คำถาม การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์นั้น
จะนับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ระหว่างเป็นที่ดินมือเปล่าก่อนที่ดินออกโฉนด
รวมเข้ากับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ภายหลังที่ดินที่โจทก์แล้วได้หรือไม่
คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 2270/2554 การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้อื่นโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
จะต้องเป็นการครอบครองที่ดินที่ผู้อื่นมีกรรมสิทธิ์และครอบครองโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ผู้ร้องจะนับระยะเวลาการครอบครองในระหว่างเป็นที่ดินมือเปล่าก่อนที่ดินพิพาทออกโฉนดรวมเข้ากับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ภายหลังที่ดินมีโฉนดแล้วหาได้ไม่ ขณะที่มีการออกโฉนดที่ดินในที่ดินพิพาทปี 2529 ผู้ร้องไม่ได้คัดค้านอย่างใด ต่อมาปี
2533ผู้ร้องเข้าไปตักดินในที่ดินพิพาทผู้คัดค้านห้ามแล้วไม่หยุด ผู้คัดค้านจึงนำโฉนดที่ดินไปแจ้งความที่สถานีตำรวจว่าผู้ร้องบุกรุก
ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าผู้ร้องเข้าครอบครองที่ดินพิพาทและแสดงออกว่ามีเจตนาเป็นเจ้าของเมื่อปี 2533 เมื่อนับระยะเวลาจนถึงผู้ร้องยื่นคำร้องขอคดีนี้เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม
2541 ยังไม่ครบ 10 ปี
ผู้ร้องจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง
คำพิพากษาฎีกาที่ 677/2550 การครอบครองปรปักษ์ที่ดินของผู้อื่นจนได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
นั้น
อสังหาริมทรัพย์ที่จะถูกครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์จะต้องเป็นของบุคคลอื่น
ซึ่งก็คือบุคคลนั้นจะต้องมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั่นเอง
หลักฐานที่แสดงว่าผู้ใดเป็นเจ้าของหรือมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์นั้นคือโฉนดที่ดินเพราะเป็นหลักฐานทางทะเบียนของทางราชการ ดังนั้น
การครอบครองที่ดินของผู้อื่นอันจะเป็นเหตุให้ผู้ครอบครองได้กรรมสิทธิ์นั้นจะต้องเป็นการครอบครองที่ดินของผู้อื่นที่ได้ออกโฉนดแล้วเท่านั้น ทั้งจะต้องครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปีด้วย
เมื่อทางราชการเพิ่งออกโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งห้าเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม
2539
เช่นนี้
การนับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม
2539 เป็นต้นไปเท่านั้น ระยะเวลาที่ครอบครองก่อนที่ดินพิพาทออกโฉนดไม่อาจนำมารับรวมกันได้ เมื่อคิดถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน
2540
ซึ่งเป็นวันที่จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองจึงยังไม่ถึงสิบปี
จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ.
มาตรา 1382
คำถาม ผู้สั่งจ่ายเช็คแก้ไขวันเดือนปีในเช็คโดยผู้ทรงยินยอมจะถือว่าเป็นการขยายกำหนดอายุความฟ้องร้องหรือไม่
คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 1385/2554เช็คเป็นตราสารเปลี่ยนมือได้
ย่อมโอนเปลี่ยนมือกันได้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบเช็คในกรณีเช็คระบุชื่อ หรือด้วยการส่งมอบเช็คในกรณีเช็คผู้ถือ เช็คพิพาททั้ง
5 ฉบับ
เป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดโดยมิได้ระบุชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงินและมิได้ขีดฆ่าคำว่า หรือผู้ถือออก
จึงเป็นเช็คผู้ถือ
โจทก์เป็นผู้มีเช็คพิพาทไว้ในครอบครอง
โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 เมื่อการแก้ไขวันเดือนปีในเช็คพิพาทเป็นการแก้ไขโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายและลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วยโดยโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงยินยอม เช็คพิพาทจึงไม่เสียไปและใช้ได้ต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้แก้ไขตาม ป.พ.พ.
มาตรา 1007 วรรคแรก
โดยถือว่าเช็คพิพาทมีกำหนดเวลาใช้เงินตามที่แก้ไขนั้นหาใช่เป็นเรื่องขยายอายุความฟ้องร้องไม่
คำถาม สัญญาจ้างทำของ
มีข้อสัญญาทำนองว่า
เมื่อมีการเลิกสัญญา
ผู้ว่าจ้างไม่ต้องใช้ค่างานแก่ผู้รับจ้าง
ข้อสัญญาดังกล่าวถือเป็นเบี้ยปรับหรือไม่
หรือจะต้องบังคับตามข้อสัญญาดังกล่าว
คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 4330/2554โดยปกติเมื่อสัญญาเลิกกัน
คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำให้ ให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามสมควรค่าแห่งการนั้นๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสาม
โจทก์ผู้รับจ้างจึงย่อมมีสิทธิได้รับการใช้เงินตามควรค่าแห่งงานที่ได้กระทำให้แก่จำเลยผู้ว่าจ้างไปแล้ว การที่สัญญาข้อ 9 ดังกล่าวระบุให้บรรดางานที่โจทก์ได้ทำขึ้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยโจทก์จะเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ ไม่ได้เพื่อเป็นผลให้จำเลยไม่ต้องใช้ค่างานแก่โจทก์ จึงเป็นข้อตกลงที่มีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
วรรคหนึ่ง หาใช่ว่าจะต้องบังคับตามข้อสัญญาโดยเด็ดขาด เป็นผลให้จำเลยไม่ต้องใช้เงินตามควรค่าแห่งงานแก่โจทก์ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยเสมอไปไม่
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ทำงานตามจำนวนค่าจ้างไปเป็นเงิน 504,000 บาท
จำเลยชำระแล้ว 300,000 บาท
เมื่อคำนึงถึงค่าปรับรายวันที่จำเลยมิได้เรียกร้องประกอบกับความเสียหายอย่างอื่นที่จำเลยได้รับแล้วเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์อีกเพียง 50,000 บาท
ซึ่งแม้คำพิพากษาศาลชั้นต้นจะใช้ถ้อยคำว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินค่าจ้าง แต่ก็เห็นได้ว่าเป็นเงินตามควรค่าแห่งงานที่กำหนดให้จำเลยใช้แก่โจทก์เพื่อการกลับคืนสู่ฐานะเดิมและศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจลดจำนวนลงแล้วนั่นเอง
หากจำเลยเห็นว่าตนไม่ต้องรับผิดก็ชอบที่จะอุทธรณ์ แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์ เพียงแต่มีคำขอมาในคำแก้อุทธรณ์ให้ยกฟ้องโจทก์เท่านั้น ซึ่งไม่อาจกระทำได้ ปัญหาว่าจำเลยจะต้องชำระเงินจำนวน 50,000 บาท
แก่โจทก์หรือไม่
จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9
จะต้องยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยตามคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยอีก
คำถาม มูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนจะออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด หุ้นส่วนผู้จัดการดังกล่าวจะต้องรับผิดหรือไม่
คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 2778/2552จำเลยที่
3 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ระหว่างวันที่
28
ธันวาคม 2543 ถึงวันที่
27
มกราคม 2545
มูลหนี้ที่เกิดขึ้นได้เกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 3
จะออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่
3
ต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวภายในกำหนด
2 ปี
นับแต่ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068 ประกอบมาตรา 1080 แต่ข้อเท็จจริง ปรากฏว่าจำเลยที่ 3
ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม
2545ความรับผิดของจำเลยที่ 3
ย่อมมีจำกัดเพียงสองปีนับแต่วันดังกล่าวถึงวันที่ 28
มกราคม 2547การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน
2548
จึงเกินกำหนดเวลา 2 ปีแล้ว จำเลยที่ 3
จึงไม่ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068 ประกอบมาตรา 1080
โจทก์จึงไม่อาจนำหนี้นี้มาฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีล้มละลายได้
คำถาม ใช้ปืนยิงผู้อื่น แต่ลูกกระสุนปืนมีกำลังอ่อน
ผู้ถูกยิงจึงไม่ถึงแก่ความตายเป็นความผิดพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ.
มาตรา 80 หรือ 81
คำตอบ
มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 77/2555ลูกกระสุนปืนที่จำเลยยิงไม่ทะลุผ่านผิวหนังทำอันตรายแก่อวัยวะภายในของผู้เสียหายที่ 1 เป็นเพราะมีกำลังอ่อน มิใช่เพียงแต่ผู้เสียหายที่ 1 ถูกยิงในแนวเฉียง
การกระทำของจำเลยย่อมไม่สามารถจะบรรลุผลให้ผู้เสียหายที่ 1 ถึงแก่ความตายได้อย่างแน่แท้ จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 81 วรรคแรก
ซึ่งเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา
225
คำถาม การให้ทรัพย์สินแก่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินการช่วยเหลือผู้อื่นโดยให้เปลี่ยนข้อหาให้เบาลง จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 144 หรือไม่
คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 3096/2552 จำเลยทั้งสองไปติดต่อกับดาบตำรวจ ช.
เพื่อขอให้ช่วยเหลือ พ. กับพวก
โดยเปลี่ยนข้อหาจากเดิมข้อหาร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเป็นข้อหาร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยเสนอให้เงิน 70,000
บาท
ย่อมเป็นการกระทำที่มุ่งประสงค์ขอให้ทรัพย์สินเพื่อจูงใจให้ดาบตำรวจ ช.
ไปดำเนินการให้ผู้บังคับบัญชากระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ เพื่อพันตำรวจตรี ต. ผู้บังคับบัญชาของดาบตำรวจ ช.
ทราบความประสงค์ของจำเลยทั้งสองจากดาบตำรวจ ช.
และวางแผนจับกุมโดยตอบตกลงและนัดหมายให้นำเงินมอบให้และจับกุมได้พร้อมเงินของกลาง จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ขอให้ทรัพย์สินแก่ดาบตำรวจ ช. และพันตำรวจตรี ต.
เพื่อจูงใจให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 144
คำถาม ผู้เริ่มก่อการและจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิในนามของบริษัท บ. แต่ไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จะต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ที่ตัวแทนของบริษัท บ. กระทำไปหรือไม่
คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 3411/2553จำเลยที่
8 ซื้อสินค้าจากโจทก์ในฐานะตัวแทนของบริษัท บ. เมื่อบริษัท
บ.
ไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเป็นบริษัท
จำเลยที่ 1 ถึงที่
4 ที่ 6 และที่
7
ในฐานะผู้เริ่มก่อการจึงต้องรับผิดชำระค่าสินค้าต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1113
บริษัท บ. ซื้อสินค้าเพื่อใช้ในการก่อสร้างโรงแรม อันเป็นกิจการของบริษัท บ. อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนด 5 ปี
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 193/33
นายประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์
บรรณาธิการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น