10558/2553 การที่โจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 มีสิทธินำเงินฝากประจำของโจทก์มาชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้
เป็นการกู้ยืมเงินโดยมีเงินฝากประจำเป็นหลักประกัน เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 นำเงินฝากประจำมาหักกลบลบหนี้แล้วแต่จำเลยที่
1 ไม่ปฏิบัติตามยังคงคิดดอกเบี้ยจากโจทก์ต่อไปอีก
โดยจำเลยที่ 1 อ้างว่าโจทก์ยังมิได้นำหนังสือรับรองสินเชื่อมาคืนให้จำเลยที่
1 เช่นนี้
หากโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง
โจทก์ชอบที่จะดำเนินคดีจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่ง
เงินฝากของโจทก์ที่ฝากไว้กับจำเลยที่ 1 ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่ที่มีการฝากเงิน จำเลยที่ 1 คงมีหน้าที่คืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้นตาม
ป.พ.พ. มาตรา 672 จึงมิใช่เป็นการที่โจทก์มอบหมายให้จำเลยที่
1 จัดการทรัพย์สินของตน
การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดฐานยักยอก(ป.อ.ม.353)
ความผิดตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ฯ
มาตรา 12 (9) ที่บัญญัติว่า “ กระทำการใด ๆ
อัน...เป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างไม่เป็นธรรม....
ทั้งนี้ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา” นั้น
เป็นการบัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบการธนาคารพาณิชย์
เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจและการเงินของประเทศกับเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม
อันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง(ป.วิ.อ. ม.2(4))
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น