คำถาม
คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้เข้าเป็นจำเลยร่วม
เข้าสวมสิทธิแทนโจทก์หรือให้โจทก์นำพยานหลักฐานเข้าสืบก่อน เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาหรือไม่
คำตอบ
มีคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ ดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 5018/2554คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้เข้าเป็นจำเลยร่วมเป็นคำสั่งก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ทั้งมิใช่คำสั่งตามที่ระบุไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 227 และมาตรา 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาตาม ป.วิ.พ.
มาตรา 226 (2) ประกอบมาตรา
247
โจทก์จึงอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นมิได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 618/2551 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้บริษัท บ.
เข้าสวมสิทธิแทนโจทก์ในขณะที่คดีที่จำเลยที่ 2
ร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ยังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
คำพิพากษาฎีกาที่ 338/2553คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้โจทก์นำพยานหลักฐานเข้าสืบก่อนเป็นคำสั่งที่มิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง ยังต้องมีการดำเนินกระบวนพิจารณากันต่อไป จึงเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณา
โจทก์ต้องโต้แย้งคำสั่งไว้จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 วรรคหนึ่ง (2)
คำถาม
การอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ฎีกา จะอยู่ในข้อบังคับข้อห้ามมิให้คู่ความ อุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224, 248 หรือไม่
คำตอบ
มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ ดังนี้
คำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ ท.2284/2553ฎีกาของจำเลยมิใช่เป็นฎีกาในเนื้อหาของคดี แต่เป็นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาเวลายื่นอุทธรณ์
ก็อยู่ในบังคับข้อห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง
คำพิพากษาฎีกาที่ 650/2554 จำเลยฎีกาว่า
ตามคำร้องของจำเลยเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ
จำเลยพยายามหาเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาลในชั้นอุทธรณ์ แต่ยังไม่สามารถจะหาเงินดังกล่าวได้ ซึ่งหากศาลไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์จะทำให้จำเลยเสียสิทธิในการดำเนินคดี เป็นฎีกาที่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่าพฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง แม้เป็นปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น
แต่เมื่อทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.248
วรรคหนึ่ง
คำถาม
คดีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินหลายแปลง การพิจารณาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่ ต้องแยกพิจารณาเฉพาะที่ดินแต่ละแปลงหรือไม่
คำตอบ
มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ ดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 3682/2554 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทรวม 8
โฉนดแก่โจทก์ให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินพิพาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินพิพาททั้งแปดแปลงเป็นของจำเลย
กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามคำฟ้องเป็นคดีมีทุนทรัพย์จึงต้องแยกออกเฉพาะที่ดินแต่ละแปลง จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาว่าที่ดินพิพาทรวม 2 แปลง
เป็นของจำเลย ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์สำหรับที่ดินทั้งสองแปลง แต่ละแปลงมีราคาไม่เกิน 50,000 บาท
จำเลยอุทธรณ์ว่า
ที่ดินทั้งสองแปลงเป็นของจำเลย
อันเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.
มาตรา 224 วรรคหนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ
ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศษลอุทธรณ์ภาค 3 ย่อมต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.
มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ส่วนที่ดินอีก 6 แปลง แต่ละแปลงมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท
จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 248
คำถามคดีที่มีโจทก์หลายคนร่วมกันฟ้องจำเลย
โดยโจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวเรียกเอาส่วนของตน
การพิจารณาทุนทรัพย์ว่าจะต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่ต้องพิจารณาแยกต่างหากจากกันหรือรวมกัน
คำตอบ
มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ ดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 1635/2552 โจทก์ทั้งสามร่วมกันฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีเดียวกันเพราะโจทก์ทั้งสามมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 แต่โจทก์ที่ 1 อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ม. บิดาโจทก์ที่
1 เมื่อ ม. ถึงแก่ความตายที่ดินเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ที่ 1 ต่อมาโจทก์ที่
1
แบ่งที่ดินออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่
1
เนื้อที่ 9 ไร่ 93 ตารางวา ราคาประมาณ
45,000
บาท โจทก์ที่ 1 ครอบครองทำประโยชน์ ส่วนที่
2
เนื้อที่ 7 ไร่ 2 งาน 53
ตารางวา
ราคาประมาณ 40,000 บาท โจทก์ที่
1 โอนสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ที่ 2 และส่วนที่
3
เนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 39 ตารางวา
ราคาประมาณ 40,000 บาท โจทก์ที่
1
โอนสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ที่ 3หลังจากนั้นโจทก์ทั้งสามขอออกโฉนดที่ดินแต่ละส่วนของแต่ละคน เป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนต่างครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามส่วนที่แต่ละคนขอรังวัดออกโฉนด อันเป็นการที่โจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตามมาตรา 55
การพิจารณาทุนทรัพย์ว่าต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
จึงต้องพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน
คำพิพากษาฎีกาที่ 2171/2553โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ ส. และ ข.
ฟ้องขอแบ่งมรดกจากจำเลยโดยให้จดทะเบียนเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินมรดกระหว่างจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกกับจำเลยในฐานะส่วนตัว และเพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยกับจำเลยร่วมทั้งสี่ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์และเป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งสองแต่ละคนใช้สิทธิฟ้องเรียกส่วนแบ่งทรัพย์มรดกจากจำเลยเป็นการเฉพาะตัว โจทก์แต่ละคนชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลได้โดยลำพัง แม้โจทก์ทั้งสองจะฟ้องคดีรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกต่างหากจากกัน คู่ความตีราคาทรัพย์พิพาทตามคำขอท้ายฟ้อง 210,000 บาท
ฉะนั้นทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนจึงคิดเป็นเงินเพียง 52,500 บาท
ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงเว้นแต่ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้รับรองให้ฎีกา ทั้งนี้ตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
เมื่อจำเลยและจำเลยร่วมทั้งสี่ได้ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 3
รับรองให้ฎีกาพร้อมกับฎีกาตามมาตรา 248 วรรคสี่
แล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะส่งคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 3
พิจารณาว่าจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่ก่อนแล้วจึงมีคำสั่งว่าจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่ก่อนแล้วจึงมีคำสั่งว่าจะรับฎีกาหรือไม่ การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่ไม่ได้นั่งพิจารณาคดีสั่งยกคำร้องและสั่งรับฎีกาดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นการผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนการพิจารณาที่ไม่ชอบเนื่องจากไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนคำสั่งของผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องและสั่งรับฎีกาดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.
มาตรา 243 (1) และมาตรา
27
ประกอบด้วยมาตรา 247
คำถาม ฟ้องว่าเป็นตัวการร่วมกระทำความผิด
ทางพิจารณาได้ความว่าเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิด ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้หรือไม่เพียงใด
คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ ดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 6633/2554 โจทก์บรรยายฟ้องว่า
จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและร่วมกันกระทำความฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้ให้จำเลยที่ 2 กระทำความผิด
มิใช่เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดด้วยกันตาม ป.อ. มาตรา 83 ดังที่โจทก์ฟ้อง จึงลงโทษจำเลยที่ 1
ฐานเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและร่วมกันกระทำความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุสมควรตามที่โจทก์ฟ้องไม่ได้ เพราะข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้องในข้อสาระสำคัญตาม ป.วิ.อ.
มาตรา 192 วรรคสอง
แต่การกระทำของจำเลยที่ 1
ถือได้ว่าเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2
ตามป.อ. มาตรา 86 ด้วย ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ตาม ป.วิ.อ.
มาตรา 192 วรรคท้าย
คำถาม คำพิพากษาศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยในเรื่องของกลางซึ่งโจทก์มีคำขอให้ริบ โจทก์ไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จะสั่งริบของกลางได้หรือไม่
คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ ดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 7713/2554 โจทก์มีคำขอให้ริบเครื่องสูบน้ำของกลางที่จำเลยที่ 1 และที่ 2
ใช้ในการกระทำความผิด
แต่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยว่าจะริบเครื่องสูบน้ำหรือไม่
ไม่ใช่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วแต่ไม่เห็นสมควรริบเครื่องสูบน้ำของกลาง คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.
มาตรา 186 (9) แม้โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค
3
จึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม
ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และการริบทรัพย์สิน แม้ตาม
ป.อ. มาตรา 18
จะบัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง แต่เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญต่างกับโทษสถานอื่น ซึ่งแม้จำเลยที่ 1 และที่
2
จะไม่ได้กระทำความผิดหรือกระทำความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ ศาลก็มีอำนาจสั่งริบทรัพย์ของกลางได้ จึงไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 และที่
2
(คำพิพากษาฎีกาที่ 3299/2547, 6247/2545,714/2542, 1020/2541 วินิจฉัยเช่นกัน)
นายประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น