คำถาม ผู้ซื้อส่งใบสั่งซื้อสินค้าทางโทรสารไปยังผู้ขาย
ผู้ขายจัดส่งสินค้าตามคำสั่งซื้อไปให้ผู้ซื้อ ณ ที่ทำการของผู้ซื้อ และผู้ซื้อยอมรับมอบสินค้าไว้
จะถือว่ามูลคดีเกิดขึ้น ณ สถานที่ที่ผู้ขายได้รับคำสั่งซื้อด้วยหรือไม่
คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยได้ดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่
6231/2556 คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายซึ่งถือว่าเป็นหนี้เหนือบุคคล
โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเสนอคำฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลก็ได้
ตามประมวลกฎหมายวีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4 (1)
แต่ตามคำฟ้องและข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับกันได้ความว่า โจทก์มีภูมิลำเนาที่อำเภอสัตหีบ
จังหวัดชลบุรี ส่วนจำเลยมีภูมิลำเนาที่อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
ในการติดต่อสั่งซื้อสินค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยนั้น จำเลยจะส่งใบสั่งซื้อสินค้าทางโทรสารไปยังที่ทำการห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ที่อำเภอสัตหีบ
จังหวัดชลบุรี หลังจากนั้นโจทก์จะจัดส่งสินค้าให้จำเลย
ณ ที่ทำการบริษัทจำเลยที่อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี เห็นว่า
การที่จำเลยทำคำเสนอส่งให้แก่โจทก์ทางโทรสารเป็นเพียงการแสดงเจนนาต่อโจทก์โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์บอกกล่าวสนองรับไปถึงจำเลย ณ
ที่นั้นเวลานั้นแต่อย่างใด ทั้งจำเลยไม่ได้แสดงเจตนาโดยถือว่าการดเนินการจัดส่งสินค้าเป็นการสอนงรับหรือปรากฎข้อเท็จจริงใดที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์แลจำเลยมีประเพณีปฏิบัติในการค้าต่อกันโดยไม่จำต้องมีคำสนองรับที่จะก่อให้เกิดสัญญาจนทำให้เกิดมูลหนี้ ณ
ภูมิลำเนาของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น การที่โจทก์จัดส่งสินค้าตามคำสั่งซื้อไปให้จำเลย
ณ ที่ทำการบริษัท จำเลยซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี และจำเลยได้ยอมรับมอบสินค้าไว้แทนการบอกกล่าวสนองรับ
จึงถือว่าสถานที่รับมอบสินค้าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้น
โจทก์จึงต้องฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาและมูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล
ทั้งกรณีไม่ใช่เรื่องมูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันในอันที่โจทก์และเสนอคำฟ้องได้ทั้งสองศาล
โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ศาลชั้นต้น ที่โจทก์ฎีกาว่า
การแสดงเจตนาของจำเลยมีผลนับแต่เวลาที่โจทก์ได้ทราบการแสดงเจตนา สัญญาซื้อขายจึงเสร็จสมบูรณ์
ณ ที่ทากรห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์นั้นเป็นเรื่องผลของการแสดงเจตนา
เมื่อไม่มีการสนองรับในขณะนั้น จึงถือไม่ได้ว่าสัญญาซื้อขายเสร็จสมบูรณ์ ณ
สถานที่และในเวลาเดียวกันกับที่มีคำเสนอตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168
และ 365
คำถาม
การยื่นคำร้องขอกันส่วนจะต้องยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์สินออกขายทอดตลาดหรือไม่
คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยได้ดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 6244/2556 ผู้ร้องบรรยายคำร้องขอว่า
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองที่ดินที่โจทก์นำยึดซึ่งจำเลยที่ 1 และ ก.
เจ้าของรวมนำมาจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้กู้ยืมของ น. เมื่อ น. ไม่ชำระหนี้
ผู้ร้องบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยที่ 1 และ ป. ทายาทโดยธรรมของ ก. แล้ว
ขอให้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้แก่ผู้ร้อง
เนื้อหาตามคำร้องขอจึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ส่วนที่เป็นของ
ก. ออกจากเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์
จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้ผู้รับจำนองใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 287 เพื่อขอรับชำระหนี้จำนอง ซึ่งสิทธิของผู้ร้องเช่นว่านี้
ถือได้ว่าเป็นบุริมสิทธิอื่น ๆ ที่อาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์นั้นได้ตามมาตรา
287 ไม่อยู่ในบังคับกำหนดเวลาตามมาตรา 289 วรรคสอง ที่ผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์จำนองนั้นออกขายทอดตลาด
ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินซึ่งจำนองก่อนเจ้าหนี้รายอื่นรวมทั้งโจทก์ด้วย
คำถาม ผู้เสียหายที่แท้จริง (ผู้ตาย)
ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย บิดามารดาของผู้ตายจะมีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการและยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
หรือไม่
คำตอบ
มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ ดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 2367/2556 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
290 จำเลยให้การปฏิเสธ
ระหว่างพิจารณา นาย
ภ. และนาง ว. บิดาและมารดาของผู้ตาย ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์
ศาลชั้นต้นอนุญาต
และยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดไร้อุปการะ ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายในการจัดการศพผู้ตาย
พร้อมดอกเบี้ย
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า นาย
ป. ผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุทำร้ายจำเลยก่อน
การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำเพราะถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
เป็นการกรทำความผิดโดยบันดาลโทสะ และพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 290 วรรคแรก ประกอบมาตรา 72
โจทก์ร่วมทั้งสองไม่อุทธรณ์ในปัญหาที่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกรทำความผิดโดยบันดาลโทสะหรือไม่
ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติว่าผู้ตายเป็นก่อนให้จำเลยกระทำความผิดดังนี้
ผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา
290 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 2 (4) โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งเป็นบิดาและมารดาของผู้ตาย
ย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณามาตรา 5 (2)
และไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 30
และยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 44/1 กับไม่มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
และขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้นาย ภ. และนาง ว.
เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ และศาลล่างทั้งสองพิพากษา
ให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมทั้งสองจึงไม่ชอบ
ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา
ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195
วรรคสองประกอบมาตรา 225 ”
พิพากษาแก้เป็นว่า
ให้ยกคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ของนาย ภ. และนาง ว.
และคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนของนาย ภ. และนาง ว.
ยกฎีกาของโจทก์ร่วมทั้งสอง
คำถาม ลูกหนี้นำโฉนดที่ดินไปมอบให้แก่เจ้าหนี้ยึดถือไว้เพื่อประกันหนี้เงินกู้แล้วไปแจ้งแก่พนักงานที่ดินว่าโฉนดที่ดินสูญหายไป
เพื่อขอออกใบแทนโฉนดที่ดินแล้วจดทะเบียนโอนขายที่ดินแก่บุคคลอื่น ดังนี้
เจ้าหนี้จะเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 137 หรือไม่
คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยได้ดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 8929/2556 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยแจ้งความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครปฐมว่าโฉนดที่ดินเลขที่
58366 ต้นฉบับสูญหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ จึงขอใบแทนโฉนดที่ดินอันเป็นความเท็จ
จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่า
ความจริงจำเลยนำโฉนดที่ดินไปมอบให้แก่โจทก์ยึดถือไว้เพื่อประกันหนี้เงินกู้ที่จำเลยกู้เงินโจทก์และจำเลยยังไม่ได้ชำระหนี้คืน
ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “
ข้อเท็จจริงที่มิได้โต้เถียงกันในชั้นฎีกาฟังเป็นยุติว่า
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์โดยมอบโฉนกที่ดินให้แก่โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกัน วันที่ 11 กันยายน 2550
จำเลยแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครปฐมว่าโฉนดที่ดินสูญหายไป
โดยไม่ทราบสาเหตุและมีความประสงค์ขอออกใบแทนโฉนดที่ดิน
เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการออกใบแทนโฉนดที่ดินให้วันที่ 21 พฤศจิกายน 2550
จากนั้นวันที่ 25 สิงหาคม 2551 จำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินให้แก่บุคคลอื่น
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในปัญหาข้อกฎหมายว่า
โจทก์มิใช่ผู้เสียหาย จึงไม่มีอำนาจฟ้องหรือไม่
เห็นว่านิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน
โจทก์มีฐานะเป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญของจำเลย
การที่จำเลยมอบโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์เพื่อยึดถือไว้เป็นประกันการกู้ยืมเงิน
แม้ทำให้โจทก์มีสิทธิในอันที่จะยึดโฉนดที่ดินไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้จากจำเลยสิ้นเชิง
แต่มิได้ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องบังคับเอาแก่ที่ดินหรือบังคับอย่างใด ๆ
ต่อโฉนดที่ดินที่จำเลยวางเป็นประกันได้เลยไม่ว่าในทางใด
โจทก์คงมีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยได้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินอย่างเจ้าหนี้สามัญเท่านั้น ดังนี้
การที่จำเลยไปแจ้งแก่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครปฐมว่าโฉนดที่ดินสูญหาย
ไปเพื่อขอออกใบแทนโฉนดที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จหรือไม่
ย่อมมิได้กระทบต่อสิทธิอย่างใด ๆ
ของโจทก์ในอันที่จะบังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน
สิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้สามัญมีอยู่อย่างไรคงมีอยู่เพียงนั้น
มิได้ลดน้อยถอยลงไป ทั้งในการแจ้งแก่เจ้าพนักงานที่ดินโดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับโจทก์
เพราะจำเลยมิได้กล่าวพาดพิงเจาะจงถึงโจทก์ในอันจะถือว่าทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย
โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4)
โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 137
นายประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์
บรรณาธิการ
Harrah's Resort Atlantic City - MapYRO
ตอบลบHarrah's Resort Atlantic City is a 남원 출장샵 casino and hotel in Atlantic City, NJ. 용인 출장안마 See map and reviews. Search for 상주 출장안마 travel deals near 김포 출장마사지 Harrah's 경상북도 출장마사지 Resort Atlantic City.