วิชา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม , พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ,พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 สามารถค้นหาคำพิพากษาฎีกาภายใน 1o ปี หลังสุดได้แล้วครับ จะเร่งเพิ่มวิชาต่อไปให้เสร็จตามมาเรื่อยๆครับ

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา

จำหน่ายเอกสารรวมคำพิพากษาฎีกา 10 ปี ล่าสุด แยกเป็นรายวิชา
www.lawbooks-by-mrt.blogspot.com

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้วตายลง

ผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้วตายลง
ประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์
                การตั้งผู้แทนเฉพาะคดีก็เพื่อดำเนินคดีแทนผู้เสียหายที่เป็นผู้เยาว์หรือผู้วิกลจริตที่ไม่มีผู้ดำเนินคดีแทน เมื่อผู้เสียหายถึงแก่ความตายไปก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์เป็นผู้แทนเฉพาะคดี ย่อมไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อมาดำเนินคดีแทนตาม ป.วิ.อ มาตรา ๖ อีกต่อไป ทั้งกรณีไม่ใช่ผู้เสียหายถึงแก่ความตายหลังจากที่ศาลตั้งโจทก์เป็นผู้แทนเฉพาะคดีและได้ยื่นฟ้องไว้แล้วตาม ป.วิ.อ มาตรา ๒๙ วรรคสอง...
                ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๒๙ บัญญัติว่า
                เมื่อผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาจะดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปก็ได้
                ถ้าผู้เสียหายที่ตายนั้นเป็นผู้เยาว์ ผู้วิกลจริต หรือผู้แทนเฉพาะคดีได้ยื่นฟ้องแทนไว้แล้วผู้ฟ้องแทนนั้นจะว่าคดีต่อไปก็ได้
๑.       กรณีผู้เสียหายตายก่อนยื่นฟ้อง
ในคดีอาญานั้น อำนาจฟ้องคดีของผู้เสียหายถือเป็นสิทธิเฉพาะตัว  ไม่อาจมีการโอนหรือตกทอดทางมรดกกันได้  ในคดีอาญาจึงไม่มีการรับมรดกความเรื่องอำนาจฟ้อง  ถ้าผู้เสียหายถึงแก่ความตายไปก่อนที่จะยื่นฟ้องผู้กระทำความผิด  สิทธิฟ้องคดีของผู้เสียหายเป็นอันยุติจะไม่มีการรับมรดกความ  ตัวอย่างเช่น
จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานเกี่ยวกับโฉนดที่ดินของมารดาโจทก์ในขณะที่มารดาโจทก์ยังมีชีวิตอยู่  มารดาโจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย  เมื่อมารดาโจทก์ตาย  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา  ,  ,  และ    มิได้ให้อำนาจโจทก์ฟ้องคดีแทนมารดา  แม้โจทก์จะเป็นบุตรและเป็นทายาทผู้รับมรดกที่ดินตามโฉนดนั้นและเพิ่งทราบการกระทำของจำเลยหลังจากมารดาโจทก์ตาย  แต่สิทธิฟ้องคดีอาญาเป็นเรื่องเฉพาะตัวไม่ตกทอดมายังโจทก์  โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาแจ้งความเท็จ  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๔๗๘/๒๕๑๕)
จำเลยกระทำความผิดต่อ  .  เจ้ามรดกในขณะที่  .  ยังมีชีวิตอยู่  .  จึงเป็นผู้เสียหาย  เมื่อ  .ถึงแก่ความตายโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทโดยธรรมของ  .  ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทน  .  เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา  ,,  ไม่ได้ให้อำนาจโจทก์ไว้ ทั้งสิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ตกทอดมายังโจทก์  แม้จะพิจารณาได้ความตามฟ้องว่าทรัพย์มรดกของ  .  ตกได้แก่โจทก์ก็ตาม  แต่ทรัพย์มรดกนั้นก็เพิ่งตกมาเป็นของโจทก์ภายหลังวันที่จำเลยกระทำความผิดโจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย  พิพากษายกฟ้อง  (คำพิพากษาฎีกาที่๒๒๑๙/๒๕๒๑)
หมายเหตุ  การฟ้องคดีอาญา  .วิ.  มาตรา  , ,  ไม่ได้ให้อำนาจผู้จัดการมรดกฟ้องแทนผู้เสียหาย  ทายาทและผู้จัดการมรดกฟ้องคดีอาญาฐานปลอมเอกสาร  ยักยอกและฉ้อโกงทรัพย์ของผู้ตายที่ความผิดเกิดก่อนตายไม่ได้  สิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ตกทอดมายังทายาท
จำเลยร่วมกับ  .  ใช้หรืออ้างพินัยกรรมของ  .  ซึ่งเป็นพินัยกรรมปลอมรับโอนมรดกที่ดินมาเป็นของ  .  ขณะเกิดเหตุ  .  บุตร  .  ยังมีชีวิตอยู่  บ. จึงเป็นผู้เสียหายเมื่อ  .  ตาย  .วิ..  มาตรา  ,  ,    ไม่ได้ให้อำนาจโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรมของ บ.   ที่จะฟ้องคดีแทน  บ.  ได้  โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายในข้อหาใช้หรืออ้างเอกสารปลอมตาม  .อ.  มาตรา  ๒๖๘  และในข้อหาแจ้งความเท็จตามมาตรา  ๑๓๗  จึงไม่มีอำนาจฟ้อง  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๓๓๙๕/๒๕๒๕)
จำเลยทำผิดฐานลักทรัพย์  ปลอมหนังสือ  และทำพยานหลักฐานเท็จ  จำเลยทำก่อนผู้เสียหายถึงแก่กรรม  และผู้เสียหายไม่ดำเนินการต่อไป  เมื่อผู้เสียหายถึงแก่กรรม  ทายาทและผู้จัดการมรดกก็มาฟ้องคดีอาญา  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า  ไม่มีอำนาจฟ้อง  เพราะโจทก์ก็ไม่ได้ดำเนินคดีไว้ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ไว้  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๑๔๙/๒๔๗๒)

ข้อยกเว้น
๑.๑ ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๕()  บัญญัติให้ผู้บุพการี  ผู้สืบสันดาน  สามีหรือภริยาสามารถจัดแทนได้
                ๑.๒  กรณีความผิดฐานหมิ่นประมาท  ประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา  ๓๓๓  บัญญัติว่า  ถ้าผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาทตายเสียก่อนร้องทุกข์  ให้บิดามารดา  คู่สมรสหรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย”
                กรณีผู้เสียหายเพียงแต่ร้องทุกข์  ยังไม่ได้ฟ้องคดี  แล้วตายลงย่อมไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา  ๒๙
                คำพิพากษาฎีกาที่  ๕๑๖๒/๒๕๔๗  โจทก์ฟ้องว่า  โจทก์เป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของนายวาด  สาตรร้าย  เมื่ระหว่างวันที่  ๒๑  มกราคม  ๒๕๓๖  ถึงวันที่    พฤศจิกายน  ๒๕๔๑  วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด  จำเลยโดยทุจริตหลอกหลวงนายวาด  สาตรร้าย  ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งหลายครั้ง  โดยแต่ละครั้งจำเลยหลอกหลวงนายวาดว่าจะถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของนายวาดที่ธนาคารต่างๆเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในบ้านและทำบุญเพียงเล็กน้อยเป็นเงินไม่เกิน  ,๐๐๐  บาท  ขอให้นายวาดลงชื่อในใบถอนเงินซึ่งเป็นความเท็จ  ความจริงจำเลยประสงค์จะให้นายวาดลงชื่อในใบถอนเงินแล้วจำเลยจะนำไปกรอกตัวเลขจำนวนเงินที่สูงและเบิกถอนเงินสดไปเป็นประโยชน์ของจำเลย  นายวาดหลงเชื่อจำเลยจึงลงชื่อในใบถอนเงินที่ไม่ได้กรอกตัวเลขไปหลายครั้ง  แล้วจำเลยนำใบถอนเงินนั้นไปกรอกจำนวนเงินที่สูงกว่าที่แจ้งแก่นายวาดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น  ๑๕,๖๓๐,๐๐๐ บาท  ถึงวันที่    พฤศจิกายน  ๒๕๕๑  นายวาดทราบการกระทำผิดของจำเลย  วันที่  ๑๘  ธันวาคม  ๒๕๔๑  นายวาดจึงร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนต่อมานายวาดถึงแก่ความตายโจทก์จึงฟ้องคดีนี้ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา  ๓๔๑
                ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้ววินิจฉัยว่า  โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหาย  โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องพิพากษายกฟ้อง
                โจทก์อุทธรณ์
                ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
                โจทก์ฎีกา  โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า  คดีมีปัญหาตามฎีกาของโจทก์ว่า  โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา  ()  บัญญัติว่า  ผู้เสียหายหมายถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่ง  รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ดังบัญญัติไว้ในมาตรา  ,  ,  มาตรา  ()  บัญญัติว่า  ผู้บุพการี  ผู้สืบสันดาน  สามีหรือภริยา  จัดการแทนผู้เสียหายเฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้  มาตรา  ๒๘  บัญญัติว่า  บุคคลเหล่านี้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล()  พนักงานอัยการ  ()  ผู้เสียหาย  มาตรา  ๒๙  บัญญัติว่า  เมื่อผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องแล้วตายลงผู้บุพการี  ผู้สืบสันดาน  สามีหรือภริยาจะดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปก็ได้  เห็นว่า  นายวาด  สาตรร้ายบิดาโจทก์เป็นผู้เสียหายโดยตรง  ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา ๒()นายวาดตายโดยไม่ได้ถูกทำร้ายถึงตาย  ตามมาตรา  ()  โจทก์ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานจึงไม่มีอำนาจจัดการแทนนายวาดฟ้องจำเลยได้  ปรากฎว่านายวาดเพียงแต่ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจเท่านั้นยังไม่ได้ฟ้องคดี  จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา  ๒๙  ที่โจทก์จะดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปได้  โจทก์ไม่ได้เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา  ()โจทก์ไม่ได้เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา  ๒(๔)  โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย  ที่โจทก์ฎีกาว่า  เมื่อนายวาดร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยเกี่ยวด้วยทรัพย์ของนายวาด  ดังนั้น  เมื่อนายวาดตายสิทธิที่นายวาดได้ร้องทุกข์ไว้ต่อเจ้าพนักงานตำรวจจึงตกเป็นมรดกแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์  มาตรา  ๑๕๙๙  และมาตรา  ๑๖๐๐  ดังนั้น  โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของนายวาดจึงมีอำนาจสวมสิทธิที่นายวาดร้องทุกข์ไว้ดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไปได้  โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย  เห็นว่า  การฟ้องคดีต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  เมื่อโจทก์ไม่ได้เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา  ()  เสียแล้ว  โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง  ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษานั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย  ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น  พิพากษายืน.

๒.      กรณีผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้วตายลง  (หมายความรวมถึงขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมด้วย)
๒.๑  คำว่า  ผู้เสียหาย  ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา  ๒๙หมายความถึงผู้เสียหายที่แท้จริงหรือผู้เสียหายโดยตรงเท่านั้น  มิใช่ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้วตายลง
บิดาฟ้องคดีซึ่งบุตรถูกฆ่าตาย  ระหว่างพิจารณาบิดาตาย  บุตรของบิดาอีกคนหนึ่งเจ้าดำเนินคดีต่อไปไม่ได้  ไม่เข้า  .วิ.อ  มาตรา  ๒๙
ผู้เสียหายในคดีนี้คือ  นางบุญเหลือ  ธนูศร  ซึ่งถูกทำร้ายถึงตาย  ส่วนนายตือ  แซ่เตียหรือแซ่เซีย  โจทก์ซึ่งเป็นบิดาของนายบุญเหลือ  ธนูศร  ผู้ตาย  ได้ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้  นายตือแซ่เตียหรือแซ่เซีย  โจทก์จึงเข้ามาจัดการแทนนางบุญเหลือ  ธนูศร  ผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา  ()  ดังนั้น  การที่นายตือ  แซ่เตียหรือแซ่เซีย  ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรของนายตือแซ่เตียหรือแซ่เซียโจทก์  หามีสิทธิดำเนินคดีต่างนายตือ  แซ่เตียหรือแซ่เซีย  ตายลงระหว่างพิจารณานายโกวิทย์  เชื่อพาณิชย์  หรือแซ่เตียหรือแซ่เซีย  ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรของนายตือแซ่เตียหรือแซ่เซีย  โจทก์  หามีสิทธิดำเนินคดีต่างนายตือ  แซ่เตียหรือแซ่เซีย  โจทก์ผู้ตายต่อไปตามความหมายของบทบัญญัติ  มาตรา  ๒๙  แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่  เพราะนายตือ  แซ่เตียหรือแซ่เซีย  โจทก์  เป็นผู้จัดการแทนนางบุญเหลือ  ธนูศร  ผู้เสียหายซึ่งถูกทำร้ายถึงตายเท่านั้น(คำพิพากษาฎีกาที่  ๒๓๓๑/๒๕๒๑  ต่อมามีฎีกาที่  ๕๗๘/๒๕๓๕  วินิจฉัยเช่นกัน)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประทวลกฎหมายอาญา  มาตรา  ๒๘๘  โจทก์ร่วมเป็นบิดาของผู้ตาย  โจทก์ร่วมจึงเข้าจัดการแทนผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา  ()  เมื่อโจทก์ร่วมถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา  ทายาทของโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ถึงแก่ความตายต่อไป  ตามความหมายของบทบัญญัติมาตรา  ๒๙  แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  ที่ศาลชั้นต้นอนุญาติให้  ส.  ทายาทของโจทก์ร่วมเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วม  จึงเป็นการไม่ชอบ  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๑๑๘๗/๒๕๔๓)
โจทก์ร่วมที่    เป็นบิดาเด็กหญิง  ร.  มีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ก็ได้โดยฐานเป็นผู้จัดการแทนเด็กหญิง  ร.  ผู้ตายตาม  ป.วิ.อ  มาตรา  ()  ต่อมาระหว่างพิจารณาของศาลโจทก์ร่วมที่    ถึงแก่ความตาย  .  ภริยาโจทก์ร่วมที่    หามีสิทธิเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมที่    ตามความหมายแห่ง  ป.วิ.อ  มาตรา  ๒๙  ไม่  เพราะโจทก์ร่วมที่    เป็นเพียงผู้จัดการแทนเด็กหญิง  ร.  ผู้ตายเท่านั้นโจทก์ร่วมที่   ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยตรง  ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้  ส.เข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมที่    จึงเป็นการไม่ชอบ  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๕๘๘๔/๒๕๕๐)
จ.  ยื่นคำร้องอ้างว่าเป็นสามีของโจทก์ร่วมขอเข้ารับมรดกความของโจทก์ร่วมซึ่งถึงแก่ความตาย  เท่ากับ  จ.  ขอเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วม  เมื่อโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีในฐานะผู้จัดการแทน  .  ผู้ตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา  ()  จ.  ซึ่งเป็นสามีของโจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมตามมาตรา  ๒๙  เพราะโจทก์ร่วมเป็นเพียงผู้จัดการแทน  ส.  ไม่ใช่ผู้เสียหายในคดี  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๑๓๐๓/๒๕๕๑)
๒.๒  การดำเนินกระบวนพิจารณาบางอย่างในศาล  เช่น  การยื่นคำร้องขอรับของกลางคืนการร้องขอให้ปล่อยตามมาตรา  ๙๐  แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  ถ้าผู้ร้องตายลงบุคคลตามที่ระบุไว้ใน  ป.วิ.อ  มาตรา  ๒๙  เข้าดำเนินคดีต่อไปได้
ผู้ร้องถูกตำรวจควบคุม  ศาลยกคำร้องที่ขอให้ปล่อย  ตาม  .วิ.อ  มาตรา  ๙๐  ระหว่างอุทธรณ์ตำรวจปล่อยผู้ร้องไปแล้ว  ไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ว่าการคุมขังไม่ชอบด้วยกฎหมาย  ผู้คัดค้านฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์  ระหว่างฎีกาผู้ร้องตาย  ผู้สืบสันดานเข้าดำเนินคดีต่อไปตาม  ป.วิ.อ  มาตรา  ๒๙  ได้  (คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๓๙๒/๒๕๒๒  อ้างฎีกาที่  ๑๘๕๓/๒๕๐๖)
ผู้ร้องขอรับของกลางคืนถึงแก่ความตาย  ภริยาผู้ตายย่อมมีสิทธิเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปได้ตาม  ป.วิ.อ  มาตรา  ๒๙  ในเมื่อคดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล  แม้จะขอเข้ามาดำเนินคดีต่างผู้ตายเกินหนึ่งปี  เพราะบทกฎหมายดังกล่าวมิได้กำหนดระยะเวลาไว้  (คำสั่งคำร้องของศาลฏีกาที่  ๑๕๙๕/๒๕๒๘)
๒.๓  ความหมายของคำว่าผู้บุพการี  ผู้สืบสันดาน  สามีหรือภริยา
ผู้บุพการี  หมายถึง  ผู้สืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป  เช่น  บิดา  มารดา  ปู่  ย่า  ตา  ยาย
ผู้สืบสันดาน  หมายถึง  ผู้สืบสายโลหิตโดยตรงลงมา  เช่น  ลูก  หลานเหลน
คำว่า  ผู้บุพการีและผู้สืบสันดาน  ถือตามความเป็นจริง
ผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้วตายลง  ผู้สืบสันดานความเป็นจริงของผู้เสียหายซึ่งแม้จะไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายก็มีสิทธิดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปได้ตาม  ป.วิ.อ  มาตรา  ๒๙  วรรคแรกและเมื่อผู้สืบสันดานของผู้เสียหายยังเป็นผู้เยาว์  มารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ก็ดำเนินคดีแทนผู้เยาว์ได้ตาม  ป.วิ.อ  มาตรา  ๕๖  ประกอบด้วย  ป.วิ.อ  มาตรา  ๑๕  โดยมารดาไม่ต้องขออนุญาตเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของผู้เยาว์ต่อศาลก่อน  (คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๕๑๑๙/๒๕๓๐)และดูคำพิพากษาศาลฏีกาที่  ๓๐๓/๒๔๙๔,  ๑๕๒๗/๒๕๒๗,๑๓๘๔/๒๕๑๖)
คำว่า  สามีภริยา  หมายความถึง  สามีภริยาที่จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย  (เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๑๓๓๕/๒๔๙๔,  ๑๙๕๖/๒๔๙๗, ๑๐๕๖/๒๕๐๓)
๒.๔  บุคคลภายนอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ใน  ป.วิ.อ  มาตรา  ๒๙  ไม่มีอำนาจเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตาย
ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมแล้วตายลง  แม้ผู้ร้องจะเป็นพี่ชายของโจทก์ร่วมผู้ตายซึ่งเกิดจากบิดามารดาเดียวกัน  และเป็นผู้จัดการมรดกของโจทก์ร่วมผู้ตายด้วยก็ตาม  แต่ผู้ร้องมิใช่บุคคลตาม  .วิ.  มาตรา  ๒๙  ที่จะขอเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ตายโดยอนุโลมต่อไปได้  ดังนั้นผู้ร้องจึงหามีสิทธิถอนคำร้องทุกข์  หรือมีคำขออื่นใดแทนโจทก์ร่วมผู้ตายได้  (คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๒๒๔๒/๒๕๓๓)
ผู้ร้องเป็นบุตรของน้องโจทก์ร่วมที่    จึงมิใช่ผู้สืบสันดานมีสิทธิดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปได้  ๑๓/๒๕๓๔)
ผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้วตายลง  ผู้บุพการี  ผู้สืบสันดาน  สามีหรือภริยาจะดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปได้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา  ๒๙  ซึ่งบัญญัติเรื่องการเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายไว้โดยชัดแจ้งแล้ว  จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  มาตรา  ๔๒  และมาตรา  ๔๓  มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๑๓๐๓/๒๕๕๑)
.  การรับมรดกความอาจต้องห้ามถ้าเป็นคดีอุทลุม
บิดาฟ้องมารดาเป็นจำเลยหาว่าร้องเรียนเท็จ  แจ้งความเท็จ  ระหว่างพิจารณาบิดาตายบุตรจึงร้องขอรับมรดกความแทนบิดา  ดังนี้  ก็นับได้ว่าอยู่ในฐานะเป็นผู้ฟ้องบุพการีของตน ต้องด้วยข้อห้ามตาม  ..  มาตรา  ๑๕๖๒  (คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๑๕๕๑/๒๔๙๔)  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา  ๑๕๖๒บัญญัติว่า  ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้  แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ  อัยการจะยกคดีว่ากล่าวก็ได้
.  การข้อเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายหรือไม่  เป็นสิทธิ
เช็คพิพาทถึงกำหนดภายหลังจากผู้ตายถึงแก่ความตาย  สิทธิตามเช็คพิพาทจึงเป็นมรดกได้แก่โจทก์ผู้ทรงเช็คซึ่งเป็นทายาทผู้ตายทันทีตาม  ..  มาตรา  ๑๕๙๙  โจทก์จึงเป็นผู้ทรงสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย  เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท  ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายและเป็นผู้เสียหายโดยตรงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่    ซึ่งเป็นผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องแล้วตายลง  โจทก์ที่    ซึ่งเป็นมารดาของโจทก์ที่    ผู้ตาย  ไม่ประสงค์จำดำเนินคดีแทน  ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่    ที่จะร้องต่อศาลขอให้จำหน่ายคดีโจทก์ที่    ได้  เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน  คำสั่งศาลชั้นต้นที่จำหน่ายคดีเฉพาะโจทก์ที่    จึงชอบแล้ว
สิทธิตามเช็คพิพาทเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ทั้งสาม  โจทก์ทั้งสามย่อมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในเช็คพิพาท  โจทก์ทั้งสามคนใดคนหนึ่งสามารถที่จะฟ้องร้องให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยได้โดยลำพัง  โดยไม่จำต้องใช้สิทธิร่วมกัน  ทั้งการฟ้องคดีของโจทก์ทั้งสามเป็นการใช้สิทธิในฐานะผู้เสียหาย  มิใช่สิทธิในฐานะผู้จัดการมรดก  การที่ศาลจำหน่ายคดีของโจทก์ที่    เนื่องจากโจทก์ที่    ถึงแก่ความตายก็หาทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์ที่    และที่    ต้องระงับไปไม่  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๓๑๖๙/๒๕๔๓)
๒.๗  การอนุญาติให้ดำเนินคดีต่างผู้ตายหรือไม่  เป็นดุลพินิจของศาล
โจทก์ร่วมถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา  ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายปรากฏว่าผู้ร้องเป็นภริยาจำเลยอาจทำให้พยานหลักฐานโจทก์เสียหายได้  จึงไม่เป็นการสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ตาย  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๕๑๓๙/๒๕๓๙)

ระยะเวลาเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตาย
ศาลฎีกาสั่งว่า  พิเคราะห์แล้วจากคำแถลงรับของโจทก์ประกอบภาพถ่ายมรณบัตรและใบสำคัญการสมรส  เชื่อว่า  นายอุดม  เปี้ยจีโน  ผู้ร้องขอรับของกลางคืนถึงแก่ความตายจริงนางจันทร์ฟอง  เปี้ยจีโน  ย่อมมีสิทธิขอเข้าดำเนินคดีต่างนายอุดม  เปี้ยจีโน  ผู้ตายต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา๒๙  แม้จะเป็นการขอเข้ามาดำเนินคดีต่างผู้ตายเกินหนึ่งปี  นับแต่วันนายอุดม  เปี้ยจีโน  ตายก็ตาม  ในเมื่อคดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล  เพราะบทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ว่าต้องยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายภายในกำหนดเวลาใด  ดังประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  มาตรา  ๔๒  จึงอนุญาตให้นางจันทร์ฟอง  เปี้ยจีโน  เข้าดำเนินคดีต่าง  นายอุดม  เปี้ยจีโน  ผู้ตายต่อไป”(คำสั่งคำร้องที่  ๑๕๙๕/๒๕๒๘)  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา  ๒๙  ไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ว่าต้องยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายภายในกำหนดเวลาใด  ดังประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา  ๔๒
๒.๘  กรณีไม่มีผู้ดำเนินคดีแทนผู้เสียหายที่ยื่นฟ้องแล้วตายลง
คดีอาญาแผ่นดิน  ที่ราษฎรเป็นโจทก์  จำเลยฎีกา  แต่ส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ไม่ได้เพราะโจทก์ถึงแก่กรรมนั้น  ไม่เป็นเหตุขัดข้องแก่การดำเนินคดีต่อไปได้  ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องร้องแทนแผ่นดินนั้น  ฉะนั้น  ศาลฎีกาจึงทำการพิจารณาพิพากษาต่อไปได้(คำพิพากษาฎีกาที่  ๑๒๔๔/๒๕๐๔)
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย  ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม  .  มาตรา  ๑๗๗,๑๘๐,๑๘๑  จำคุกตามมาตรา  ๑๘๑()  มาตรา  ๗๘  กำหนด    ปี  โจทก์ จำเลยอุทธรณ์  แต่โจทก์ตายก่อนศาลอุทธรณ์พิพากษาโดยไม่มีผู้ใดเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์  ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา  ๑๗๗,  ๑๘๑(), ๗๘  จำคุก    ปีจำเลยฎีกา  ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า  ข้อที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ตายแล้วไม่มีผู้ดำเนินคดีแทน  ศาลจะดำเนินคดีต่อไปไม่ได้  ชอบที่จะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีนั้น  ศาลฎีกาเห็นว่า  ความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยนั้นเป็นความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา  ภาค    ลักษณะ    อันเป็นความผิดอาญาแผ่นดินมิใช่ความผิดอันยอมความได้  แม้โจทก์มรณะก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องแก่การดำเนินคดีต่อไป  ถือได้ว่าโจทก์ได้ฟ้องร้องแทนแผ่นดิน  ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปได้”(คำพิพากษาฎีกาที่  ๔๑๘/๒๕๒๐)(อ้างฎีกาที่  ๑๒๒๔/๒๔๘๖)
คดีนี้โจทก์เป็นราษฎรฟ้องคดีความผิดอันยอมความได้  โจทก์ตายในชั้นฎีกาภายหลังจากที่ศาลฎีกาส่งคำพิพากษาไปให้ศาลชั้นต้นอ่าน  (แต่ยังไม่ทันได้อ่าน)  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า  คดีนี้แม้จะเป็นความผิดอันยอมความได้และโจทก์ได้ตายแล้วก็ตาม  แต่หาได้มีกฎหมายบัญญัติว่าในคดีอาญานั้นเมื่อโจทก์ตายแล้วให้คดีระงับไปไม่  คงมีแต่เรื่องที่จำเลยตายและในเรื่องที่โจทก์ตาย  ใครบ้างที่จะดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปได้นั้นก็มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา  ๒๙  เท่านั้นอย่างไรก็ดี  เมื่อคดีมาถึงศาลฎีกาแล้วและโจทก์ตาย  ถือได้ว่าได้ดำเนินคดีมาครบถ้วนบริบูรณ์แล้วศาลฎีกาย่อมดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ต่อไปได้  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๒๑๗/๒๕๐๖)
๒.๙  ถ้าผู้เสียหายที่ตายนั้นเป็นผู้เยาว์  ผู้วิกลจริตหรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรม  ผู้อนุบาล  หรือผู้แทนเฉพาะคดีได้ยื่นฟ้องแทนไว้แล้ว  ผู้ฟ้องแทนนั้นจะว่าคดีนั้นต่อไปก็ได้
กรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตายไปก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งตั้งผู้แทนเฉพาะคดี  มิใช่กรณีตาม  .วิ..  มาตรา  ๒๙  วรรคสอง 
การตั้งผู้แทนเฉพาะคดีก็เพื่อดำเนินคดีแทนผู้เสียหายที่เป็นผู้เยาว์หรือผู้วิกลจริตที่ไม่มีผู้ดำเนินคดีแทน  เมื่อผู้เสียหายถึงแก่ความตายไปก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์เป็นผู้แทนเฉพาะคดี  ย่อมไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อมาดำเนินคดีแทนตาม  ป.วิ.อ  มาตรา    อีกต่อไปทั้งกรณีไม่ใช่ผู้เสียหายถึงแก่ความตายหลังจากที่ศาลตั้งโจทก์เป็นผู้แทนเฉพาะคดีและได้ยื่นฟ้องไว้แล้วตาม  ป.วิ.อ  มาตรา  ๒๙  วรรคสอง  ดังนี้  ต้องยกคำร้องของผู้ร้อง  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๓๖๕/๒๕๓๒)
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้แทนเฉพาะคดีของ  ต.  และมีอำนาจฟ้องคดีแทน  ต.  เมื่อปรากฎว่า  ต.  ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นผู้วิกลจริตถึงแก่กรรมไปก่อนวันนัดไต่สวนคำร้องดังกล่าวแล้ว  ศาลก็ไม่อาจตั้งโจทก์เป็นผู้แทนเฉพาะคดีของ  ต.  ได้  เพราะ  ต.  ไม่ใช่ผู้วิกลจริตดังที่โจทก์กล่าวอ้างต่อไป
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา  ๒๙  วรรคสอง  ที่บัญญัติว่าถ้าผู้เสียหายที่ตายนั้นเป็นผู้วิกลจริตซึ่งผู้แทนเฉพาะคดีได้ยื่นฟ้องแทนไว้แล้ว  ผู้ฟ้องแทนนั้นจะว่าคดีต่อไปก็ได้นั้น  หมายถึงกรณีที่ศาลได้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีของผู้เสียหายไว้แล้วก่อนที่ผู้เสียหายตายหาได้หมายความรวมถึงกรณีซึ่งผู้เสียหายได้ตายไปเสียก่อนที่ศาลจะตั้งผู้แทนเฉพาะคดีด้วยไม่  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๑๖๒๕/๒๕๓๒)
                การร้องขอเป็นผู้แทนเฉพาะคดี  ตาม  ป.วิ.อ  มาตรา    จะต้องปรากฎว่าโจทก์มีสภาพบุคคลเป็นผู้วิกลจริต  และไม่มีผู้อนุบาล  แต่ปรากฏว่าโจทก์ผู้ซึ่งผู้ร้องอ้างว่าเป็นผู้วิกลจริตและไม่มีผู้อนุบาลได้ถึงแก่ความตายระหว่างไต่สวนคำร้องขอเป็นผู้แทนเฉพาะคดี  สภาพบุคคลของโจทก์จึงสิ้นสุดลงไปแล้วก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งตั้งผู้ร้องให้เป็นผู้แทนเฉพาะคดี  ผู้ร้องจึงขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของโจทก์ไม่ได้  อนึ่ง  แม้ขณะที่โจทก์ถึงแก่ความตาย  ผู้ร้องในฐานะผู้ร้องขอเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของโจทก์ก็ได้ยื่นคำฟ้องไว้ก่อนแล้วในนามของโจทก์  แต่ในขณะที่โจทก์ถึงแก่ความตาย  ศาลยังไม่ได้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของโจทก์  จะถือว่าเป็นกรณีที่โจทก์ยื่นฟ้องแล้วตายลงตาม  ป.วิ.อ  มาตรา  ๒๙  ไม่ได้  (คำพิพากษาฎีกาที่  ๓๔๓๒/๒๕๓๖)
                จำเลยตาย  สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม  ป.วิ.อ  มาตรา  ๓๙()  หากโจทก์ไม่คัดค้านข้อเท็จจริงนี้  หรือคัดค้านแต่ศาลสอบจนปรากฎชัดแจ้งว่าจำเลยตายจริงศาลต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดี

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ29 พฤษภาคม 2556 เวลา 15:57

    อธิบายความแตกต่างในแต่ละข้อเท็จจริงที่ไม่เหมือนกันได้ชัดแจ้งดี และเข้าใจง่ายครับ

    ตอบลบ