วิชา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม , พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ,พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 สามารถค้นหาคำพิพากษาฎีกาภายใน 1o ปี หลังสุดได้แล้วครับ จะเร่งเพิ่มวิชาต่อไปให้เสร็จตามมาเรื่อยๆครับ

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา
www.lawbooks-by-mrt.blogspot.com

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

บทบรรณาธิการ ภาค2 สมัย64 เล่ม16

                หนังสือรวมคำบรรยายเล่มนี้เป็นเล่มสุดท้ายของภาคสอง สมัยที่ ๖๔ ซึ่งแสดงว่าใกล้จะถงวันสอบแล้ว ขอให้นักศึกษาทุกคนเตรียมตัวสอบให้พร้อม ศึกษาจากคำอธิบายของอาจารย์แต่ละท่าน อย่าคาดเดาหรือเก็งข้อสอบ ซึ่งมิใช่วิธีที่ถูกต้อง
                คำถาม ผู้ร่วมกระทำความผิดถูกแยกฟ้องเป็นหลายคดี หรือถูกฟ้องเป็นคดีเดียวกัน แต่ต่อมามีการแยกฟ้องเป็นคดีใหม่ หากจำเลยในสำนวนคดีหนึ่งอุทธรณ์หรือฎีกา ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาจะยกเหตุในส่วนลักษณะคดีพิพากษาไปถึงจำเลยในอีกส่วนหนึ่งตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๑๓ ได้หรือไม่
                คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
                . กรณีที่มิได้มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๒๗๙/๒๕๔๘ ตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๑๓ เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาในคดีนี้จะพิพากษาลดโทษหรือลดโทษหรือรอการลงโทษจำเลยคนหนึ่งซึ่งอุทธรณ์หรือฎีกาแต่เพียงผู้เดียว ใช้อำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้อุทธรณ์หรือฎีกาให้ได้รับโทษเช่นเดียวกับจำเลยผู้อุทธรณ์หรือฎีกา แต่การที่ผู้ร่วมกระทำผิดถูกแยกฟ้องเป็นหลายคดี ซึ่งศาลจะลงโทษจำเลยคนใดที่ร่วมกระทำความผิดเพียงใด เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำเลยแต่ละคนเป็นการเฉพาะตัวเป็นรายๆ ไปเฉพาะคดีนั้น พยานหลักฐานที่จะใช้วินิจฉัยความผิดประกอบดุลพินิจในการลงโทษของช. แตกต่างไปจากจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นเหตุลักษณะคดี
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๐๐๓-๓๐๐๔/๒๕๔๓บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.. มาตรา ๒๑๓ ต้องเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาในคดีนี้จะพิพากษายกฟ้องจำเลยคนหนึ่งซึ่งอุทธรณ์หรือฎีกาเพียงผู้เดียวใช้อำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยอื่นที่ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกามิให้ต้องถูกรับโทษเช่นเดียวกับจำเลยผู้อุทธรณ์หรือฎีกา แต่การที่ผู้ร่วมกระทำผิดถูกแยกฟ้องเป็นหลายคดี การที่พยานหลักฐานโจทก์เพียงพอจะรับฟังลงโทษจะเลยคนใดที่ร่วมกระทำผิดได้หรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำเลยแต่ละคนเป็นการเฉพาะตัวเป็นรายๆ ไปเฉพาะคดีนั้นๆ ซึ่งพยานหลักฐานของโจทก์อาจพาดพิงถึงจำเลยแต่ละคดีมากน้อยต่างกันได้ คดีที่พยานโจทก์มีน้ำนหักเพียงพอก็ลงโทษไป คดีที่พยานโจทก์มีน้ำหนักเบาบางก็ต้องยกฟ้องตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากทางนำสืบเป็นรายคดี
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๔๐/๒๕๑๖ โจทก์ฟ้องจำเลยกับ ต. ว่า ร่วมกันกระทำความผิด ต. รับสารภาพ ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยที่ปฏิเสธเป็นคดีใหม่และพิพากษาลงโทษ ต. ไปในคดีเดิม ในคดีใหม่นี้ ต. มิได้เป็นจำเลย ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจยกเหตุซึ่งอยู่ในส่วนลักษณะคดีมาพิพากษาตลอดไปถึง ต. ด้วย
                . กรณีที่ศาลรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๙/๒๕๒๕ คดีที่มีจำเลยหลายคนซึ่งศาลรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันแม้จำเลยสำนวนคดีหนึ่งฎีกา แต่จำเลยอีกหนึ่งสำนวนคดีหนึ่งไม่ได้ฎีกาขึ้นมาก็ตาม เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองสำนวนคดีกระทำผิดฐานฆ่าผู้อื่นถือว่าเป็นเหตุในลักษณะคดีศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยสำนวนคดีที่ไม่ได้ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๑๓ ประกอบด้วยมาตรา ๒๒๕
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๔๑-๖๔๔/๒๕๑๐ โจทก์ฟ้องคดีสี่สำนวนซึ่งศาลชั้นต้นสั่งรวมพิจารณาพิพากษาโดยขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๗๔ วรรคสอง แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา ๑๗๔ วรรคสอง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้บทลงโทษให้ถูกต้องโดยไม่เพิ่มกำหนดให้สูงขึ้นอีกก็ได้ และถือว่าเป็นเหตุอยู่ในลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ด้วย
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๕๗/๒๕๒๙ โจทก์แยกฟ้องจำเลย ว. และ ท. มาเป็นสามสำนวนข้อหาร่วมกันพยายามปล้นทรัพย์ ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาและพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสามสำนวน โจทก์ทั้งสามสำนวนอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ลงโทษจำเลยและ ว. ตามฟ้องส่วน ท. คดียังเป็นที่สงสัยให้ยกฟ้องยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยผู้เดียวฎีกา ดังนี้เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังว่าจำเลยพยานปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย ย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึง ว. ซึ่งมิได้ฎีกาได้ เพราะเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๑๓ ประกอบมาตรา ๒๒๕
                คำถาม การฟ้องร้องดำเนินคดีในลักษณะสมยอมกัน เพื่อต้องการตัดสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีของพนักงานอัยการ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปหรือไม่
                คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๔๔๖/๒๕๔๗ เหตุคดีนี้เกิดเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๑ เวลากลางคืนก่อนเที่ยง นางเพชร ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นมารดาของนายไกรธวัช ผู้ตาย ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ให้ดำเนินคดีแก่จำเลย ภายหลังเกิดเหตุจำเลยได้หลบหนีการจับกุม พนักงานสอบสวนได้ออกหมายจับไว้ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๓ นางเพชรผู้เสียหายได้ฟ้องจำเลยในข้อหาฆ่าผู้อื่นต่อศาลชั้นต้นด้วยตนเองโดยมิได้ประสานงานให้พนักงานอัยการโจทก์ทราบในการดำเนินคดี นางเพชรซึ่งเป็นโจทก์ได้นำพยานเข้าสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเพียง ๒ ปาก คือ นางเพชรเอง ซึ่งมิได้รู้เห็นในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และนายศรีเมือง ผู้ซึ่งอ้างว่ารู้เห็นเหตุการณ์คดีนี้โดยเห็นคนร้ายเป็นชาย ทางด้านหลังและด้านข้างใช้อาวุธปืนยิงนายไกรธวัชผู้ตายและยืนยันด้วยว่ามิใช่จำเลยนี้ ในที่สุดศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้ยกฟ้องเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๓ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๓ พ้นกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว โดยนางเพชรก็มิได้ยื่นอุทธรณ์ จำเลยได้เข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองศรีสะเกษและให้การปฏิเสธ นอกจากนี้จำเลยยังยื่นคำร้องต่อโจทก์เพื่อขอความเป็นธรรมว่า ผู้เสียหายได้ฟ้องจำเลยในข้อหาว่าฆ่าผู้อื่นโดยเจตนามาแล้ว ชั้นที่สุดศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดอันทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙ (๔) คดีจึงมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปแล้วหรือไม่ เห็นว่า หลักการของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙ (๔) ที่บัญญัติให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง อันเป็นหลักการห้ามกำเนินคดีซ้ำสองแก่จำเลยนั้น จะต้องปรากฏว่าคดีก่อนเป็นกรณีที่จำเลยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างแท้จริง หากปรากฏว่าคดีก่อนเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมยอมกัน แม้ว่าจะเป็นการกระทำกรรมเดียวกันก็ถือไม่ได้ว่าการกระทำกรรมนั้นจำเลยเคยถูกฟ้องและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดอันจะมีผลทำให้สิทธินำคดีมาฟ้องในความผิดกรรมนั้นระงับไปไม่ คดีนี้ข้อเท็จจริงได้ความว่าคดีก่อนคือคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ๓๒๓๙/๒๕๔๓ ของศาลชั้นต้น ซึ่งนางเพชรเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นกรรมเดียวกันกับคดีนี้มีพฤติการณ์บ่งชี้ว่านางเพชรโจทก์ในคดีนั้นจะดำเนินคดีโดยสมยอมโดยไม่สุจริต เนื่องจากขณะเกิดเหตุมีผู้พบเห็นจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจนได้มีการระบุชื่อจำเลยเป็นผู้ทำให้ตายไว้ในรายงานการชันสูตรพลิกศพท้ายฟ้อง หลังเกิดเหตุนางเพชรผู้เสียหายซึ่งเป็นมารดาของผู้ตายได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสววนและได้มีการออกหมายจับจำเลยไว้ แต่จำเลยหลบหนีการจับกุม คดีอยู่ระหว่างการดำเนินการของเจ้าพนักงานตำรวจ นางเพชรผู้เสียหายได้ฟ้องจำเลยในข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ๓๒๓๙/๒๕๔๓ ของศาลชั้นต้น และยังปรากฏด้วยว่าในการดำเนินคดีดังกล่าว ทนายโจทก์เพียงแค่นำนางเพชรมารดาผู้เสียหายซึ่งไม่เห็นเหตุการณ์ในขณะเกิดเหตุและนายศรีเมือง ผู้ซึ่งอ้างว่าเห็นเหตุการณ์แต่กลับเบิกความเป็นปฏิปักษ์ต่อคดีเข้าเบิกความต่อศาลในชั้นไต่สวนมูลฟ้องอันเป็นเหตุให้ศาลพิพากษายกฟ้องคดีนั้นเพราะว่าคดีไม่มีมูล และนางเพชรโจทก์คดีนั้นก็ไม่ยื่นอุทธรณ์เช่นนี้ ย่อมส่อแสดงว่าคดีก่อนนางเพชรผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ในคดีนั้นได้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยในลักษณะสมยอมกัน เป็นการดำเนินคดีโดยไม่สุจริตเพื่อหวังผลเพียงต้องการตัดสิทธิพนักงานอัยการโจทก์คดีนี้มิให้มีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยซ้ำสองได้อีกเท่านั้น ย่อมถือไม่ได้ว่าคดีก่อนได้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยอย่างแท้จริง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้หาได้ระงับไปไม่ ดังนั้น พนักงานอัยการโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๓๓๔/๒๕๓๘ หลักการของ ป.วิ.. มาตรา ๓๙ (๔) ที่บัญญัติให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องอันเป็นหลักการห้ามดำเนินคดีซ้ำสองแก่จำเลยนั้น จะต้องปรากฏว่าคดีก่อนเป็นกรณีที่จำเลยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างแท้จริง หากปรากฏว่าคดีก่อนเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมยอมกัน แม้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน ก็ถือไม่ได้ว่าการกระทำกรรมนั้นจำเลยเคยถูกฟ้องและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดอันจะมีผลทำให้สิทธินำคดีมาฟ้องในความผิดกรรมนั้นระงับไปไม่
                คดีนี้โจทก์ได้อุทธรณ์ว่า คดีก่อนคือคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ๕๔๘/๒๕๓๗ ของศาลชั้นต้น ซึ่งเด็กหญิง ส. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดกรรมเดียวกันกับคดีนี้ มีพฤติการณ์ว่าโจทก์ในคดีนั้นจะดำเนินคดีโดยสมยอมโดยไม่สุจริต เพราะขณะเกิดเหตุที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์ชนเด็กชาย ว. ผู้เสียหายคดีนี้ เด็กหญิง ส. โจทก์คดีก่อนนั้นเป็นคนนั่งซ้อนท้ายมากับรถจักรยานยนต์ของจำเลย เมื่อเกิดเหตุแล้วทนายโจทก์คดีนั้นก็ได้รีบยื่นฟ้องจำเลย อีกทั้งเด็กหญิง ส. โจทก์คดีนั้นและจำเลยต่างก็เป็นลูกจ้างของทนายจำเลยคดีนี้ด้วยกัน นอกจากนี้ยังปรากฏด้วยว่า ทนายโจทก์คดีก่อนนั้นก็เป็นบุตรของทนายจำเลยคดีนี้ และอาศัยอยู่ด้วยกันด้วย และในการดำเนินคดีก่อนทนายโจทก์เพียงแต่นำนาง ส. มารดาเด็กหญิงส. ซึ่งไม่รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะเกิดเหตุมาเบิกความต่อศาลในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเพียงปากเดียว เป็นเหตุให้ศาลพิพากษายกฟ้องคดีนั้นเพราะเห็นว่าคดีไม่มีมูล ข้ออ้างตามอุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้ หากฟังได้ว่าเป็นความจริงย่อมส่อแสดงว่าคดีก่อนโจทก์ในคดีนั้นได้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยในลักษณะสมยอมกัน เป็นการดำเนินคดีโดยไม่สุจริตเพื่อหวังผลเพียงต้องการตัดสิทธิผู้เสียหายและพนักงานอัยการโจทก์คดีนี้มิให้มีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยซ้ำสองได้อีกเท่านั้น ย่อมถือไม่ได้ว่าคดีก่อนได้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยอย่างแท้จริง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้หาได้ระงับไปไม่ ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ เพียงแต่ฟังข้อเท็จจริงว่าความผิดตาม ป.. มาตรา ๓๐๐ กรรมเดียวกันนี้ จำเลยเคยถูกโจทก์คดีก่อนฟ้องร้องและดำเนินคดีมาแล้วก็ด่วนวินิจฉัยว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์คดีนี้สำหรับการกระทำกรรมดังกล่าวนั้นระงับไป เพราะมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว โดยไม่สั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนให้ได้ความจริงเสียก่อนว่าคดีก่อนนั้นเป็นการดำเนินคดีในลักษณะสมยอมกันจริงดังที่โจทก์กล่าวอ้างในอุทธรณ์หรือไม่ ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา สมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิจารณาพิพากษาในข้อหาความผิดตาม ป.. มาตรา ๓๐๐ ใหม่
                ขอให้นักศึกษาทุกคนประสบความสำเร็จสอบได้เป็นเนติบัณฑิต

                                                                                                                            นายประเสริฐ       เสียงสุทธิวงศ์
                                                                                                                                             บรรณาธิการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น