วิชา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม , พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ,พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 สามารถค้นหาคำพิพากษาฎีกาภายใน 1o ปี หลังสุดได้แล้วครับ จะเร่งเพิ่มวิชาต่อไปให้เสร็จตามมาเรื่อยๆครับ

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา
www.lawbooks-by-mrt.blogspot.com

วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2549

2473/2549    พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 122 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจพิเศษเฉพาะแก่อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นผู้พิจารณาว่าสมควรอนุญาตให้คดีใดอุทธรณ์หรือไม่ แทนที่จะเป็นอำนาจของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีนั้นดังเช่นคดีอาญาทั่ว ๆ ไป จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด ดังนั้น การที่มาตรา 122 ใช้ถ้อยคำว่า "...อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัว..." จึงมิได้หมายความว่าอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้อุทธรณ์ในคดีที่อยู่นอกเขตอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวกลางได้ การระบุชื่อตำแหน่งทั้งสองตำแหน่งก็เป็นเพียงการระบุชื่อตำแหน่งของผู้มีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้อุทธรณ์ของแต่ละศาลให้ถูกต้องกับศาลนั้น ๆ เท่านั้น หากแปลความว่าอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้อุทธรณ์ในคดีที่อยู่นอกเขตอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวกลางได้ด้วย ก็จะมีผลทำให้คดีที่อยู่นอกเขตอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมีผู้พิจารณาอนุญาตให้อุทธรณ์ถึง 2 คน และได้รับการพิจารณาในเรื่องดังกล่าวถึง 2 ครั้ง ซึ่งแตกต่างจากคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวกลางอันเป็นการได้รับสิทธิไม่เท่าเทียมกัน แม้ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 20 จะกำหนดให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเป็นผู้รับผิดชอบงานของศาลเยาวชนและครอบครัวทั่วราชอาณาจักร โดยให้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น และอธิบดีผู้พิพากษาภาคตามที่บัญญัติไว้ในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ก็เป็นความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่เฉพาะที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรมระบุไว้เท่านั้น มิได้ครอบคลุมถึงอำนาจในการพิจารณาอนุญาตให้อุทธรณ์ ซึ่งได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 122 ดังนั้น การพิจารณาอนุญาตให้อุทธรณ์จึงต้องเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวนั้น เท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น