วิชา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม , พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ,พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 สามารถค้นหาคำพิพากษาฎีกาภายใน 1o ปี หลังสุดได้แล้วครับ จะเร่งเพิ่มวิชาต่อไปให้เสร็จตามมาเรื่อยๆครับ

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา
www.lawbooks-by-mrt.blogspot.com

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

บทบรรณาธิการ ภาค2 สมัย64 เล่ม4

                คำถาม บุคคลที่มีสิทธิบังคับคดีได้แก่บุคคลใด
                คำตอบ  มาตรา ๒๗๑ บัญญัติถึงผู้มีสิทธิขอให้บังคับคดีได้ คือ คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี ซึ่งเรียกว่า “เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา” ส่วนผู้ที่จะถูกบังคับคดี คือ คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี ซึ่งเรียกว่า “ลูกหนี้ตามคำพิพากษา” มาตรา ๒๗๑ ไม่ได้บัญญัติว่า ผู้ชนะคดีจะต้องเป็น “โจทก์” แสดงว่าผู้ชนะคดีอาจเป็นฝ่ายใดก็ได้ ฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายชนะคดีต้องพิจารณาจากคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล
                (๑) ไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีไม่มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดี
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๐๙๐/๒๕๔๙ โจทก์ฟ้องคดีขอให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทตามคำขอของโจทก์แล้ว จำเลยยื่นคำขอรังวัดแบ่งแยกที่ดิน ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น แต่เจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจดำเนินการให้ได้เพราะโจทก์และจำเลยต้องร่วมกันยื่นคำขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม จำเลยแจ้งให้โจทก์ดำเนินการยื่นคำขอรังวัดบางแยกร่วมกับจำเลย แต่โจทก์เพิกเฉยจำเลยจึงยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้โจทก์ดำเนินการยื่นคำรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทนั้น ตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๗๑ บัญญัติให้บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) เท่านั้น ที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งจำเลยไม่ใช่เป็นบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะจึงไม่มีสิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของจำเลยและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนมานั้นชอบแล้ว
                (๒) ผลของคำพิพากษาทำให้โจทก์และจำเลยต่างมีสภาพเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วยกัน จำเลยก็มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีได้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๘๑/๒๕๔๔ ตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นเป็นผลให้โจทก์และจำเลยต่างมีสภาพเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่มีหนี้ต้องชำระต่างตอบแทนกัน ในส่วนจำเลยจะต้องโอนสิทธิครอบครองในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ และโจทก์จะต้องชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยเช่นกัน อาศัยอำนาจตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๗๒ จำเลยย่อมมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับ เพื่อดำเนินการบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ภายใน ๑๐ ปีตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๗๑
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๔๙/๒๕๔๓ โจทก์และจำเลยต่างเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาด้วยกันทั้งสองฝ่าย โจทก์และจำเลยจึงต่างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์และจำเลยต่างฝ่ายจึงมีสิทธิบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษา ซึ่งการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองที่ดินตามคำพิพากษาโจทก์สามารถใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินได้เพียงฝ่ายเดียวอยู่แล้ว รวมทั้งการปลดภาระจำนองของที่ดินด้วย แต่โจทก์มีภาระต้องชำระค่าที่ดินที่ค้างก่อนจึงจะมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองที่ดินตามสัญญาเดิม ฉะนั้น จำเลยจึงมีสิทธิขอให้ศาลออกคำบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษา เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิขอให้ศาลมีหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการให้เป็นไปตามคำบังคับได้โดยชอบ ศาลชั้นต้นออกคำบังคับและหมายบังคับคดีชอบแล้ว ไม่มีเหตุจะต้องเพิกถอนหมายบังคับคดี
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๓๑๐/๒๕๔๔ แม้ ป.วิ.. มาตรา ๒๗๑ บัญญัติให้คู่ความฝ่ายชนะคดีเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาเอาแก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีคือลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ภายใน ๑๐ ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาก็ตาม แต่ด้วยผลของคำพิพากษา นอกจากโจทก์ได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่โจทก์พร้อมค่าเสียหายแล้ว โจทก์ยังอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่จะต้องชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นการตอบแทนจำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับโจทก์ชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองเช่นกัน ดังนี้ เมื่อจำเลยทั้งสองได้เสนอชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์แล้ว และได้นำโฉนดที่ดินที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์พร้อมค่าเสียหายกับดอกเบี้ยมาวางศาลเพื่อให้โจทก์มารับไปดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา ทั้งศาลได้มีคำบังคับให้โจทก์ชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองได้ยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาแล้วก็ไม่มีหนี้ที่โจทก์จะขอบังคับเอาจากจำเลยทั้งสองอีกต่อไป แต่โจทก์ยังคงมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่จะเลยทั้งสองตามคำพิพากษาคือ เงินค่าที่ดินที่เหลือเป็นการตอบแทนเพื่อให้การซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นอันเสร็จสิ้นไป เมื่อโจทก์ได้รับคำบังคับโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้แก่จะเลยทั้งสองภายในกำหนดตามคำบังคับ แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิที่จำขอหมายบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๗๕
                (๓) บุคคลที่มิใช่คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) ไม่มีสิทธิบังคับคดีได้
                ๓.๑ ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอม
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๑๓๗/๒๕๔๙
                ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๗๑ ผู้มีอำนาจขอให้บังคับคดีได้คือ คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวอาจเป็นโจทก์หรือจำเลยในคดีนั้น หรือเป็นบุคคลภายนอกซึ่งร้องสอดเข้ามาในคดีนั้นก็ได้ แต่ผู้ร้องมิได้เป็นโจทก์ เป็นจำเลยหรือเป็นผู้ร้องสอดผู้ร้องมีฐานะเป็นแต่เพียงผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมเท่านั้น จึงมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ไม่มีสิทธิบังคับคดีได้
                ๓.๒ ผู้รับโอนสิทธิและหน้าที่ในหนี้ตามคำพิพากษาจากโจทก์
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๕๖๗/๒๕๔๗ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๗๑ บัญญัติให้เป็นสิทธิและหน้าที่ของคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น ผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกที่อ้างว่าได้รับโอนสิทธิและหน้าที่ในหนี้ตามคำพิพากษาจากโจทก์ (โจทก์ได้โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยตามคำพิพากษาและการบังคับคดีให้ผู้ร้อง จึงขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นโจทก์แทนโจทก์เดิม) มิใช่คู่ความในคดีหรือเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะเป็นฝ่ายชนะคดีจึงไม่อาจที่จะเข้ามาสวมสิทธิโจทก์เพื่อดำเนินการอย่างใดเกี่ยวกับการบังคับคดีแก่จะเลยในคดีนี้ได้ ไม่ว่าผู้ร้องจำได้รับโอนสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ในหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ที่มีอยู่แก่จำเลยมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์เด็ดขาดหรือไม่ก็ตาม
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๘๖๒/๒๕๕๓ บุคคลที่มีสิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาจะต้องเป็นคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๗๑ ผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกที่อ้างว่าให้ได้รับโอนสิทธิและหน้าที่ในหนี้ตามคำพิพากษาจากโจทก์ที่มีอยู่แก่จำเลยไม่ใช่คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีตามคำพิพากษา จึงไม่อาจร้องขอให้บังคับคดีได้ นอกจากนี้ การที่จะเข้าสวมสิทธิแทนคู่ความหรือบุคคลที่เป็นฝ่ายชนะคดีนั้น ต้องมีบทบัญญัติของกฎหมายให้เข้าสวมสิทธิแทนได้ เช่น พระราชกำหนดปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.. ๒๕๔๐ พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.. ๒๕๔๑ พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.. ๒๕๔๔ เป็นต้น ผู้ร้องไม่ใช่บุคคลตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้เข้าสวมสิทธิแทนโจทก์ ผู้ร้องจึงไม่อาจเข้าสวมสิทธิแทนโจทก์เพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยได้
                .๓เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๕๖๒/๒๕๕๐ การบังคับคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๗๑ บัญญัติให้บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะเท่านั้นที่จะต้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งผู้ร้อง (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์) ขออนุญาตเข้าสวมสิทธิแทนโจทก์เพื่อบังคับคดีแก่จำเลย ไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะจึงไม่มีสิทธิตามกฎหมายดังกล่าว ทั้งไม่ใช่กรณีที่เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๒๓๓ ซึ่งหมายถึง การใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลโดยให้เจ้าหนี้เป็นโจทก์ฟ้องในนามของเจ้าหนี้แทนลูกหนี้ได้ รวมทั้งเรียกลูกหนี้ให้เข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๒๓๓ มิใช่เข้าสวมสิทธิในการบังคับคดีของลูกหนี้ซึ่งเป็นสิทธิที่กฎหมายกำหนดให้เป็นสิทธิแก่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะดังกล่าวมาแล้ว
                . ผู้สวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาโดยผลของกฎหมาย มีสิทธิบังคับคดีได้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๐๖๗/๒๕๔๙ โจทก์โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องแล้วให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.. ๒๕๔๑ มาตรา ๗ ผู้ร้องย่อมเข้าเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาโดยบทบัญญัติดังกล่าว และการเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาโดยผลของกฎหมายในกรณีนี้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค ๔ (และคำพิพากษาฎีกาที่ ๖๘๖๒/๒๕๕๓)
                ๕.ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ขอให้บังคับลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ได้ โดยถือว่าผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม .วิ.. มาตรา ๓๐๙ ตรี
                มาตรา ๓๐๙ ตรี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ขายให้แก่ผู้ซื้อ หากทรัพย์สินที่โอนนั้นมีลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารอยู่อาศัย และลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารไม่ยอมออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้น ผู้ซื้อชอบที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาลให้ออกคำบังคับให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้นภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด แต่ไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารไม่ปฏิบัติตามคำบังคับให้บังคับตามมาตรา ๒๙๖ ทวิ มาตรา ๒๙๖ ตรี มาตรา ๒๙๖ จัตว่า มาตรา ๒๙๖ ฉ มาตรา ๒๙๖ สัตต มาตรา ๒๙๙ มาตรา ๓๐๐ มาตรา ๓๐๑ และมาตรา ๓๐๒ โดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้เจ้าพนักงานสาลเป็นผู้ส่งคำบังคับโดยผู้ซื้อมีหน้าที่จัดการนำส่ง และให้ถือว่าผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารที่อยู่อาศัยในอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามบทบัญญัติดังกล่าว
                คำถาม ฟ้องแย้งที่อาศัยเหตุแห่งการฟ้องของโจทก์มาเป็นข้อกล่าวอ้างถือว่าเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมหรือไม่
                คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๒๒๔/๒๕๔๕ แม้ ป.วิ.. มาตรา ๑๗๗ วรรคสาม รับรองให้จำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การได้ แต่มีเงื่อนไขว่าหากฟ้องแย้งเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมก็ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก จำเลยอาศัยเหตุที่โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกหนี้เงินกู้และบังคับจำนองเป็นข้ออ้างว่าทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย มูลกรณีที่จำเลยกล่าวอ้างเป็นเรื่องที่โจทก์หาเหตุแกล้งฟ้องร้องจำเลยโดยไม่มีมูลอันเป็นเรื่องละเมิด ไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมที่โจทก์ขอให้บังคับให้จำเลยรับผิดตามเนื้อความในสัญญา จำเลยชอบที่จะฟ้องร้องเป็นคดีใหม่ต่างหาก ไม่อาจขอรวมมาในคำให้การได้ ตาม ป.วิ.. มาตรา ๑๗๗ วรรคสาม
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๑๔๓/๒๕๔๙ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาจ้างทำของจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยชำระค่าจ้างแก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์นำความอันเป็นเท็จมาฟ้องทำให้จำเลยเสียหาย ขอให้บังคับโจทก์ใช่ค่าเสียหายแก่จำเลยอันเป็นเรื่องละเมิด สภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องและฟ้องแย้งเป็นคนละเรื่อง คนละเหตุ ไม่เกี่ยวข้องกัน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๖๕/๒๕๕๑ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ ๔ ที่กล่าวอ้างใช้สิทธิทางศาลอันเนื่องมาจากการที่โจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลยที่ ๔ เพราะโจทก์ใช่สิทธิโดยไม่สุจริตเอาความเท็จมาฟ้องต่อศาล เป็นฟ้องแย้งที่อาศัยเหตุแห่งการฟ้องของโจทก์มาเป็นข้อกล่าวอ้าง ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิม จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๓๑๗/๒๕๕๓ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าเสียหาย ๕๐,๐๐๐ บาท แก่จำเลย โดยอ้างว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยไม่สุจริต ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย เพราะสูญเสียรายได้เนื่องจากต้องเก็บสินค้าที่วางจำหน่ายในท้องตลาดตามคำสั่งของกรมทรัพย์สินทางปัญญาในระหว่างรอฟังผลของคดีได้ เป็นการฟ้องแย้งโดยอาศัยเหตุที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เป็นข้ออ้างในการฟ้องแย้ง จึงเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ เป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.. ๒๕๓๙ มาตรา ๒๖ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๗ วรรคสาม และมาตรา ๑๗๙ วรรคท้าย
                                                                                                                    นายประเสริฐ       เสียงสุทธิวงศ์
                                                                                                                                     บรรณาธิการ
               

1 ความคิดเห็น:

  1. อย่างไรก็ตามมีหลักกฎหมายที่ศาลฎีกาวางบรรทัดฐานเอาไว้เรื่อง "ห้ามมิให้ค้าความ" เพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตกเป็นโมฆะ

    ทำให้เกิดปัญหาขึ้นในทางปฏิบัติว่า ความที่ห้ามค้านี้ เหตุใดจึงจำกัดเฉพาะคดีความในชั้นศาล ถ้าทำการโอนสิทธิเป็นเจ้าหนี้ใหม่ก่อนฟ้องแล้ว สามารถมีอำนาจฟ้องคดีได้ แสดงว่าเมื่อเป็นความแล้วทำให้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนใช่หรือไม่ ทั้งที่โอนสิทธิก่อนหน้าฟ้องคดีแล้วไม่กระทบเช่นนั้นหรือ

    ตอบลบ