกล่าวก็จะใช้อำนาจตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๖๑ สั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือยกฟ้อง หรือไม่ประทับฟ้องได้ แต่ถ้าศาลชั้นต้นสั่งประทับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาจนคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ภาค ๙ แล้ว การที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๖๑ วรรคหนึ่ง ย่อมล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้เพราะศาลชั้นต้นได้สั่งประทับฟ้องและดำเนิน กระบวนพิจารณาจนเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งกรณีดังกล่าวไม่เข้าเหตุตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๐๘ (๒) ที่จะสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลอุทธรณ์ภาค ๙ ย่อมไม่มีวิธีปฏิบัติเป็นอย่างอื่นนอกจากต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๔๕๐/๒๕๕๓ คำ ขอท้ายฟ้องโจทก์เป็นเอกสารที่ถ่ายสำเนา จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียงและผู้พิมพ์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕๘ (๗) หากศาลชั้นต้นตรวจพบข้อผิดพลาดดังกล่าวก็ใช้อำนาจตาม มาตรา ๑๖๑ สั่งให้โจทก์แก้ไขฟ้องให้ถูกต้อง หรือยกฟ้องหรือไม่ประทับฟ้องได้ แต่ถ้าศาลชั้นต้นสั่งประทับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาจนคดีขึ้นมาสู่ศาล อุทธรณ์ภาค ๗ แล้ว การที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตามมาตรา ๑๖๑ วรรคหนึ่ง ย่อมล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค ๗ พิจารณาพิพากษาคดีตามฟ้องโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ
                คำถาม ผู้ เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ร้องทุกข์ในความผิดฐานกระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่า สิบห้าปีโดยใช้กำลังประทุษร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๗๘ โดยบิดา มารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรมมิได้ลงลายมือชื่อหรือให้ความยินยอมในการร้อง ทุกข์ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
                คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๙๑๕/๒๕๕๑ ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒ (๗) และมาตรา ๑๒๓ มิได้บัญญัติว่า การร้องทุกข์ของผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากบิดา มารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรมหรือบุคคลดังกล่าวต้องลงลายมือชื่อในการร้องทุกข์ ของผู้เยาว์ด้วย ดังนั้น ผู้เยาว์จึงมีอำนาจร้องทุกข์ด้วยตนเองได้ การที่ผู้เสียหายที่ ๒ ร้องทุกข์ในความผิดฐานกระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่าสิบห้าปีโดยใช้กำลังประทุษร้ายจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
                คำถาม พนักงาน อัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จำเลยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร ซึ่งออกให้แก่ผู้เสียหายที่จำเลยลักไปเบิกถอนเงินสดไปจากวงเงินบัตรเครดิต ของผู้เสียหาย จะมีคำขอให้คืนเงินแก่ผู้เสียหายได้หรือไม่
                คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๒/๒๕๕๓ พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องว่า จำเลยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารซึ่งได้ออกให้แก่ ส. ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งที่จำเลยได้ลักไปเพื่อใช้ประโยชน์ในการเบิกถอนเงินสด ถอนเงินสดจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ไปจากวงเงินเครดิตของผู้เสียหายโดยมิชอบก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และธนาคาร ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๕, ๓๓๖ ทวิ,๒๖๙/๕, ๒๖๙/๗, ๙๑ และให้จำเลยคืนเงินจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท แก่ผู้เสียหาย ย่อมแปลคำฟ้องของโจทก์ได้ว่า โจทก์มุ่งประสงค์ที่จะให้ลงโทษจำเลยฐานลักเงินของผู้เสียหายอยู่ด้วย เพียง แต่วิธีการลักเงินดังกล่าวได้ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์เบิกถอนเงินสดผ่าน เครื่องฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ จึงเป็นความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์และความผิดฐานลักทรัพย์ ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔๓ บัญญัติให้พนักงานอัยการมีอำนาจขอให้เรียกทรัพย์สินหรือใช้ราคาทรัพย์แทนผู้ เสียหาย โจทก์จึงมีอำนาจขอให้จำเลยคืนเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท แก่ผู้เสียหายได้
                                                                                                                  นายประเสริฐ       เสียงสุทธิวงศ์
                                                                                                                                    บรรณาธิการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น