วิชา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม , พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ,พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 สามารถค้นหาคำพิพากษาฎีกาภายใน 1o ปี หลังสุดได้แล้วครับ จะเร่งเพิ่มวิชาต่อไปให้เสร็จตามมาเรื่อยๆครับ

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา
www.lawbooks-by-mrt.blogspot.com

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คำพิพากษาฎีกาที่9865/2553

9865/2553    แม้พยานหลักฐานของโจทก์จะมีน้ำหนักรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 3  ได้ร่วมอยู่ในที่เกิดเหตุ โดยใช้ขวดเครื่องดื่มชูกำลังตีที่ศีรษะผู้เสียหายและเมื่อผู้เสียหายล้มลงไปนอนที่พื้น จำเลยที่ 3 ก็เตะทำร้ายผู้เสียหายจริง แต่พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 3 เข้าไปทำร้ายผู้เสียหายในที่เกิดเหตุนั้น ผู้เสียหายเบิกความว่า จำเลยที่ 1 ได้ขับรถจักรยานยนต์ไปยังที่เกิดเหตุพร้อมกับจำเลยที่  2  เมื่อจำเลยที่  1  เข้าไปพูดคุยกับ ด.ได้สักครู่หนึ่งจึงเห็นจำเลยที่ 3 เดินจากถนนเข้ามาทางประตูโรงเรียนโดยจำเลยที่ 3 เดินดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง และ ด.ให้การในชั้นสอบสวนว่าจำเลยที่ 3 เข้าไปในที่เกิดเหตุในภายหลัง  ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 ไม่ได้ร่วมเข้าไปในที่เกิดเหตุพร้อมกับจำเลยที่ 2 และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3ได้ร่วมตกลงใจกับจำเลยที่  2 ที่จะร่วมกันเข้าไปในที่เกิดเหตุเพื่อร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายแต่อย่างใด  ข้อเท็จจริงอาจเป็นไปได้ว่าเมื่อจำเลยที่ 3 เข้าไปถึงที่เกิดเหตุและพบเห็นจำเลยที่ 2 กับพวกทำร้ายผู้เสียหาย เนื่องจากจำเลยที่ 3 มีสาเหตุไม่พอใจผู้เสียหายมาก่อนแล้วจึงเข้าไปร่วมทำร้ายผู้เสียหายด้วย ฉะนั้นแม้จำเลยที่ 3 จะเข้าร่วมทำร้ายผู้เสียหายในขณะที่จำเลยที่ 2ใช้มีดดาบปาดคอทำร้ายผู้เสียหายก็ตาม พฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดของจำเลยที่ 3 ก็ยังมีเหตุสงสัยตามสมควรว่า จำเลยที่ 3 ได้กระทำโดยมีเจตนาร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2 ตามฟ้องหรือไม่  จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยที่ 3 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง  จำเลยที่  3 จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นตามฟ้อง สำหรับการกระทำของจำเลยที่ 3 ที่ทำร้ายผู้เสียหายโดยใช้ขวดเครื่องดื่มชูกำลังตีศีรษะและเตะที่ร่างกายผู้เสียหายนั้น ซึ่งไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บจากการกระทำของจำเลยที่ 3 แต่อย่างใด  การกระทำของจำเลยที่  3 จึงเป็นความผิดฐานใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม  ป.อ. มาตรา  391  แม้โจทก์จะไม่ได้ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 ตามมาตรานี้  ศาลฎีกาก็มีอำนาจลงโทษได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น