ข้อสังเกตบางประการในการดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) จุลสิงห์ วสันตสิงห์*
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) จุลสิงห์ วสันตสิงห์*
จากการที่ได้ปฏิบัติหน้าที่พนักงานอัยการมากกว่า ๓๐
ปี และเป็นอาจารย์ผู้บรรยาย กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตสภา และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้ข้าพเจ้าได้พบกับปัญหาสำคัญๆ
ในกระบวนการของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเป็นอันมาก หนึ่งในประเด็นสำคัญทั้งหลายทั้งปวงนั้น
มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ข้าพเจ้าให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ด้วยอาจเป็นเพราะประเด็นปัญหานี้ มีความซับซ้อนกว่าปัญหาทั่วๆ ไป
โดยอาจจะต้องนำความรู้ในกฎหมายพื้นฐานอื่นๆ มาประกอบในการพิจารณาวินิจฉัย เช่น
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
หรือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ยังมีผลทำให้มีความซับซ้อนยุ่งยากอยู่พอสมควร
เมื่อมีโอกาสข้าพเจ้าก็นำประเด็นปัญหาที่น่าสนใจเหล่านี้ไปออกข้อสอบทดสอบความรู้ชั้นเนติบัณฑิตอยู่หลายครั้งด้วยกัน ครั้งนี้
จึงจะขอกล่าวถึงปัญหาสำคัญที่น่าสนใจในการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาเกี่ยวกับกรณีการถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษา
คดีอาญาแก่การพิพากษาคดีในส่วนแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา
๔๖
และการเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๔๓ ในการนำเสนอนี้ จะยกคำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจประกอบด้วย
๑. การพิพากษาคดีส่วนแพ่ง
ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
การที่ศาลจะมีคำพิพากษาคดีส่วนแพ่งว่าจำเลยมีความผิดหรือไม่ จำต้องอาศัยข้อเท็จจริงหากข้อเท็จจริงนั้น ได้รับการวินิจฉัยในส่วนคดีอาญาแล้ว คดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงนั้นเป็นที่ยุติ คู่ความจะโต้แย้งเป็นอย่างอื่นไม่ได้ อย่างไรก็ดี
หลักการข้างต้นจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขทั้ง ๔
ประการกล่าวคือ
๑.๑
ต้องเป็นคดีแพ่งที่มีผลฟ้องร้องมาจากการกระทำผิดทางอาญา
หากเป็นคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องโดยไม่ได้อาศัยข้อมูลเหตุจากการกระทำความผิดอาญาแล้ว ถ้าพิพากษาคดีแพ่งก็ไม่จำต้องถือตามคำพิพากษาในคดีอาญา
โดยขอยกตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาค่อนข้างใหม่ๆ ที่น่าสนใจไว้พอสังเขป
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๙๘/๒๕๕๑“โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นเป็นคดีอาญาในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ ๒
โดยวินิจฉัยว่า
พยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังว่าจำเลยที่ ๒
กระทำโดยรู้หรือสมคบกับจำเลยที่
๑
ในการกระทำความผิดและคดีส่วนอาญาของจำเลยที่ ๒
ถึงที่สุดแล้ว
ในการพิพากษาคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่ง
ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคดีอาญาว่าจำเลยที่ ๒ ไม่รู้ว่าจำเลยที่ ๑
เป็นหนี้โจทก์และไม่รู้ว่าการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องเป็นทางให้โจทก์ต้องเสียเปรียบนั้น เห็นว่า
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
๒๓๗
อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ จึงไม่ใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่จะต้องถือข้อเท็จจริงตามคดีอาญา ศาลอุทธรณ์ภาค
๕ พิพากษาชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ ๒
ฟังไม่ขึ้น”
คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๔๙๗/๒๕๕๑“ในคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยกับพวกว่าร่วมกันกระทำความผิดฐานยักยอก
ศาลแขวงพระโขนงพิพากษายกฟ้องโดยให้เหตุผลว่าพฤติการณ์มีเหตุสงสัยว่าจำเลยรับจำนองแทนโจทก์หรือไม่
ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลย
ศาลมิได้ยกฟ้องด้วยเหตุว่าจำเลยมิได้รับจำนองแทนโจทก์ และคดีนี้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยคืนเงินค่าไถ่ถอนจำนองแก่โจทก์
อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาในความผิดฐานยักยอก
จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะนำ ป.วิ.อ
มาตรา ๔๖ มาใช้บังคับไม่ได้”
๑.๒ คำพิพากษาคดีในส่วนอาญาถึงที่สุดแล้ว
คำพิพากษาคดีอาญาที่จะมีผลผูกพันให้คดีส่วนแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตามนั้น จะต้องปรากฎคำพิพากษาในคดีนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว เหตุด้วยหากคดียังไม่ถึงที่สุด
การรับฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาของศาลชั้นต้นอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยศาลสั่งได้ โดยขอยกตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาค่อนข้างใหม่ๆ ที่น่าสนใจไว้พอสังเขป
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๕๑/๒๕๔๘“ในคดีอาญาที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาว่าร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมีมูลเฉพาะจำเลยที่ ๑
ส่วนจำเลยที่ ๒ คดีไม่มีมูลจึงประทับฟ้องจำเลยที่ ๑
และยกฟ้องจำเลยที่ ๒ คำสั่งของศาลชั้นต้นให้ประทับฟ้องจำเลยที่ ๑
มีผลให้คดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลเท่านั้น
ยังไม่ได้ชี้ว่าหนังสือมอบอำนาจปลอมหรือไม่ และคดีสำหรับจำเลยที่ ๑
ยังไม่ถึงที่สุด
ทั้งไม่อาจนำมาผูกพันจำเลยที่
๒ ซึ่งศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ ๒
ได้ร่วมกระทำผิด
จึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่จะฟังในคดีแพ่งว่าหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารปลอม”
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๘๕๓/๒๕๕๐“การที่จำเลยที่
๑
ยอมให้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับและชำระค่าปรับแล้ว มีผลเพียงทำให้คดีอาญาดังกล่าวเลิกกันตาม ป.วิ.อ
มาตรา ๓๗ เท่านั้น
การเปรียบเทียบปรับของพนักงานสอบสวนดังกล่าวไม่ใช่คำพิพากษาคดีส่วนอาญากรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ
มาตรา ๔๖
ที่คดีในส่วนแพ่งจะต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๘
ถือเอาข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่จำเลยที่
๑ ยอมรับต่อพนักงานสอบสวนว่า จำเลยที่
๑
ขับรถยนต์โดยประมาทมาชี้ขาดตัดสินคดีนี้เป็นการไม่ชอบ”
๑.๓ ต้องเป็นประเด็นเดียวกันกับคดีส่วนอาญา
และคำพิพากษาในคดีอาญาได้วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวไว้โดยชัดเจน
ข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งและคดีส่วนอาญาต้องเป็นประเด็นเดียวกัน แต่ถ้าประเด็นพิจารณาในทางแพ่งไม่ใช่ประเด็นโดยตรงที่ศาลวินิจฉัยในทางอาญาแล้ว ศาลย่อมพิจารณาข้อเท็จจริงใหม่ตามประเด็นในคดีแพ่งได้
นอกจากนี้คำพิพากษาส่วนอาญาจะต้องวินิจฉัยในประเด็นนั้นไว้โดยชัดแจ้งโดยขอยกตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาค่อนข้างใหม่ๆ ที่น่าสนใจไว้พอสังเขป
คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๓๙๑/๒๕๕๑“ข้อเท็จจริงที่ฟังยุติในคดีส่วนอาญามีแต่เพียงว่าโจทก์และจำเลยต่างกระทำโดยประมาท แต่ผู้ใดประมาทมากกว่ากันไม่ปรากฏ
ดังนั้นในการดำเนินคดีแพ่งทั้งโจทก์และจำเลยย่อมสามารถนำสืบให้เห็นได้ว่าใครประมาทมากกว่ากัน
และควรจะได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่เพียงใด”
คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๓๔๐/๒๕๕๑
“คดีนี้กับคดีอาญาซึ่งโจทก์ในคดีนี้เป็นโจทก์ร่วมในคดีดังกล่าวมีประเด็นเป็นเรื่องเดียวกัน
คือจำเลยได้เบียดบังยักยอกทรัพย์ของโจทก์หรือไม่และคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว
กรณีจึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๔๖
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง
ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีอาญา
เมื่อคดีส่วนอาญาศาลวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า จำเลยไม่ได้เบียดบังยักยอกทรัพย์ คดีนี้จึงต้องถือข้อเท็จจริงตามและตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๑๐๔
บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่วินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบและตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๑๐๔
บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติหรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อเท็จจริงในคดีนี้มีเพียงพอที่จะวินิจฉัยชี้ขาดคดีไปแล้วมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย”
๑.๔ เป็นคู่ความเดียวกันกับในคดีส่วนอาญา
เนื่องจากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา
๑๔๕
วรรคหนึ่งประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรามาตรา ๑๕
บัญญัติว่าคำพิพากษาศาลมีผูกพันเฉพาะบุคคล
ซึ่งเป็นคู่ความในคดีเท่านั้น
แต่ไม่มีผลผูกพันเฉพาะบุคคลภายนอก
ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยวางหลักเกณฑ์เพิ่มเติมในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา
๗๖ ว่าคู่ความทั้งในคดีอาญา และคดีส่วนแพ่งต้องเป็นคู่ความเดียวกัน
ซึ่งในกรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์แม้ผู้เสียหายไม่เข้าเป็นโจทก์ร่วม
ก็ถือว่าพนักงานอัยการฟ้องแทนผู้เสียหายยังผลให้คำพิพากษาในคดีส่วนอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ จึงผูกพันคดีส่วนแพ่งของผู้เสียหาย โดยขอยกตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาใหม่ ๆ ที่น่าสนใจพอสังเขป
คำพิพากษาฎึกาที่ ๒๖๙/๒๕๔๗“คำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งยกฟ้องจำเลยที่ ๒
ในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย ได้รับอันตรายสาหัส และถึงแก่ความตาย
มีประเด็นตรงกับประเด็นในคดีนี้ที่ว่าจำเลยที่ ๒
ขับรถด้วยความประมาทเลินเล่อปราศจากความระมัดระวังตามที่โจทก์ที่ ๑
ฟ้องหรือไม่ เมื่อโจทก์ที่ ๑ และจำเลยที่
๒ เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว จึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว จึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว
ดังนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง
ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาจึงต้องฟังว่าจำเลยที่ ๒
มิได้ขับรถด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายได้รับอันตรายสาหัสและได้รับอันตรายแก่กายตามฟ้องเมื่อจำเลยที่ ๒
มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่
๑ จำเลยที่ ๑
ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ ๒
จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่โจทก์ที่ ๑
ฟ้องด้วย”
คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๕๙๐/๒๕๔๘“แม้ว่าในการพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ.
มาตรา ๔๖ ก็ตาม
แต่เมื่อจำเลยที่ ๒ ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวด้วย
ข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีอาญาของศาลชั้นต้นที่ฟังว่าจำเลยที่ ๑
ขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จึงมีผลผูกพันเฉพาะจำเลยที่ ๒
ซึ่งไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวด้วย”
เมื่อได้กล่าวถึงหลักเกณฑ์สำคัญพร้อมคำพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจข้างต้นแล้วข้าพเจ้าอยากที่จะนำข้อสอบความรู้ชั้นเนติบัณฑิตภาคสองสมัยที่ ๖๐
ปีการศึกษา ๒๕๕๐ ข้อ
๒
มากล่าวถึงเนื่องจากเป็นการนำเอาประเด็นการถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีอาญาแก่การพิพากษาคดีในส่วนแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา
๔๖ มาผูกกันไว้อย่างน่าสนใจ โดยจะกล่าวถึงแนวคำตอบไว้ พร้อมกัน
ดังนี้
“ข้อ ๒
พนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรีเป็นโจทก์ฟ้องนายวิหารว่า
ขับรถยนต์โดยประมาทเฉี่ยวชนรถยนต์ที่นายสมบัติขับมาได้รับความเสียหาย
และเป็นเหตุให้นายสมบัติขับมาได้รับความเสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
๓๐๐ หลังเกิดเหตุแล้ว ๓
ปี
คดีอาญาถึงที่สุดโดยศาลอุทธรณ์พิพากษาว่านายวิหารกระทำผิดตามฟ้องลงโทษจำคุก ๑
ปี โทษจำคุกรอการลงโทษไว้ ๒
ปีภายหลังจากที่คดีอาญาถึงที่สุดแล้วหนึ่งเดือนนายสมบัติเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายวิหารเป็นจำเลยที่ ๑
นายสมชายซึ่งเป็นนายจ้างของนายวิหารเป็นจำเลยที่ ๒
เป็นคดีแพ่ง
ให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่งแก่โจทก์
ทั้งนายวิหารและนายสมชายต่างให้การต่อสู้ว่า นายสมบัติไม่ได้ขอเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการจึงไม่ใช่คู่ความในคดีอาญาเหตุที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากความประมาทของนายวิหารและคดีขาดอายุความแล้ว
ให้วินิจฉัยว่า ข้อต่อสู้ของนายวิหารและนายสมชายฟังขึ้นหรือไม่”
จากคำถามข้างต้น ประเด็นสำคัญที่สุดคำถาม คือ
คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาหรือไม่
การที่นายสมบัติมิได้เป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการทำให้นายสมบัติมิได้เป็นคู่ความในคดีอาญาและมีผลให้การพิพากษาคดีแพ่งมิต้องถือตามคำพิพากษาในคดีอาญา หรือไม่ในประเด็นนี้
ศาลในคดีแพ่งและคดีอาญาจะต้องวินิจฉัยเป็นประเด็นที่มาจากมูลกรณีเดียวกัน คือนายวิหารขับรถโดยประมาทหรือไม่ ดังนั้น
คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
เมื่อคดีส่วนอาญาถึงที่สุดโดยศาลฟังข้อเท็จจริงว่านายวิหารเป็นฝ่ายประมาท
ศาลในคดีแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่านายวิหารเป็นฝ่ายประมาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา
๔๖
ซึ่งคำพิพากษาในคดีอาญาดังกล่าวย่อมผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๑๔๕
ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๕ อย่างไรก็ดี
แม้ว่านายสมบัติโจทก์ในคดีแพ่งจะไม่ได้ยื่นคำร้องขอเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการในคดีอาญาแต่นายสมบัติเป็นผู้เสียหายในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
๓๐๐
จึงถือว่าพนักงานอัยการอยู่ในฐานะฟ้องคดีแทนนายสมบัติและนายวิหารย่อมผูกพันตามคำพิพากษาในคดีอาญา ดังนั้น
นายวิหารจึงไม่อาจต่อสู้ว่าตนมิได้เป็นฝ่ายประมาท ข้อต่อสู้ของนายวิหารฟังไม่ขึ้น
ประเด็นต่อมา คือ
การที่นายสมชายเป็นนายจ้างของนายบริหาร
จึงไม่เป็นคู่ความคดีอาญา
คำพิพากษาผูกพันนายสมชายหรือไม่
ในประเด็นนี้นายสมชายซึ่งเป็นนายจ้างของนายวิหารไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญา
ดังนั้นข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่ศาลฟังว่านายวิหารเป็นฝ่ายประมาทจึงไม่ผูกพันนายสมชาย นายสมชายจึงชอบที่จะต่อสู้ได้ว่า นายวิหารมิได้เป็นฝ่ายประมาท หรือนายสมบัติมีส่วนประมาทร่วมกับนายวิหาร ข้อต่อสู้ของนายสมชายในข้อนี้ จึงฟังขึ้น
ประเด็นถัดมา คือ
การที่ฟ้องนายวิหารเป็นคดีแพ่งหลังจากเกิดเหตุกว่า ๓ ปี คดีขาดอายุความแล้วหรือไม่ ในประเด็นนี้
ค่อนข้างจะซับซ้อนพอสมควร
ในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา
เมื่อคดีอาญามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษนายวิหารแล้วสิทธิของผู้เสียหายที่จะเรียกร้องทางแพ่งมีอายุความ ๑๐
ปี
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา
๑๙๓/๓๒ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา
๕๑
วรรคสามแต่การนับอายุความทางอาญาที่ยาวกว่าดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๔๔๘
วรรคสอง
กำหนดไว้โดยอาศัยสิทธิในเรื่องอายุความที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา
๕๑ วรรคสาม นั้น
มีได้เฉพาะในกรณีที่เรียกร้องค่าเสียหายในมูลละเมิดจากผู้กระทำผิดทางอาญา
ซึ่งศาลพิพากษาลงโทษจนคดีถึงที่สุดไปแล้วก่อนที่ได้ยื่นฟ้องคดีแพ่งเท่านั้นมิได้หมายความถึงการเรียกร้องจากผู้อื่นซึ่งต้อนรับผิดในผลแห่งละเมิด
แต่มิได้เป็นผู้กระทำผิดหรือร่วมกระทำผิดทางอาญาด้วย ดังนั้น
เฉพาะนายวิหารเท่านั้นที่เป็นผู้กระทำผิดทางอาญาที่ต้องใช้อายุความ ๑๐
ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา
๕๑ วรรคสาม ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
๑๙๓/๓๒
เมื่อนายสมบัติมาฟ้องคดีแพ่งในคดีนี้ก่อนครบกำหนด ๑๐ ปี คดีจึงยังไม่ขาดอายุความข้อต่อสู้ของนายวิหารในข้อนี้ จึงฟังไม่ขึ้น
ประเด็นสุดท้าย คือ
การฟ้องนายสมชาย
นายจ้างเป็นคดีแพ่ง
หลังจากเกิดเหตุกว่า ๓ ปี
คดีขาดอายุความแล้วหรือไม่
ในประเด็นนี้จะไม่ซับซ้อนเท่าประเด็นก่อนหน้านี้ ส่วนนายสมชายนายจ้างที่มิได้กระทำผิดทางอาญาด้วย
ต้องใช้อายุควาทางแพ่งในเรื่องละเมิดธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
๔๔๘ วรรคแรก คือ
๑ ปี เมื่อนายสมบัติฟ้องคดีแพ่ง
ภายหลังเกิดเหตุแล้วเกินกว่า ๑ ปี
คดีจึงขาดอายุความ
ข้อต่อสู้ของนายสมชายในข้อนี้จึงฟังขึ้น
๒.
การเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนแทนผู้เสียหาย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา
๔๓
ให้อำนาจพนักงานอัยการเรียกให้จำเลย
คืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาทรัพย์สินที่ผู้เสียหายสูญเสียไป
ยังผลให้มีข้อสังเกตประการสำคัญที่ควรศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างท่องแท้
๒.๑
ต้องเป็นกรณีที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในความผิด ๙
ลักษณะดังที่กำหนดในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา
๔๓ คือ ความผิดฐานลักทรัพย์ ฐานวิ่งราว
ฐานชิงทรัพย์ ฐานปล้นทรัพย์ ฐานโจรสลัด
ฐานกรรโชก ฐานฉ้อโกง ฐานยักยอก
หรือฐานรับของโจร แล้วแต่กรณี
โดยความผิดฐานยักยอกนั้นรวมถึงความผิดฐานเจ้าพนักงานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๔๗
ด้วย (คำพิพากษาฎีกาที่
๖๓๑/๒๕๑๑)
หากเป็นความผิดอื่น ๆ นอกจากนี้
และความผิดนั้นๆ ไม่มีกฎหมายกำหนดเป็นพิเศษให้อำนาจพนักงานอัยการแล้วพนักงานอัยการจะเรียกร้องให้คืนทรัพย์หรือใช้ราคาทรัพย์ของผู้เสียหายที่สูญเสียไปได้ไม่
โดยมีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่น่ากล่าวถึงในเบื้องต้นคือ กรณีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
๓๕๐ ไม่ใช่ความผิดใดใน ๙
ลักษณะที่พนักงานอัยการจะเรียกร้องแทน
ผู้เสียหายได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๙๒/๒๕๐๖)
และความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.
๒๕๒๘ มาตรา ๙๑
ตรีที่แม้จะมีคำว่า “หลอกลวงผู้อื่น”
แต่ก็มิใช่ความผิดฐานฉ้อโกงตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๔๓
และพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.
๒๕๒๘
ก็มิได้บัญญัติให้พนักงานอัยการโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหายโจทก์จึงไม่อาจขอให้ศาลบังคับให้จำเลยคืนเงินให้แก่ผู้เสียหายได้
(คำพิพากษาฎีกาที่
๑๓๔๗/๒๕๔๕)
นอกจากนี้
ยังมีคำพิพากษาเรื่องหนึ่งที่มีความน่าสนใจที่อยากจะกล่าวถึงโดยละเอียดดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๔๔๕/๒๕๔๙“โจทก์ฟ้องขอโทษจำเลยตาม
ป.อมาตรา ๓๔๑ พ.ร.บ.
จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน
พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา
๙๑ ตรี และให้จำเลยคืนเงิน ๒๒๐,๐๐๐ บาท
แก่ผู้เสียหาย
การกระทำของจำเลยนอกจากจะเป็นความผิดฐานหลอกลวงคนหางานว่าสามารถหางานในต่างประเทศตาม พ.ร.บ.
จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน
พ.ศ.๒๕๒๘ มาตรา ๙๑ ตรี
แล้ว ยังเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ตาม
ป.อ. มาตรา ๔๓
บัญญัติให้อำนาจโจทก์ที่จะขอศาลให้สั่งจำเลยคืนเงินที่ฉ้อโกงไปให้แก่ผู้เสียหายได้ ซึ่งศาลล่างทั้งสองก็พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ.
มาตรา ๓๔๑ ด้วย
ศาลอุทธรณ์จึงพิพากษาให้จำเลยคืนเงิน
๒๐๐,๐๐๐
บาทที่ฉ้อโกงไปให้แก่ผู้เสียหายตามที่โจทก์ขอมาได้แม้จะมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าวด้วยก็ตาม
ผู้เสียหายที่ ๑
และที่ ๒ ได้ถอนคำร้องทุกข์ของตนเฉพาะในส่วนความผิดตาม ป.อ.
มาตรา ๓๔๑ ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว
โดยอ้างว่าได้รับชดใช้เงินจากจำเลยจนเป็นที่พอใจและไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งแก่จำเลยอีกต่อไปดังนั้นสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวเฉพาะในส่วนของผู้เสียหายที่ ๑
และที่ ๒ จึงระงับไปตาม
ป.วิ.อ. มาตรา
๓๙ (๒)
และย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินให้แก่ผู้เสียหายที่ ๑
และ ที่ ๒
คนละ ๖๕,๐๐๐ บาท
รวมเป็นเงิน ๑๓๐,๐๐๐ บาทตกไปด้วย
โจทก์จึงไม่อาจขอให้ศาลบังคับจำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายที่ ๑ และที่ ๒
ได้อีกโดยคงขอให้บังคับได้เฉพาะส่วนของผู้เสียหายที่ ๓
เป็นเงิน ๗๐,๐๐๐ บาท เท่านั้น”
ตามคำพิพากษาฎีกาข้างต้นนี้
แสดงว่าหากสิทธิการนำคดีอาญาในความผิดฐานฉ้อโกงมาฟ้องระงับไปแล้ว คำขอส่วนแพ่งก็ไม่อาจบังคับได้ด้วย
๒.๒ ต้องเป็นการเรียกทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดเท่านั้น โดยขอยกคำพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจไว้พอสังเขป
๒.๒.๑
กรณีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่เห็นว่าเป็นทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไปจากการกระทำความผิด
คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๗๒/๒๕๒๐
(ประชุมใหญ่)“สลากกินแบ่งของผู้เสียหายที่จำเลยลักไป
เป็นสลากกินแบ่งที่ถูกรางวัลแล้วจึงเป็นทรัพย์สินที่มีราคาเท่ากับเงินรางวัลที่จะได้รับ ซึ่งเป็นราคาทรัพย์ที่จำเลยลักไปโดยแท้จริง เมื่อจำเลยนำไปรับเงิน
ผู้เสียหายย่อมหมดโอกาสที่จะได้รับเงินรางวัล เท่ากับว่าต้องสูญเสียเงินจำนวนนั้นไปเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรงพนักงานอัยการจึงมีสิทธิขอให้จำเลยคืนเงินรางวัลแก่ผู้เสียหายได้”
คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๔๐๑/๒๕๔๒“การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าจำเลยทั้งสองสามารถจัดส่งผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดไปทำงานในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เป็นงานที่มีรายได้
เมื่อผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดเดินทางไปถึงแล้วสามารถทำงานได้ทันที โดยจำเลยทั้งสองปกปิดข้อความจริงจำเลยทั้งสองไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหาคนงานไปทำงานในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้จากนายทะเบียนจัดหางานกลาง
จากการหลอกลวงดังกล่าวทำให้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดหลงเชื่อและมอบเงินจำนวนต่างๆ ให้แก่จำเลยทั้งสอง ดังนั้น
การกระทำของ
จำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
มิใช่ผิดเฉพาะสัญญาทางแพ่งแต่อย่างใด
ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดยอมจ่ายเงินค่าตั๋วเครื่องบินให้แก่จำเลยทั้งสองเนื่องจากประสงค์จะเดินทางไปทำงานในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ตามที่จำเลยทั้งสองรับรอง
หากผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดทราบความจริงว่าถูกจำเลยทั้งสองหลอกลวงแล้ว ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคงไม่เดินทางไปยังประเทศดังกล่าวและไม่จ่ายเงินค่าตั๋วเครื่องบินให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นแน่
แม้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดได้ใช้ตั๋วเครื่องบินดังกล่าวเดินทางไปและกลับระหว่างประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ แต่การเดินทางของผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดดังกล่าวมิได้เกิดจากความสมัครใจของตนที่จะเดินทางไปหางานทำด้วยตนเอง แต่เกิดจากการที่ถูกจำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงฉ้อโกงดังนั้น
เงินค่าตั๋วเครื่องบินของผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดที่ต้องสูญเสียไปจึงเป็นเงินที่เกิดจากการหลอกลวงของจำเลยทั้งสอง ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดย่อมมีสิทธิที่จะเรียกค่าตั๋วเครื่องบินดังกล่าวคืนจากจำเลยทั้งสอง ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดเดินทางไปประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เนื่องจากหลงเชื่อตามที่จำเลยทั้งสองหลอกลวงเป็นเหตุให้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดต้องสูญเสียเงินเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดต้องเสียเวลาในการทำมาหากินทั้งผู้เสียหายบางคนยังถูกจับและถูกขังอยู่ในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ทำให้ต้องสูญเสียอิสรภาพ จำเลยที่
๑
เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายปกครองมีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชนแต่จำเลยที่ ๑
กลับมากระทำความผิดเสียเองโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่ในการหลอกลวงเพื่อให้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดหลงเชื่อ หลังเกิดเหตุจำเลยทั้งสองก็มิได้บรรเทาผลร้าย
ชดใช้หรือเสนอที่จะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดแต่อย่างใดกรณีไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสอง”
คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๖๒๔/๒๕๔๕
“แม้ขณะจำเลยที่ ๑
กระชากสร้อยคอทองคำพร้อมพระเลี่ยมทองคำของผู้เสียหาย สร้อยคอพร้อมพระดังกล่าวจะอยู่ที่มือจำเลยที่ ๑
แต่ก็เป็นเพียงการกระทำที่มุ่งหมายจะให้สร้อยคอพร้อมพระขาดหลุดจากคผู้เสียหาย เมื่อปรากฏว่าสร้อยคอทองคำดังกล่าวตกอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุส่วนพระเลี่ยมทองคำนั้นหาไม่พบ
ทั้งขณะเจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นตัวจำเลยก็ไม่พบพระเลี่ยมทองคำดังกล่าวแสดงว่าหลังจากกระชากแล้วสร้อยคอทองคำพร้อมพระเลี่ยมทองคำหลุดจากมือจำเลยที่ ๑
ตกลงพื้น จำเลยที่ ๑
ยังไม่ทันเข้ายึดถือครอบครองสร้อยคอทองคำพร้อมพระเลี่ยมทองคำดังกล่าว เห็นได้ว่าจำเลยที่ ๑
ได้ลงมือกระทำความผิดแล้วแต่ยังไม่อาจยึดถือครอบครองสร้อยคอทองคำพร้อมพระเลี่ยมทองคำนั้นได้ การกระทำของจำเลยที่ ๑
จึงเป็นเพียงความผิดฐานพยายามวิ่งราวทรัพย์ แม้จำเลยที่
๑
จะไม่สามารถเอาพระเลี่ยมทองคำของผู้เสียหายไปได้แต่ผลจากการกระทำความผิดของจำเลยที่ ๑
ทำให้ผู้เสียหายสูญเสียพระเลี่ยมทองคำไป
จำเลยที่ ๑
จึงต้องรับผิดคืนหรือใช้ราคาพระเลี่ยมทองคำแก่ผู้เสียหาย สำหรับรถจักรยานยนต์ของกลาง เมื่อปรากฏว่าขณะเกิดเหตุผู้เสียหายขับรถยนต์อยู่จำเลยที่ ๒
ขับรถจักรยานยนต์ของกลางเข้าประกอบแล้วจำเลยที่ ๑
ซึ่งนั่งซ้อนท้ายกระชากสร้อยคอทองคำพร้อมพระเลี่ยมทองคำของผู้เสียหาย
พฤติการณ์เห็นได้ว่าเป็นการใช้รถจักรยานยนต์ของกลางในการกระทำความผิดโดยตรง จึงต้องริบรถจักรยานยนต์ของกลาง”
คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๒/๒๕๕๓“โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานนำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ไปใช้เบิกถอนเงินสดจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาทของผู้เสียหายที่ ๒ ไป อันเป็นความผิดตาม ป.อ.
มาตรา ๒๖๙/๕ และมาตรา
๒๖๙/๗
เมื่อตามคำฟ้องโจทก์ได้กล่าวบรรยายว่า
จำเลยได้ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร
ซ.
ซึ่งได้ออกให้แก่ผู้เสียหายที่
๒
อันเป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งที่จำเลยได้ลักไปเพื่อใช้ประโยชน์ในการเบิกถอนเงินสดถอนเงินสดจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
ไปจากวงเงินเครดิตของผู้เสียหายที่
๒ โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายและธนาคาร ช.
และยังมีคำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวด้วย ดังนั้น
ย่อมแปลคำฟ้องของโจทก์ได้ว่าโจทก์มุ่งประสงค์ที่จะให้ลงโทษจำเลยฐานลักเงินของผู้เสียหายที่ ๒
อยู่ด้วย
เพียงแต่วิธีการลักเงินดังกล่าวก็โดยการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์เบิกถอนเงินสดผ่านเครื่องฝาก -
ถอนเงินอัตโนมัตินั่นเองจึงเป็นความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์และความผิดฐานลักทรัพย์ด้วยแล้ว ซึ่งตาม
ป.วิ.อ. มาตรา ๔๓
บัญญัติให้พนักงานอัยการมีอำนาจขอให้เรียกทรัพย์สินหรือใช้ราคาแทนผู้เสียหายที่ ๒
ขอให้เรียกทรัพย์สินหรือใช้ราคาแทนผู้เสียหายที่ ๒
โจทก์จึงมีอำนาจขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แทนผู้เสียหายที่ ๒ ได้”
๒.๒.๒.
กรณีที่แนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่เห็นว่าไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไป ได้แก่
กรณีของดอกเบี้ย
พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องเรียกดอกเบี้ยแทนผู้เสียหายได้เพราะดอกเบี้ยไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิด (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๙๗๗/๒๕๐๕
(ประชุมใหญ่) และคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๙๗๗/๒๕๐๕ (ประชุมใหญ่) และคำพิพากษาฎีกาที่ ๘๓๙๒/๒๕๔๙) เงินค่าไถ่ทรัพย์
โดยพนักงานอัยการจะร้องขอให้จำเลยชดใช้เงินค่าไถ่ทรัพย์ให้แก่ผู้เสียหายต้องไปไถ่ทรัพย์มาให้แก่ผู้เสียหายไม่ได้เพราะไม่ใช่กรณีเรียกร้องให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่สูญเสีย (คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๒๒/๒๕๐๗) การฉ้อโกงเอาหนังสือสัญญากู้ไป
ทรัพย์สินที่ผู้เสียหายสูญเสียไปก็คือหนังสือกู้ พนักงานอัยการคงเรียก
คืนได้แต่ตัวหนังสือสัญญาเท่านั้น จะขอมาด้วยว่าถ้าหากจำเลยส่งสัญญาไม่ได้ให้ใช้เงินอันเป็นหนี้ตามสัญญาแทนนั้น หาได้ไม่
เพราะไม่อาจกล่าวได้ว่าผู้เสียหายได้สูญเสียทรัพย์สินที่มีราคาตามหนี้ในสัญญากู้
แม้หนังสือสัญญากู้สูญหายไปก็ยังฟ้องร้องเรียกหนี้กันได้มิใช่ว่าหนี้นั้นจะพลอยสูญไปด้วย หนี้ตามสัญญากู้มีอย่างไร
ผู้เสียหายชอบที่จะฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งอีกต่างหาก (คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๐/๒๕๐๘
(ประชุมใหญ่)
ค่าแรงงานหรือค่าจ้างตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๔๔
ไม่ใช่ทรัพย์สินที่จะเรียกร้องคืน (คำพิพากษา ฎีกาที่ ๑๐๔๑/๒๕๑๐) สายไฟฟ้าของผู้เสียหายที่ถูกจำเลยลักนำไปเผาลอกเอาเปลือกออกยังคงเหลือซากเป็นลวดทองแดงอยู่ มิได้ถูกทำลายสูญหายไปทั้งหมดหรือแปรสภาพไปเป็นของอื่นแล้ว
เมื่อผู้เสียหายได้รับลวดทองแดงคืนแล้วพนักงานอัยการโจทก์จะขอให้คืนหรือใช้ราคาเต็มของสายไฟฟ้าแก่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา
๔๓
อีกไม่ได้แม้ผู้เสียหายจะได้รับความเสียหายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยเนื่องจากนำสายไฟฟ้าไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์เดิมไม่ได้ก็เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องไปว่ากล่าวเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเอาเองเป็นคดีใหม่ (คำพิพากษาฎีกา ๑๖/๒๕๔๔)
เมื่อได้กล่าวถึงหลักเกณฑ์สำคัญพร้อมคำพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจข้างต้นแล้วข้าพเจ้าอยากที่จะนำข้อสอบความรู้ชั้นเนติบัณฑิตภาคสอง สมัยที่
๖๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๓
ข้อ ๒ มากล่าวถึง
เนื่องจากเป็นการนำเอาประเด็นการเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา
๔๓ มาออกทดสอบความรู้ โดยจะกล่าวถึงแนวคำตอบไว้พร้อมกัน ดังนี้
“ข้อ ๒
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายดำเป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้บุกรุกเข้าไปในบ้านของสมชาย ผู้เสียหาย
แล้วลักเอาโฉนดที่ดินและบัตรเครดิตซึ่งเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารทนุไทย จำกัด (มหาชน)
ที่ออกให้แก่ผู้เสียหายไป
หลังเกิดเหตุจำเลยได้นำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวไปใช้เบิกถอนเงิน จำนวน
๒๐๐,๐๐๐
บาท ผ่านเครื่องฝาก -
ถอนเงินอัตโนมัติไปจากวงเงินบัตรเครดิตของผู้เสียหายไปขายให้แก่นายเขียว เป็นเงิน
๕๐๐,๐๐๐
บาท
และได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่นายเขียว อันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ปลอมเอกสารสิทธิ ปลอม
และใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นที่ออกให้เพื่อใช้เบิกเงินกับขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาที่ดิน จำนวน
๕๐๐,๐๐๐
บาท และคืนเงิน จำนวน
๒๐๐,๐๐๐
บาทให้แก่ผู้เสียหาย
ให้วินิจฉัยว่า พนักงานอัยการโจทก์จะขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาที่ดิน จำนวน
๕๐๐,๐๐๐ บาทและคืนเงิน
จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท
ที่จำเลยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์เบิกถอนไปให้แก่ผู้เสียหายได้หรือไม่”
จากคำถามข้างต้น ประเด็นที่จะต้องพิจารณาในเบื้องต้น คือ
การที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๔๓
ให้อำนาจพนักงานอัยการที่จะเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนแทนผู้เสียหาย จากการกระทำความผิด ๙
ลักษณะเท่านั้น
ยังผลให้ตามกรณี
ความผิดลักทรัพย์เท่านั้นที่จะเป็นความผิดมูลฐานที่พนักงานอัยการจะเรียกทรัพย์สินหรือราคาทรัพย์คืนแทน ความผิดฐานอื่นกล่าวคือ ปลอมเอกสารสิทธิใช้เอกสารสิทธิ
ปลอมและใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นที่ออกให้เพื่อใช้เบิกเงิน ไม่อาจนำมาเป็นฐานในการเรียกทรัพย์สินหรือราคาทรัพย์คืนโดยพนักงานอัยการได้
ประเด็นต่อมา
คือพนักงานอัยการมีอำนาจที่จะขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาที่ดินจำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท หรือไม่ จำเลยลักโฉนดที่ดินผู้เสียหายไป
ทรัพย์สินของผู้เสียหายที่สูญเสียไปจึงเป็นโฉนดที่ดินเท่านั้น
แม้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่บุคคลภายนอกโดยได้รับเงิน จำนวน
๕๐๐,๐๐๐
บาท ตอบแทนก็ตาม แต่ก็เป็นเงินที่จำเลยได้มาจากการปลอมหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายแล้วขายที่ดิน
จึงมิใช่ทรัพย์สินของผู้เสียหายแล้วขายที่ดิน
จึงมิใช่ทรัพย์สินของผู้เสียหายแล้วขายที่ดิน จึงมิใช่ทรัพย์สินของผู้เสียหายที่สูญเสียไปเนื่องจากการกระทำ ผิดฐานลักทรัพย์ จึงไม่ต้องใช้ราคาที่ดินเป็นเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท
ตามที่ได้รับจากการขายที่ดินแก่ผู้เสียหาย
ประเด็นสุดท้าย คือ
พนักงานอัยการมีอำนาจที่จำขอให้จำเลยคืนเงิน จำนวน
๒๐๐,๐๐๐ บาท
ที่จำเลยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์เบิกถอนไปให้แก่ผู้เสียหายได้หรือไม่ เงินจำนวน
๒๐๐,๐๐๐ บาท
ที่จำเลยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ไปใช้เบิกถอนเงินของผู้เสียหายไปอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
๒๖๙/๕ และมาตรา ๒๖๙/๗
นั้น
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องว่า
จำเลยได้ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารทนุไทย จำกัด (มหาชน)
ซึ่งได้ออกให้แก่ผู้เสียหาย
อันเป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งที่จำเลยลักไปเพื่อประโยชน์ในการเบิกถอนเงินจำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท
ไปจากวงเงินเครดิตของผู้เสียหายโดยมิชอบ
และยังมีคำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเงินดังกล่าวย่อมแปลคำฟ้องโจทก์ได้ว่าโจทก์มุ่งประสงค์ที่จะให้ลงโทษจำเลยฐานลักเงินของผู้เสียหายอยู่ด้วย เพียงแต่วิธีการลักเงินดังกล่าวก็โดยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์เบิกถอนเงินผ่านเครื่องฝาก -
ถอนเงินอัตโนมัตินั่นเอง
จึงเป็นความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์และความผิดฐานลักทรัพย์ด้วย ดังนี้
พนักงานอัยการมีอำนาจขอให้จำเลยคืนเงิน
จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท
แก่ผู้เสียหายเท่านั้น
ซึ่งเป็นการนำคำพิพากษาฎีกาที่
๕๒/๒๕๕๓
มาเป็นหลักในการออกข้อสอบประเด็นหลังนี้นั่นเอง
โดยสรุป
ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหลักประการสำคัญเกี่ยวกับการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาเหล่านี้
จะเป็นประโยชน์กับท่านทั้งหลายในประการที่จะนำใช้ในการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายต่างๆ ต่อไป
ไม่ว่าจะในฐานะผู้พิพากษา
อัยการ ตำรวจ ทนายความ
อาจารย์ผู้สอนกฎหมาย
หรืออาชีพอื่นๆ
ในโอกาสนี้ขออวยพรให้ท่านทั้งหลายประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ทุกประการ
โดยขอให้ท่านประกอบวิชาชีพด้วยความสุจริตและคำนึงถึงประเทศชาติเป็นสำคัญและขอฝากคติในการดำรงตนและปฏิบัติหน้าที่แก่ท่านทั้งหลาย ดังนี้
“เที่ยงธรรมเป็นกลาง
สรรค์สร้างสามัคคี
โปร่งใสในหน้าที่ ภักดีต่อแผ่นดิน”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น