วิชา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม , พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ,พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 สามารถค้นหาคำพิพากษาฎีกาภายใน 1o ปี หลังสุดได้แล้วครับ จะเร่งเพิ่มวิชาต่อไปให้เสร็จตามมาเรื่อยๆครับ

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา
www.lawbooks-by-mrt.blogspot.com

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทบรรณาธิการ ภาค 1 สมัย 65 เล่ม 10


                คำถาม  ก่อสร้างตอม่อ  ทำคานปูนและปักเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งเป็นฐานรากของโรงเรือนซึ่งเป็นสิ่งที่ฝังอยู่ใต้ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น  จะอ้างว่าได้ภาระจำยอมโดยอายุความได้หรือไม่
                คำตอบ  มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
                คำพิพากษาฎีกาที่  ๕๒๓๘/๒๕๔๖  ข้อเท็จจริงเชื่อได้ว่าจำเลยทั้งสองสร้างฐานรากของโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริตตามฟ้องจริง
                ปัญหาข้อต่อมาที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า  จำเลยทั้งสองได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดินส่วนที่รุกล้ำดังกล่าวโดยอายุความนั้น  เห็นว่า  การที่จำเลยทั้งสองสร้างฐานรากของโรงเรือนซึ่งเป็นส่วนที่ฝังอยู่ใต้ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยมีเจตนาเพื่อซ่อนเร้นปกปิดการกระทำที่ไม่ชอบของตน  จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทั้งสองครอบครองที่ดินส่วนที่รุกล้ำของโจทก์โดยเปิดเผยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  ๑๓๘๒  ประกอบมาตรา  ๑๔๐๑  ดังนั้น  แม้จะมีการครอบครองมานานเท่าใด  จำเลยทั้งสองก็ไม่ได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าว
                คำถาม  ผู้กู้นำโฉนดที่ดินมอบให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้  ผู้ให้กู้จะมีสิทธิยึดโฉนดที่ดินหรือไม่  และหากผู้ให้กู้คืนโฉนดที่ดินแก่ผู้กู้ไป  จะเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดหรือไม่
                คำตอบ  มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
๑.       คำพิพากษาฎีกาที่  ๑๘๙๔/๒๕๔๖  คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องว่า  ผู้ร้องมีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินฉบับพิพาทหรือไม่  เห็นว่า  ผู้ร้องเป็นผู้ครอบครองโฉนดที่ดินก็โดยจำเลยผู้เป็นลูกหนี้เงินกู้มอบให้ยึดถือเป็นประกันเงินกู้ตามหนังสือสัญญากู้เงินเอกสารท้ายคำร้อง  ผู้ร้องจึงมีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินไว้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้คืนโดยอาศัย  ข้อตกลงในหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวนั้นเอง  แต่สิทธิยึดถือโฉนดที่ดินดังกล่าวเป็นเพียงบุคคลสิทธิบังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญาไม่สามารถใช้ยันแก่บุคคลอื่นได้  ส่วนสิทธิยึดหน่วงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  ๒๔๑  หมายถึง  การที่ผู้ครอบครองได้ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นและมีหนี้อันเป็นคุณแก่ผู้ครอบครองเกี่ยวด้วยทรัพย์สินที่ครอบครองนั้น  หนี้ที่ผู้ร้องมีเป็นเพียงหนี้เงินกู้ที่ผู้ร้องจะได้รับชำระหนี้คืนเท่านั้นหาได้เป็นคุณแก่ผู้ร้องเกี่ยวด้วยที่ดินโฉนดดังกล่าวไม่  เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการบังคับคดีแก่ที่ดินดังกล่าว  ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินฉบับพิพาท
๒.     คำพิพากษาฎีกาที่  ๒๗๑๘/๒๕๑๕  ในประเด็นที่ว่า  การที่โจทก์ได้คืนโฉนดให้จำเลยที่    ไปนั้น  จำเลยที่    ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดหรือไม่  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า  สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  ๖๙๗  นั้น  ต้องเป็นสิทธิที่ให้อำนาจแก่เจ้าหนี้เหนือทรัพย์สินของลูกหนี้  เช่น  การจำนอง  จำนำ  หรือบุริมสิทธิ  โฉนดเป็นเพียงเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์  จำเลยที่    มอบโฉนดให้โจทก์ยึดถือไว้ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิใดๆ  ในตัวทรัพย์  คือที่ดินตามโฉนด  การที่โจทก์คืนโฉนดให้จำเลยที่    ไป  จึงไม่เป็นเหตุทำให้จำเลยที่    ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิดไปได้ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่  ๖๓๑/๒๔๗๔
๓.      เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้เงินโดยลูกหนี้มอบโฉนดให้ยึดไว้เป้นประกันนั้น  ไม่มีสิทธิยึดหน่วงตาม  ...  มาตรา  ๒๔๑  จึงไม่ใช่เจ้าหนี้มีประกันตาม  ...  ล้มละลายฯ  มาตรา    เมื่อลูกหนี้ต้องคำพิพากษาให้ล้มละลาย  เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้เกิน    เดือนไม่ได้  ตาม  ...  ล้มละลาย  มาตรา  ๙๑  (ฎีกาที่  ๕๔๕/๒๕๐๔)
๔.      ข้อตกลงที่ผู้ค้ำประกันยอมให้เจ้าหนี้ยึดถือโฉนดไว้จนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ครบถ้วนนั้น  ไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ  กรณีเช่นนี้ไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาจำนอง  เพราะเจ้าหนี้มิได้มีสิทธิพิเศษในที่ดินอันเป็นตัวทรัพย์นั้น  (ฎีกาที่  ๕๐๕/๒๕๐๗)  เพียงเอาโฉนดที่ดินมาให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้ตามสัญญากู้  มิใช่หนี้ที่มีประกันตามกฎหมาย   (ฎีกาที่  ๑๖๑๒/๒๕๑๒) 
๕.     จำเลยให้โจทก์กู้เงินยึดโฉนดไว้เป็นประกัน  หนี้ขาดอายุความ  โจทก์เรียกโฉนดคืนได้  มิใช่จำนำที่จะบังคับตามมาตรา  ๑๘๙  (ฎีกาที่  ๒๒๙/๒๕๒๒  ประชุมใหญ่)
๖.       กู้เงินมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดไว้  เมื่อลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ก็เรียกโฉนดคืนไม่ได้  (ฎีกาที่  ๔๑๖/๒๕๒๐)
โจทก์ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำเลย  โดยจำเลยยึดถือโฉนดรายพิพาทกับใบมอบอำนาจที่โจทก์ให้ไว้ยังมิได้นำไปจดทะเบียนจำนองเป็นหลักประกันตามที่ตกลงกัน  เมื่อโจทก์ยังเป็นหนี้จำเลยมากกว่าที่โจทก์เสนอจะชำระให้แก่จำเลย  จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับชำระหนี้  และ  ยึดถือโฉนดไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นได้  (ฎีกาที่  ๙๔๒/๒๕๒๗)
                คำถาม  กรณีลูกหนี้ทำสัญญาจะขายทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว  กลับเอาทรัพย์นั้นไปโอนขายแก่ผู้อื่น  ผู้ซื้อรายแรกจะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อรายหลังได้หรือไม่
                คำพิพากษาฎีกาที่  ๑๓๙๒/๒๕๔๕  ก่อนที่จำเลยที่    จะทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่    จำเลยที่    ทราบว่าโจทก์กับจำเลยที่    ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทต่อกันไว้ก่อนแล้วการที่จำเลยที่    ทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจากจำเลยที่    จึงเป็นการทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่    เสียเปรียบ  ถือว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำการฉ้อฉลโจทก์  โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองได้  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  ๒๓๗
                คำพิพากษาฎีกาที่  ๔๓๘๔/๒๕๔๐  บทบัญญัติว่าด้วยการเพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  ๒๓๗  มิได้บัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิในทรัพยสิทธิเท่านั้นที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนได้  เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิในบุคคลสิทธิย่อมร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใดๆ  อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้ด้วย  และเมื่อวัตถุแห่งหนี้คือบ้านพร้อมที่ดินอันเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งซึ่งมีลักษณะเฉพาะไม่อาจใช้ทรัพย์อื่นมาโอนแทนได้  แม้ลูกหนี้จะมีทรัพย์สินอื่นพอที่จะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้  ก็ยังทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบที่จะร้องขอให้เพิกถอนได้
                คดีเรื่องนี้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าศาลฎีกาเห็นว่า  จำเลยที่    เป็นน้องภรรยาของจำเลยที่    เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการในนามของจำเลยที่    จึงน่าเชื่อว่าจำเลยที่    ซื้อบ้านพร้อมที่ดินพิพาทโดยรู้อยู่ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์ดังกล่าวกับจำเลยที่    ก่อนแล้ว  โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายและการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินโฉนดเลขที่  ๒๒๖๐๖๓  เพื่อจดทะเบียนโอนให้โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  ๒๓๗
                ที่จำเลยที่    และที่    ฎีกาว่า  สัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่    เป็นเพียงบุคคลสิทธิ  หาใช่ทรัพยสิทธิ  โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมระหว่างจำเลยที่    กับที่    ไม่ได้นั้น  เห็นว่า  บทบัญญัติว่าด้วยการเพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  ๒๓๗  มิได้บัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิในทรัพยสิทธิเท่านั้นที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใดๆ  อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ  ดังนี้เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิในบุคคลสิทธิย่อมร้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใดๆ  อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้ด้วย  ฎีกาข้อนี้ของจำเลยที่    และที่    ฟังไม่ขึ้น
                ที่จำเลยที่    และที่    ฎีกาว่า  การเพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  ๒๓๗  จะต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดพอที่จะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้  แต่จำเลยที่    มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ได้  ย่อมไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบนั้น  เห็นว่าวัตถุแห่งหนี้ในคดีนี้คือบ้านพร้อมที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง  ซึ่งมีลักษณะเฉพาะไม่อาจใช้ทรัพย์อื่นมาโอนแทนได้  ดังนี้แม้จำเลยที่    จะมีทรัพย์สินอื่นพอที่จะชำระหนี้แก้โจทก์ได้  ก็ยังทำให้โจทก์เสียเปรียบ  ฎีกาข้อนี้ของจำเลยที่    และที่    ฟังไม่ขึ้น
                คำถาม  การปลอมเอกสารต้องมีเอกสารที่แท้จริงอยู่ก่อนและต้องทำให้เหมือนของจริงหรือไม่
                คำตอบ  มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
                คำพิพากษาฎีกาที่  ๑๘๙๕/๒๕๔๖  จำเลยที่    กับพวกร่วมกันทำปลอมหนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์  ฉบับลงวันที่  ๒๖  สิงหาคม  ๒๕๔๑  ระหว่างนายยืนยง  ผู้ขาย  กับนายเตือนใจ  ผู้ซื้อโดยจำเลยที่    กับพวกร่วมกันหลอกลวงนางเตือนใจว่า  จำเลยที่    เป็นบุคคลคนเดียวกับนายยืนยงซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกเลขทะเบียน  ภ – ๗๘๗๔  นครราชสีมา  และตกลงขายรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่นางเตือนใจ  ซึ่งความจริงแล้ว  จำเลยที่    กับนายยืนยงเป็นบุคคลคนละคนกัน
                เห็นว่า  การปลอมเอกสารไม่จำต้องมีเอกสารที่แท้จริงอยู่ก่อน  และไม่ต้องทำให้เหมือนของจริงก็เป็นเอกสารปลอมได้  จำเลยที่    กับพวกหลอกลวงนางเตือนใจว่า  จำเลยที่    คือ  นายยืนยงเจ้าของรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าว  และทำสัญญาซื้อขายรถยนต์คันนั้น  โดยพวกของจำเลยที่    ลงลายมือชื่อนายยืนยง  ในช่องผู้ขายในสัญญาดังกล่าวมอบให้นางเตือนใจยึดถือไว้การกระทำของจำเลยที่    กับพวกมีเจตนาทุจริตเพื่อให้ได้เงินจากนางเตือนใจ  และไม่ให้นางเตือนใจใช้สัญญาซื้อขายรถยนต์นั้นเป็นหลักฐานฟ้องเรียกเงินคืน  ทำให้นางเตือนใจได้รับความเสียหาย  จำเลยที่    กับพวก  จึงมีความผิดฐานร่วมกันปลอมหนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์อันเป็นเอกสารสิทธิ  เมื่อจำเลยที่    กับพวกได้มอบหนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์นั้นให้นางเตือนใจยึดถือไว้  จำเลยที่    กับพวกจึงมีความผิดฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอมอีกกระทงหนึ่ง  รวมทั้งมีความผิดฐานฉ้อโกงด้วย
                                                                                                           นายประเสริฐ       เสียงสุทธิวงศ์
                                                                                                                              บรรณาธิการ                                                                                                                                                                                                                   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น