หนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ในคดีล้มละลาย
(Unprovable Debt in Bankruptcy)
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.
๒๔๘๓
ได้กำหนดลักษณะของหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ (provable debt) ไว้ในมาตรา ๙๔ ว่า
หนี้ดังกล่าวนั้นมูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา ๙๔ (๑)
หรือ (๒) ในมูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้นั้น
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ก็แต่โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าวไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายฯ กล่าวคือ
ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทั้งนี้แม้ว่าเจ้าหนี้ดังกล่าวนั้นจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
หรือเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้วแต่คดีอยู่ระหว่างพิจารณาก็ตาม ตามมาตรา
๒๗
โดยหนี้ที่อาจขอรับชำระได้นั้นจะต้องเป็นหนี้เงิน แต่ในคดีล้มละลายยังมีหนี้เข้ามาเกี่ยวข้องอีกหลายส่วน
อันเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ซึ่งสามารถจะแยกพิจารณาออกได้เป็น ๒
กลุ่ม
ก.
หนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แม้ว่าหนี้ส่วนนี้จะมีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แต่หนี้ดังกล่าวไม่อาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ ได้แก่
๑. หนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดี หรือหนี้ที่ฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ (มาตรา
๙๔ (๑)) เช่น
หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
ซึ่งลูกหนี้ทำขึ้นภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว หนี้ตามคำพิพากษาซึ่งหมดระยะเวลาบังคับคดี หรือหนี้ที่ขาดอายุความ
หรือหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้นั้นมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว (มาตรา
๙๔ (๒)) เช่น
หนี้ซึ่งกรรมการของบริษัทลูกหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินของตนในขณะที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
หนี้ส่วนนี้แม้ว่าจะเป็นหนี้เงินเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แต่กฎหมายห้ามมิให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย หนี้ส่วนนี้เจ้าหนี้จึงไม่มีโอกาสได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ในคดีล้มละลายเลย
๒. หนี้ที่มิใช่หนี้เงิน
อาจจะเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ต้องกระทำการหรืองดเว้นกระทำการหรือส่งมอบทรัพย์สิน หนี้ในส่วนนี้แม้ว่าจะเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แต่ไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
เพราะหนี้ที่สามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายนั้นจำกัดอยู่เฉพาะหนี้เงิน
ตัวอย่าง
ก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ขายที่ดินให้แก่เจ้าหนี้ ๑
แปลง
และเจ้าหนี้ได้ชำระเงินครบถ้วนแล้ว
ลูกหนี้จึงมีหน้าที่โอนที่ดินให้แก่เจ้าหนี้ แต่เมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
เจ้าหนี้ก็ย่อมฟ้องบังคับให้มีการโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่ตนได้ หนี้ส่วนนี้เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้
หากว่าเป็นหนี้ที่เกี่ยวกับกองทรัพย์สินของลูกหนี้
หรือเกี่ยวกับทรัพย์สินอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เจ้าหนี้สามารถที่จะบังคับชำระหนี้ได้โดยการฟ้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ในฐานะผู้มีอำนาจดำเนินกิจการแทนลูกหนี้เป็นจำเลย
กรณีเกี่ยวกับกองทรัพย์สิน
คำพิพากษาฏีกาที่ ๓๖๒๕/๒๕๒๗
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลยที่ ๑
โดยขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย
โอนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนจำเลยที่ ๑
หากไม่สามารถทำได้ให้ใช้ราคาพร้อมค่าเสียหายซึ่งเป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินโดยตรง เมื่อปรากฎว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ ๑
แล้ว
โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ ๑
คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๘๖/๒๕๕๑
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา ๒๖
และมาตรา ๒๗
ที่ห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีแพ่งอันเกี่ยวกับหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ได้นั้นห้ามเฉพาะหนี้เงิน
ส่วนหนี้ที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่กันซึ่งเจ้าหนี้ไม่อาจขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพราะมิใช่หนี้เงิน ไม่อยู่ในบังคับที่ห้ามมิให้ฟ้อง
และโดยเหตุที่ผู้ล้มละลายไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินหรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเองอีกต่อไป
แต่เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว ตามมาตรา
๒๒(๑) (๓) ทั้งหนี้ที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก็เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
โจทก์จึงฟ้องจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ล้มละลายให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่โจทก์ได้
กรณีไม่เกี่ยวกับกองทรัพย์สิน
คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๕๑๘/๒๕๓๘
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินที่เช่าซึ่งเป็นทรัพย์สินของโจทก์ โดยมิได้เรียกให้จำเลยชดเชยค่าเสียหาย
จึงไม่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของจำเลย แม้จำเลยจะถูกพิทักษ์ทรัพย์ในระหว่างพิจารณา
จำเลยก็ต่อสู้คดีได้โดยลำพังโดยไม่ต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทน
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๕๐/๒๕๕๐
แม้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ
มาตรา ๒๒ และ
๒๔
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ และห้ามมิให้ลูกหนี้กระทำการใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน แต่การที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน โดยมิได้เรียกร้องค่าเสียหายอื่นจากจำเลย
เป็นการขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่งและเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืน
เป็นหนี้ที่มิอาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งได้
ข.
หนี้ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แม้ว่าเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา ๒๒
ลูกหนี้จะกระทำการใดๆ
เกี่ยวกับกิจการหรือทรัพย์สินของตนไม่ได้
เว้นแต่ในการกระทำนั้นลูกหนี้จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือผู้จัดการทรัพย์
หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา
๒๔
หากลูกหนี้ฝ่าฝืนบัญญัติดังกล่าว
นิติกรรมนั้นถือว่าขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา
๒๒ และมาตรา ๒๔
อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
๑๕๐ แต่หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ก็อาจจะมีหนี้ที่ลูกหนี้หรือกองทรัพย์สินของลูกหนี้จะต้องรับผิด ได้แก่
หนี้ที่ลูกหนี้ได้ก่อให้เกิดขึ้นโดยได้รับความเห็นชอบ ตามมาตรา
๒๔ หรือหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการจัดกิจการของลูกหนี้โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
๑.
หนี้ที่ลูกหนี้ก่อให้เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว หากว่าลูกหนี้ทำนิติกรรมใดโดยได้รับคำสั่งหรือความเห็นชอบตามมาตรา ๒๔
หรือลูกหนี้ก่อเหตุละเมิดขึ้น
เช่นนี้
มูลหนี้ดังกล่าวนั้นย่อมบังคับได้ตามกฎหมาย
หนี้ส่วนนี้เป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ในการล้มละลายของลูกหนี้ เนื่องจากมูลแห่งหนี้เกิดขึ้นภายหลังศาลวันที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
แต่มูลหนี้ดังกล่าวเป็นมูลหนี้ที่สามารถบังคับได้และผูกพันลูกหนี้
ตัวอย่าง หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ ลูกหนี้ขับรถชนคนได้รับบาดเจ็บ
กรณีเป็นการกระทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
๔๒๐ และมาตรา ๔๓๗
ผู้ได้รับบาดเจ็บสามารถฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีแพ่งได้ และเมื่อศาลพิพากษาแล้ว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็สามารถบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ในส่วนที่ไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือจะไปบังคับคดีภายหลังจากลูกหนี้หลุดพ้นจากการล้มละลายแล้วก็ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๘๕๑/๒๕๔๕
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ
มาตรา ๒๔ และ ๒๕
การที่บุคคลล้มละลายจำนองที่ดินของตนแก่ผู้รับจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ของผู้อื่นภายหลังที่ศาลได้พิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว เป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อันมีผลผูกพันในที่ดินที่จะต้องถูกบังคับคดีในที่สุดหากไม่ชำระหนี้
และฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพราะไม่ได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ นิติกรรมจำนองจึงตกเป็นโมฆะ มิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องเข้าว่าคดีแพ่งอันเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลตามบทบัญญัติดังกล่าวด้วย
แม้หากการกระทำของลูกหนี้จะเป็นการละเมิดต่อโจทก์และมีหนี้ที่จะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
แต่หนี้ดังกล่าวก็เกิดขึ้นภายหลังที่ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว
โจทก์ไม่อาจนำมาขอยื่นรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา
๒๗, ๙๑ และ
๙๔
โจทก์ชอบที่จะฟ้องลูกหนี้เป็นจำเลยโดยตรง
โจทก์จะฟ้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นจำเลยแทนลูกหนี้หาได้ไม่
๒. หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการจัดกิจการทรัพย์สินของลูกหนี้ โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าไปจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้แล้วเกิดหนี้ที่กองทรัพย์สินของลูกหนี้จะต้องรับผิด
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่นำเงินจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ดังกล่าว
ในกรณีเช่นนี้หากต่อมาลูกหนี้พ้นจากการล้มละลายแล้ว ลูกหนี้จะต้องรับผิดหนี้ดังกล่าวด้วย
หนี้ที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจการกองทรัพย์สิน แยกพิจารณาดังนี้
๒.๑ หนี้ค่าจ้างแรงงาน
การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ซึ่งเป็นนายจ้างนั้น มิได้ทำให้สัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลง ถือว่าลูกหนี้และเจ้าหนี้ยังคงเป็นลูกจ้างนายจ้างกันต่อไป
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่จะต้องนำเงินจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้มาชำระค่าจ้างดังกล่าว
หากว่ามีการเลิกจ้างเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ก็มีหน้าที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ชำระ
ลูกจ้างก็สามารถฟ้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้นำเงินจากกองทรัพย์สินชำระหนี้ได้
คำพิพากษาฎีกาที่
๘๙๒๓-๘๙๒๔/๒๕๕๑ เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ก.
ลูกหนี้แล้ว อำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างชำระอยู่เสร็จสิ้นไปเป็นอำนาจของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา
๒๒
จำเลยจึงเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท
ก. ลูกหนี้ผู้เป็นนิติบุคคล
การที่จำเลยจ้างโจทก์ทั้งห้าหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวโดยจ่ายค่าจ้างจากกองทรัพย์สินของบริษัท ก.
ลูกหนี้
โจทก์ทั้งห้าจึงเป็นลูกจ้างของบริษัท
ก.
ลูกหนี้โดยมีจำเลยเป็นผู้กระทำการแทน
จำเลยมีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ทั้งห้าตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.
๒๕๔๑ มาตรา ๕
เมื่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.
๒๕๒๒ มาตรา ๘
บัญญัติให้ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และโจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.
๒๕๔๑
โจทก์ทั้งห้าจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางได้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๑๑๔/๒๕๒๘
เมื่อจำเลยที่ ๑ ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ย่อมหมดอำนาจที่จะดำเนินกิจการงานของตนต่อไป แต่จำเลยที่
๒ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
มีอำนาจตามกฎหมายที่จะจัดการหรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของจำเลยที่ ๑
และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าลูกจ้างของลูกหนี้หมดสิทธิที่จะทำงานให้ลูกหนี้ต่อไป ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ ๒
บอกเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ ๑
จึงเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายเงินค่าชดเชยซึ่งกฎหมายแรงงานบังคับให้จำเลยที่ ๑
ต้องจ่ายให้แก่โจทก์นั้นเกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ย่อมเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระได้ ตามมาตรา
๙๔
แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ
แต่เมื่อจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้จัดการกิจการทรัพย์สินแทนจำเลยที่ ๑
แล้วเกิดมีเงินที่กฎหมายบังคับให้จ่ายเกิดขึ้น จำเลยที่
๒
ก็มีหน้าที่ต้องเอาเงินของจำเลยที่
๑ จ่ายแทนจำเลยที่ ๑
โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่
๒ ให้จ่ายเงินค่าชดเชยได้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๕๒๓/๒๕๕๒
การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดมีผลเพียงทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถกระทำการใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน
ต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้จัดการหรือกระทำการแทน ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา
๒๒ และ ๒๔
หามีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างลูกหนี้ผู้เป็นนายจ้างกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นลูกจ้างสิ้นสุดไปด้วยไม่ ทั้งไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่า
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดแล้วลูกจ้างของลูกหนี้หมดสิทธิ
ที่จะทำงานให้ลูกหนี้ต่อไปแม้ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้ก็ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของลูกหนี้อยู่นั่นเอง
กรณียังไม่ถือว่ามีการเลิกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา
๑๑๘
๒.๒ หนี้ภาษีอากร
หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
หากปรากฏว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินและเกิดหนี้ภาษีอากร ซึ่งกองทรัพย์สินจะต้องรับผิด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ต้องนำเงินจากกองทรัพย์สินมาชำระหนี้ภาษีอากรดังกล่าว หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ชำระ
เจ้าหนี้ภาษีอากรดังกล่าวสามารถฟ้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นจำเลยได้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๔๕๙/๒๕๓๓
บริษัทลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแต่ยังเป็นเจ้าของที่ดินอยู่ในระหว่างนั้นย่อมต้องมีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่
พระราชบัญญัติล้มละลายฯมิได้กำหนดมิให้ฟ้องเกี่ยวกับหนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายหลังถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่สามารถขอรับชำระหนี้ได้ภายในเวลาตามที่พระราชบัญญัติล้มละลายฯ
กำหนดไว้การเกิดหนี้ขึ้นโดยผลของกฎหมายเช่นนี้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินการแทนลูกหนี้
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เกี่ยวกับภาษีรายนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องให้รับผิดได้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๔๗/๒๕๓๔
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ปรากฏว่าลูกหนี้เป็นหนี้ภาษีบำรุงท้องที่ต่อโจทก์
เจ้าพนักงานของโจทก์จึงได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยเพื่อให้ชำระค่าภาษีดังกล่าวดังนี้
การแจ้งการประเมินจึงเป็นการปฏิบัติตามวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.
๒๕๐๘ มาตรา ๔๘
ไม่ใช่เรื่องการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา
๙๑
การที่จำเลยมีหนังสือไปถึงผู้อำนวยการเขตลาดกระบังแจ้งว่า
หนี้ค่าภาษีบำรุงท้องที่เป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระได้นั้น เป็นเรื่องที่นอกเหนืออำนาจตามกฎหมาย
เท่ากับเป็นการแจ้งความคิดเห็นของจำเลยไปให้ผู้อำนวยการเขตลาดกระบังทราบเท่านั้น
ถือไม่ได้ว่าจำเลยมีคำวินิจฉัยในเรื่องคำขอรับชำระหนี้ จึงไม่มีผลผูกพันใดๆ ต่อโจทก์
โจทก์จึงไม่ต้องร้องคัดค้านความเห็นของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา
๑๔๖ ก่อน ฉะนั้น
การที่จำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของลูกหนี้เนื่องจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และได้จัดให้เช่าที่ดินของลูกหนี้ จำเลยจึงมีหน้าที่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ ตามมาตรา
๓๕ วรรคสอง
หนี้เงินภาษีดังกล่าวเป็นหนี้ที่กฎหมายบังคับให้ต้องชำระ แม้จะเกิดขึ้นภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว จำเลยก็ยังมีหน้าที่ชำระหนี้แทนลูกหนี้
หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการจัดกิจการทรัพย์สินของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น
ถือว่าเป็นหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นๆ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา
๑๓๐(๒) เช่นนี้ หากว่าทรัพย์สินในกองทรัพย์สินมีไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทุกลำดับ
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องนำเงินที่ได้จากการรวบรวมในกองทรัพย์สินมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการจัดกิจการและทรัพย์สินก่อน
ผลของการสิ้นสุดคดีล้มละลาย
การที่คดีล้มละลายสิ้นสุดลงนั้น
ปัญหาว่าลูกหนี้จะต้องรับผิดหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระได้ตามที่กล่าวมาข้างต้นหรือไม่นั้น
คงต้องแยกพิจารณาเป็นการสิ้นสุดของคดีล้มละลายเป็นกรณีๆ ไป
ได้แก่
กรณีศาลมีคำสั่งปลดลูกหนี้จากการล้มละลาย ซึ่งผลของการปลดจากการล้มละลายพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา
๗๗ กำหนดว่า คำสั่งปลดจากการล้มละลาย
ทำให้บุคคลล้มละลายหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระหนี้ได้
เว้นแต่หนี้เกี่ยวกับภาษีอากรหรือหนี้ที่ได้เกิดขึ้นโดยการทุจริตฉ้อโกงของบุคคลล้มละลาย เช่นนี้ในหนี้ส่วนที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้เมื่อได้รับการปลดจากล้มละลายหาทำให้บุคคลล้มละลายหลุดพ้นแต่อย่างใดไม่ ตามตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่า ในกรณีที่ลูกหนี้ก่อหนี้ละเมิดในขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด แม้ว่าศาลจะมีคำสั่งปลดจากลูกหนี้จากการล้มละลาย
แต่ลูกหนี้ก็ยังต้องรับผิดมูลหนี้ละเมิดที่ก่อให้เกิดขึ้น
กรณีศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลาย หากว่าเป็นการยกเลิกการล้มละลาย ตามมาตรา
๑๓๕(๑) หรือ (๒)
นั้น
ไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้สินแต่อย่างใด กล่าวคือ
ลูกหนี้เคยเป็นหนี้อยู่เช่นใดก็คงเป็นหนี้อยู่เช่นนั้น
ในหนี้ส่วนที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ในคดีล้มละลาย
หากว่าต่อมาศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ ตามมาตรา
๑๓๕(๑) หรือ (๒)
ลูกหนี้ก็ไม่หลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าว
ส่วนกรณีที่ศาลมีคำสั่งยกเลิกจากการล้มละลายของลูกหนี้ ตามมาตรา
๑๓๕(๓) หรือ (๔)
ซึ่งได้แก่
กรณีที่หนี้สินของเจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้นั้นได้มีการชำระเต็มจำนวนแล้ว หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้แบ่งทรัพย์ครั้งที่สุด หรือไม่มีทรัพย์สินจะแบ่งให้แก่เจ้าหนี้แล้ว ต่อแต่นั้นมาภายในกำหนด ๑๐
ปี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ไม่อาจรวบรวมทรัพย์สินของบุคคลล้มละลายได้อีก ตามมาตรา
๑๓๕(๓) หรือ (๔)
ซึ่งจะทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงนั้น
ก็หมายความเฉพาะหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้อันจะต้องเข้าสู่กระบวนการขอรับชำระหนี้ และแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลายเท่านั้น ส่วนหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ ซึ่งได้แก่
หนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
หรือหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเข้าไปจัดกิจการและทรัพย์สินของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ลูกหนี้ก็หาหลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าวนั้น
แต่อย่างใดไม่
(Unprovable Debt in Bankruptcy)
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.
๒๔๘๓
ได้กำหนดลักษณะของหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ (provable debt) ไว้ในมาตรา ๙๔ ว่า
หนี้ดังกล่าวนั้นมูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา ๙๔ (๑)
หรือ (๒) ในมูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้นั้น
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ก็แต่โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าวไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายฯ กล่าวคือ
ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทั้งนี้แม้ว่าเจ้าหนี้ดังกล่าวนั้นจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
หรือเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้วแต่คดีอยู่ระหว่างพิจารณาก็ตาม ตามมาตรา
๒๗
โดยหนี้ที่อาจขอรับชำระได้นั้นจะต้องเป็นหนี้เงิน แต่ในคดีล้มละลายยังมีหนี้เข้ามาเกี่ยวข้องอีกหลายส่วน
อันเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ซึ่งสามารถจะแยกพิจารณาออกได้เป็น ๒
กลุ่ม
ก.
หนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แม้ว่าหนี้ส่วนนี้จะมีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แต่หนี้ดังกล่าวไม่อาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ ได้แก่
๑. หนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดี หรือหนี้ที่ฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ (มาตรา
๙๔ (๑)) เช่น
หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
ซึ่งลูกหนี้ทำขึ้นภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว หนี้ตามคำพิพากษาซึ่งหมดระยะเวลาบังคับคดี หรือหนี้ที่ขาดอายุความ
หรือหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้นั้นมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว (มาตรา
๙๔ (๒)) เช่น
หนี้ซึ่งกรรมการของบริษัทลูกหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินของตนในขณะที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
หนี้ส่วนนี้แม้ว่าจะเป็นหนี้เงินเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แต่กฎหมายห้ามมิให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย หนี้ส่วนนี้เจ้าหนี้จึงไม่มีโอกาสได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ในคดีล้มละลายเลย
๒. หนี้ที่มิใช่หนี้เงิน
อาจจะเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ต้องกระทำการหรืองดเว้นกระทำการหรือส่งมอบทรัพย์สิน หนี้ในส่วนนี้แม้ว่าจะเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แต่ไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
เพราะหนี้ที่สามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายนั้นจำกัดอยู่เฉพาะหนี้เงิน
ตัวอย่าง
ก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ขายที่ดินให้แก่เจ้าหนี้ ๑
แปลง
และเจ้าหนี้ได้ชำระเงินครบถ้วนแล้ว
ลูกหนี้จึงมีหน้าที่โอนที่ดินให้แก่เจ้าหนี้ แต่เมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
เจ้าหนี้ก็ย่อมฟ้องบังคับให้มีการโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่ตนได้ หนี้ส่วนนี้เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้
หากว่าเป็นหนี้ที่เกี่ยวกับกองทรัพย์สินของลูกหนี้
หรือเกี่ยวกับทรัพย์สินอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เจ้าหนี้สามารถที่จะบังคับชำระหนี้ได้โดยการฟ้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ในฐานะผู้มีอำนาจดำเนินกิจการแทนลูกหนี้เป็นจำเลย
กรณีเกี่ยวกับกองทรัพย์สิน
คำพิพากษาฏีกาที่ ๓๖๒๕/๒๕๒๗
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลยที่ ๑
โดยขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย
โอนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนจำเลยที่ ๑
หากไม่สามารถทำได้ให้ใช้ราคาพร้อมค่าเสียหายซึ่งเป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินโดยตรง เมื่อปรากฎว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ ๑
แล้ว
โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ ๑
คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๘๖/๒๕๕๑
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา ๒๖
และมาตรา ๒๗
ที่ห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีแพ่งอันเกี่ยวกับหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ได้นั้นห้ามเฉพาะหนี้เงิน
ส่วนหนี้ที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่กันซึ่งเจ้าหนี้ไม่อาจขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพราะมิใช่หนี้เงิน ไม่อยู่ในบังคับที่ห้ามมิให้ฟ้อง
และโดยเหตุที่ผู้ล้มละลายไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินหรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเองอีกต่อไป
แต่เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว ตามมาตรา
๒๒(๑) (๓) ทั้งหนี้ที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก็เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
โจทก์จึงฟ้องจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ล้มละลายให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่โจทก์ได้
กรณีไม่เกี่ยวกับกองทรัพย์สิน
คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๕๑๘/๒๕๓๘
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินที่เช่าซึ่งเป็นทรัพย์สินของโจทก์ โดยมิได้เรียกให้จำเลยชดเชยค่าเสียหาย
จึงไม่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของจำเลย แม้จำเลยจะถูกพิทักษ์ทรัพย์ในระหว่างพิจารณา
จำเลยก็ต่อสู้คดีได้โดยลำพังโดยไม่ต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทน
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๕๐/๒๕๕๐
แม้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ
มาตรา ๒๒ และ
๒๔
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ และห้ามมิให้ลูกหนี้กระทำการใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน แต่การที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน โดยมิได้เรียกร้องค่าเสียหายอื่นจากจำเลย
เป็นการขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่งและเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืน
เป็นหนี้ที่มิอาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งได้
ข.
หนี้ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แม้ว่าเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา ๒๒
ลูกหนี้จะกระทำการใดๆ
เกี่ยวกับกิจการหรือทรัพย์สินของตนไม่ได้
เว้นแต่ในการกระทำนั้นลูกหนี้จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือผู้จัดการทรัพย์
หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา
๒๔
หากลูกหนี้ฝ่าฝืนบัญญัติดังกล่าว
นิติกรรมนั้นถือว่าขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา
๒๒ และมาตรา ๒๔
อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
๑๕๐ แต่หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ก็อาจจะมีหนี้ที่ลูกหนี้หรือกองทรัพย์สินของลูกหนี้จะต้องรับผิด ได้แก่
หนี้ที่ลูกหนี้ได้ก่อให้เกิดขึ้นโดยได้รับความเห็นชอบ ตามมาตรา
๒๔ หรือหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการจัดกิจการของลูกหนี้โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
๑.
หนี้ที่ลูกหนี้ก่อให้เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว หากว่าลูกหนี้ทำนิติกรรมใดโดยได้รับคำสั่งหรือความเห็นชอบตามมาตรา ๒๔
หรือลูกหนี้ก่อเหตุละเมิดขึ้น
เช่นนี้
มูลหนี้ดังกล่าวนั้นย่อมบังคับได้ตามกฎหมาย
หนี้ส่วนนี้เป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ในการล้มละลายของลูกหนี้ เนื่องจากมูลแห่งหนี้เกิดขึ้นภายหลังศาลวันที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
แต่มูลหนี้ดังกล่าวเป็นมูลหนี้ที่สามารถบังคับได้และผูกพันลูกหนี้
ตัวอย่าง หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ ลูกหนี้ขับรถชนคนได้รับบาดเจ็บ
กรณีเป็นการกระทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
๔๒๐ และมาตรา ๔๓๗
ผู้ได้รับบาดเจ็บสามารถฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีแพ่งได้ และเมื่อศาลพิพากษาแล้ว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็สามารถบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ในส่วนที่ไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือจะไปบังคับคดีภายหลังจากลูกหนี้หลุดพ้นจากการล้มละลายแล้วก็ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๘๕๑/๒๕๔๕
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ
มาตรา ๒๔ และ ๒๕
การที่บุคคลล้มละลายจำนองที่ดินของตนแก่ผู้รับจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ของผู้อื่นภายหลังที่ศาลได้พิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว เป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อันมีผลผูกพันในที่ดินที่จะต้องถูกบังคับคดีในที่สุดหากไม่ชำระหนี้
และฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพราะไม่ได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ นิติกรรมจำนองจึงตกเป็นโมฆะ มิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องเข้าว่าคดีแพ่งอันเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลตามบทบัญญัติดังกล่าวด้วย
แม้หากการกระทำของลูกหนี้จะเป็นการละเมิดต่อโจทก์และมีหนี้ที่จะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
แต่หนี้ดังกล่าวก็เกิดขึ้นภายหลังที่ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว
โจทก์ไม่อาจนำมาขอยื่นรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา
๒๗, ๙๑ และ
๙๔
โจทก์ชอบที่จะฟ้องลูกหนี้เป็นจำเลยโดยตรง
โจทก์จะฟ้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นจำเลยแทนลูกหนี้หาได้ไม่
๒. หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการจัดกิจการทรัพย์สินของลูกหนี้ โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าไปจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้แล้วเกิดหนี้ที่กองทรัพย์สินของลูกหนี้จะต้องรับผิด
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่นำเงินจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ดังกล่าว
ในกรณีเช่นนี้หากต่อมาลูกหนี้พ้นจากการล้มละลายแล้ว ลูกหนี้จะต้องรับผิดหนี้ดังกล่าวด้วย
หนี้ที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจการกองทรัพย์สิน แยกพิจารณาดังนี้
๒.๑ หนี้ค่าจ้างแรงงาน
การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ซึ่งเป็นนายจ้างนั้น มิได้ทำให้สัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลง ถือว่าลูกหนี้และเจ้าหนี้ยังคงเป็นลูกจ้างนายจ้างกันต่อไป
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่จะต้องนำเงินจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้มาชำระค่าจ้างดังกล่าว
หากว่ามีการเลิกจ้างเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ก็มีหน้าที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ชำระ
ลูกจ้างก็สามารถฟ้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้นำเงินจากกองทรัพย์สินชำระหนี้ได้
คำพิพากษาฎีกาที่
๘๙๒๓-๘๙๒๔/๒๕๕๑ เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ก.
ลูกหนี้แล้ว อำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างชำระอยู่เสร็จสิ้นไปเป็นอำนาจของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา
๒๒
จำเลยจึงเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท
ก. ลูกหนี้ผู้เป็นนิติบุคคล
การที่จำเลยจ้างโจทก์ทั้งห้าหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวโดยจ่ายค่าจ้างจากกองทรัพย์สินของบริษัท ก.
ลูกหนี้
โจทก์ทั้งห้าจึงเป็นลูกจ้างของบริษัท
ก.
ลูกหนี้โดยมีจำเลยเป็นผู้กระทำการแทน
จำเลยมีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ทั้งห้าตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.
๒๕๔๑ มาตรา ๕
เมื่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.
๒๕๒๒ มาตรา ๘
บัญญัติให้ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และโจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.
๒๕๔๑
โจทก์ทั้งห้าจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางได้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๑๑๔/๒๕๒๘
เมื่อจำเลยที่ ๑ ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ย่อมหมดอำนาจที่จะดำเนินกิจการงานของตนต่อไป แต่จำเลยที่
๒ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
มีอำนาจตามกฎหมายที่จะจัดการหรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของจำเลยที่ ๑
และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าลูกจ้างของลูกหนี้หมดสิทธิที่จะทำงานให้ลูกหนี้ต่อไป ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ ๒
บอกเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ ๑
จึงเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายเงินค่าชดเชยซึ่งกฎหมายแรงงานบังคับให้จำเลยที่ ๑
ต้องจ่ายให้แก่โจทก์นั้นเกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ย่อมเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระได้ ตามมาตรา
๙๔
แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ
แต่เมื่อจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้จัดการกิจการทรัพย์สินแทนจำเลยที่ ๑
แล้วเกิดมีเงินที่กฎหมายบังคับให้จ่ายเกิดขึ้น จำเลยที่
๒
ก็มีหน้าที่ต้องเอาเงินของจำเลยที่
๑ จ่ายแทนจำเลยที่ ๑
โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่
๒ ให้จ่ายเงินค่าชดเชยได้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๕๒๓/๒๕๕๒
การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดมีผลเพียงทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถกระทำการใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน
ต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้จัดการหรือกระทำการแทน ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา
๒๒ และ ๒๔
หามีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างลูกหนี้ผู้เป็นนายจ้างกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นลูกจ้างสิ้นสุดไปด้วยไม่ ทั้งไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่า
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดแล้วลูกจ้างของลูกหนี้หมดสิทธิ
ที่จะทำงานให้ลูกหนี้ต่อไปแม้ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้ก็ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของลูกหนี้อยู่นั่นเอง
กรณียังไม่ถือว่ามีการเลิกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา
๑๑๘
๒.๒ หนี้ภาษีอากร
หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
หากปรากฏว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินและเกิดหนี้ภาษีอากร ซึ่งกองทรัพย์สินจะต้องรับผิด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ต้องนำเงินจากกองทรัพย์สินมาชำระหนี้ภาษีอากรดังกล่าว หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ชำระ
เจ้าหนี้ภาษีอากรดังกล่าวสามารถฟ้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นจำเลยได้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๔๕๙/๒๕๓๓
บริษัทลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแต่ยังเป็นเจ้าของที่ดินอยู่ในระหว่างนั้นย่อมต้องมีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่
พระราชบัญญัติล้มละลายฯมิได้กำหนดมิให้ฟ้องเกี่ยวกับหนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายหลังถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่สามารถขอรับชำระหนี้ได้ภายในเวลาตามที่พระราชบัญญัติล้มละลายฯ
กำหนดไว้การเกิดหนี้ขึ้นโดยผลของกฎหมายเช่นนี้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินการแทนลูกหนี้
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เกี่ยวกับภาษีรายนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องให้รับผิดได้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๔๗/๒๕๓๔
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ปรากฏว่าลูกหนี้เป็นหนี้ภาษีบำรุงท้องที่ต่อโจทก์
เจ้าพนักงานของโจทก์จึงได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยเพื่อให้ชำระค่าภาษีดังกล่าวดังนี้
การแจ้งการประเมินจึงเป็นการปฏิบัติตามวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.
๒๕๐๘ มาตรา ๔๘
ไม่ใช่เรื่องการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา
๙๑
การที่จำเลยมีหนังสือไปถึงผู้อำนวยการเขตลาดกระบังแจ้งว่า
หนี้ค่าภาษีบำรุงท้องที่เป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระได้นั้น เป็นเรื่องที่นอกเหนืออำนาจตามกฎหมาย
เท่ากับเป็นการแจ้งความคิดเห็นของจำเลยไปให้ผู้อำนวยการเขตลาดกระบังทราบเท่านั้น
ถือไม่ได้ว่าจำเลยมีคำวินิจฉัยในเรื่องคำขอรับชำระหนี้ จึงไม่มีผลผูกพันใดๆ ต่อโจทก์
โจทก์จึงไม่ต้องร้องคัดค้านความเห็นของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา
๑๔๖ ก่อน ฉะนั้น
การที่จำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของลูกหนี้เนื่องจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และได้จัดให้เช่าที่ดินของลูกหนี้ จำเลยจึงมีหน้าที่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ ตามมาตรา
๓๕ วรรคสอง
หนี้เงินภาษีดังกล่าวเป็นหนี้ที่กฎหมายบังคับให้ต้องชำระ แม้จะเกิดขึ้นภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว จำเลยก็ยังมีหน้าที่ชำระหนี้แทนลูกหนี้
หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการจัดกิจการทรัพย์สินของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น
ถือว่าเป็นหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นๆ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา
๑๓๐(๒) เช่นนี้ หากว่าทรัพย์สินในกองทรัพย์สินมีไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทุกลำดับ
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องนำเงินที่ได้จากการรวบรวมในกองทรัพย์สินมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการจัดกิจการและทรัพย์สินก่อน
ผลของการสิ้นสุดคดีล้มละลาย
การที่คดีล้มละลายสิ้นสุดลงนั้น
ปัญหาว่าลูกหนี้จะต้องรับผิดหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระได้ตามที่กล่าวมาข้างต้นหรือไม่นั้น
คงต้องแยกพิจารณาเป็นการสิ้นสุดของคดีล้มละลายเป็นกรณีๆ ไป
ได้แก่
กรณีศาลมีคำสั่งปลดลูกหนี้จากการล้มละลาย ซึ่งผลของการปลดจากการล้มละลายพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา
๗๗ กำหนดว่า คำสั่งปลดจากการล้มละลาย
ทำให้บุคคลล้มละลายหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระหนี้ได้
เว้นแต่หนี้เกี่ยวกับภาษีอากรหรือหนี้ที่ได้เกิดขึ้นโดยการทุจริตฉ้อโกงของบุคคลล้มละลาย เช่นนี้ในหนี้ส่วนที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้เมื่อได้รับการปลดจากล้มละลายหาทำให้บุคคลล้มละลายหลุดพ้นแต่อย่างใดไม่ ตามตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่า ในกรณีที่ลูกหนี้ก่อหนี้ละเมิดในขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด แม้ว่าศาลจะมีคำสั่งปลดจากลูกหนี้จากการล้มละลาย
แต่ลูกหนี้ก็ยังต้องรับผิดมูลหนี้ละเมิดที่ก่อให้เกิดขึ้น
กรณีศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลาย หากว่าเป็นการยกเลิกการล้มละลาย ตามมาตรา
๑๓๕(๑) หรือ (๒)
นั้น
ไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้สินแต่อย่างใด กล่าวคือ
ลูกหนี้เคยเป็นหนี้อยู่เช่นใดก็คงเป็นหนี้อยู่เช่นนั้น
ในหนี้ส่วนที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ในคดีล้มละลาย
หากว่าต่อมาศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ ตามมาตรา
๑๓๕(๑) หรือ (๒)
ลูกหนี้ก็ไม่หลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าว
ส่วนกรณีที่ศาลมีคำสั่งยกเลิกจากการล้มละลายของลูกหนี้ ตามมาตรา
๑๓๕(๓) หรือ (๔)
ซึ่งได้แก่
กรณีที่หนี้สินของเจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้นั้นได้มีการชำระเต็มจำนวนแล้ว หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้แบ่งทรัพย์ครั้งที่สุด หรือไม่มีทรัพย์สินจะแบ่งให้แก่เจ้าหนี้แล้ว ต่อแต่นั้นมาภายในกำหนด ๑๐
ปี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ไม่อาจรวบรวมทรัพย์สินของบุคคลล้มละลายได้อีก ตามมาตรา
๑๓๕(๓) หรือ (๔)
ซึ่งจะทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงนั้น
ก็หมายความเฉพาะหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้อันจะต้องเข้าสู่กระบวนการขอรับชำระหนี้ และแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลายเท่านั้น ส่วนหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ ซึ่งได้แก่
หนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
หรือหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเข้าไปจัดกิจการและทรัพย์สินของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ลูกหนี้ก็หาหลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าวนั้น
แต่อย่างใดไม่
(Unprovable Debt in Bankruptcy)
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.
๒๔๘๓
ได้กำหนดลักษณะของหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ (provable debt) ไว้ในมาตรา ๙๔ ว่า
หนี้ดังกล่าวนั้นมูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา ๙๔ (๑)
หรือ (๒) ในมูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้นั้น
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ก็แต่โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าวไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายฯ กล่าวคือ
ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทั้งนี้แม้ว่าเจ้าหนี้ดังกล่าวนั้นจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
หรือเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้วแต่คดีอยู่ระหว่างพิจารณาก็ตาม ตามมาตรา
๒๗
โดยหนี้ที่อาจขอรับชำระได้นั้นจะต้องเป็นหนี้เงิน แต่ในคดีล้มละลายยังมีหนี้เข้ามาเกี่ยวข้องอีกหลายส่วน
อันเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ซึ่งสามารถจะแยกพิจารณาออกได้เป็น ๒
กลุ่ม
ก.
หนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แม้ว่าหนี้ส่วนนี้จะมีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แต่หนี้ดังกล่าวไม่อาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ ได้แก่
๑. หนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดี หรือหนี้ที่ฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ (มาตรา
๙๔ (๑)) เช่น
หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
ซึ่งลูกหนี้ทำขึ้นภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว หนี้ตามคำพิพากษาซึ่งหมดระยะเวลาบังคับคดี หรือหนี้ที่ขาดอายุความ
หรือหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้นั้นมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว (มาตรา
๙๔ (๒)) เช่น
หนี้ซึ่งกรรมการของบริษัทลูกหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินของตนในขณะที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
หนี้ส่วนนี้แม้ว่าจะเป็นหนี้เงินเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แต่กฎหมายห้ามมิให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย หนี้ส่วนนี้เจ้าหนี้จึงไม่มีโอกาสได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ในคดีล้มละลายเลย
๒. หนี้ที่มิใช่หนี้เงิน
อาจจะเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ต้องกระทำการหรืองดเว้นกระทำการหรือส่งมอบทรัพย์สิน หนี้ในส่วนนี้แม้ว่าจะเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แต่ไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
เพราะหนี้ที่สามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายนั้นจำกัดอยู่เฉพาะหนี้เงิน
ตัวอย่าง
ก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ขายที่ดินให้แก่เจ้าหนี้ ๑
แปลง
และเจ้าหนี้ได้ชำระเงินครบถ้วนแล้ว
ลูกหนี้จึงมีหน้าที่โอนที่ดินให้แก่เจ้าหนี้ แต่เมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
เจ้าหนี้ก็ย่อมฟ้องบังคับให้มีการโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่ตนได้ หนี้ส่วนนี้เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้
หากว่าเป็นหนี้ที่เกี่ยวกับกองทรัพย์สินของลูกหนี้
หรือเกี่ยวกับทรัพย์สินอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เจ้าหนี้สามารถที่จะบังคับชำระหนี้ได้โดยการฟ้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ในฐานะผู้มีอำนาจดำเนินกิจการแทนลูกหนี้เป็นจำเลย
กรณีเกี่ยวกับกองทรัพย์สิน
คำพิพากษาฏีกาที่ ๓๖๒๕/๒๕๒๗
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลยที่ ๑
โดยขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย
โอนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนจำเลยที่ ๑
หากไม่สามารถทำได้ให้ใช้ราคาพร้อมค่าเสียหายซึ่งเป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินโดยตรง เมื่อปรากฎว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ ๑
แล้ว
โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ ๑
คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๘๖/๒๕๕๑
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา ๒๖
และมาตรา ๒๗
ที่ห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีแพ่งอันเกี่ยวกับหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ได้นั้นห้ามเฉพาะหนี้เงิน
ส่วนหนี้ที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่กันซึ่งเจ้าหนี้ไม่อาจขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพราะมิใช่หนี้เงิน ไม่อยู่ในบังคับที่ห้ามมิให้ฟ้อง
และโดยเหตุที่ผู้ล้มละลายไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินหรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเองอีกต่อไป
แต่เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว ตามมาตรา
๒๒(๑) (๓) ทั้งหนี้ที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก็เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
โจทก์จึงฟ้องจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ล้มละลายให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่โจทก์ได้
กรณีไม่เกี่ยวกับกองทรัพย์สิน
คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๕๑๘/๒๕๓๘
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินที่เช่าซึ่งเป็นทรัพย์สินของโจทก์ โดยมิได้เรียกให้จำเลยชดเชยค่าเสียหาย
จึงไม่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของจำเลย แม้จำเลยจะถูกพิทักษ์ทรัพย์ในระหว่างพิจารณา
จำเลยก็ต่อสู้คดีได้โดยลำพังโดยไม่ต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทน
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๕๐/๒๕๕๐
แม้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ
มาตรา ๒๒ และ
๒๔
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ และห้ามมิให้ลูกหนี้กระทำการใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน แต่การที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน โดยมิได้เรียกร้องค่าเสียหายอื่นจากจำเลย
เป็นการขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่งและเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืน
เป็นหนี้ที่มิอาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งได้
ข.
หนี้ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แม้ว่าเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา ๒๒
ลูกหนี้จะกระทำการใดๆ
เกี่ยวกับกิจการหรือทรัพย์สินของตนไม่ได้
เว้นแต่ในการกระทำนั้นลูกหนี้จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือผู้จัดการทรัพย์
หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา
๒๔
หากลูกหนี้ฝ่าฝืนบัญญัติดังกล่าว
นิติกรรมนั้นถือว่าขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา
๒๒ และมาตรา ๒๔
อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
๑๕๐ แต่หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ก็อาจจะมีหนี้ที่ลูกหนี้หรือกองทรัพย์สินของลูกหนี้จะต้องรับผิด ได้แก่
หนี้ที่ลูกหนี้ได้ก่อให้เกิดขึ้นโดยได้รับความเห็นชอบ ตามมาตรา
๒๔ หรือหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการจัดกิจการของลูกหนี้โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
๑.
หนี้ที่ลูกหนี้ก่อให้เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว หากว่าลูกหนี้ทำนิติกรรมใดโดยได้รับคำสั่งหรือความเห็นชอบตามมาตรา ๒๔
หรือลูกหนี้ก่อเหตุละเมิดขึ้น
เช่นนี้
มูลหนี้ดังกล่าวนั้นย่อมบังคับได้ตามกฎหมาย
หนี้ส่วนนี้เป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ในการล้มละลายของลูกหนี้ เนื่องจากมูลแห่งหนี้เกิดขึ้นภายหลังศาลวันที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
แต่มูลหนี้ดังกล่าวเป็นมูลหนี้ที่สามารถบังคับได้และผูกพันลูกหนี้
ตัวอย่าง หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ ลูกหนี้ขับรถชนคนได้รับบาดเจ็บ
กรณีเป็นการกระทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
๔๒๐ และมาตรา ๔๓๗
ผู้ได้รับบาดเจ็บสามารถฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีแพ่งได้ และเมื่อศาลพิพากษาแล้ว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็สามารถบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ในส่วนที่ไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือจะไปบังคับคดีภายหลังจากลูกหนี้หลุดพ้นจากการล้มละลายแล้วก็ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๘๕๑/๒๕๔๕
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ
มาตรา ๒๔ และ ๒๕
การที่บุคคลล้มละลายจำนองที่ดินของตนแก่ผู้รับจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ของผู้อื่นภายหลังที่ศาลได้พิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว เป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อันมีผลผูกพันในที่ดินที่จะต้องถูกบังคับคดีในที่สุดหากไม่ชำระหนี้
และฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพราะไม่ได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ นิติกรรมจำนองจึงตกเป็นโมฆะ มิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องเข้าว่าคดีแพ่งอันเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลตามบทบัญญัติดังกล่าวด้วย
แม้หากการกระทำของลูกหนี้จะเป็นการละเมิดต่อโจทก์และมีหนี้ที่จะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
แต่หนี้ดังกล่าวก็เกิดขึ้นภายหลังที่ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว
โจทก์ไม่อาจนำมาขอยื่นรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา
๒๗, ๙๑ และ
๙๔
โจทก์ชอบที่จะฟ้องลูกหนี้เป็นจำเลยโดยตรง
โจทก์จะฟ้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นจำเลยแทนลูกหนี้หาได้ไม่
๒. หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการจัดกิจการทรัพย์สินของลูกหนี้ โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าไปจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้แล้วเกิดหนี้ที่กองทรัพย์สินของลูกหนี้จะต้องรับผิด
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่นำเงินจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ดังกล่าว
ในกรณีเช่นนี้หากต่อมาลูกหนี้พ้นจากการล้มละลายแล้ว ลูกหนี้จะต้องรับผิดหนี้ดังกล่าวด้วย
หนี้ที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจการกองทรัพย์สิน แยกพิจารณาดังนี้
๒.๑ หนี้ค่าจ้างแรงงาน
การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ซึ่งเป็นนายจ้างนั้น มิได้ทำให้สัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลง ถือว่าลูกหนี้และเจ้าหนี้ยังคงเป็นลูกจ้างนายจ้างกันต่อไป
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่จะต้องนำเงินจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้มาชำระค่าจ้างดังกล่าว
หากว่ามีการเลิกจ้างเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ก็มีหน้าที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ชำระ
ลูกจ้างก็สามารถฟ้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้นำเงินจากกองทรัพย์สินชำระหนี้ได้
คำพิพากษาฎีกาที่
๘๙๒๓-๘๙๒๔/๒๕๕๑ เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ก.
ลูกหนี้แล้ว อำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างชำระอยู่เสร็จสิ้นไปเป็นอำนาจของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา
๒๒
จำเลยจึงเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท
ก. ลูกหนี้ผู้เป็นนิติบุคคล
การที่จำเลยจ้างโจทก์ทั้งห้าหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวโดยจ่ายค่าจ้างจากกองทรัพย์สินของบริษัท ก.
ลูกหนี้
โจทก์ทั้งห้าจึงเป็นลูกจ้างของบริษัท
ก.
ลูกหนี้โดยมีจำเลยเป็นผู้กระทำการแทน
จำเลยมีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ทั้งห้าตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.
๒๕๔๑ มาตรา ๕
เมื่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.
๒๕๒๒ มาตรา ๘
บัญญัติให้ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และโจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.
๒๕๔๑
โจทก์ทั้งห้าจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางได้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๑๑๔/๒๕๒๘
เมื่อจำเลยที่ ๑ ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ย่อมหมดอำนาจที่จะดำเนินกิจการงานของตนต่อไป แต่จำเลยที่
๒ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
มีอำนาจตามกฎหมายที่จะจัดการหรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของจำเลยที่ ๑
และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าลูกจ้างของลูกหนี้หมดสิทธิที่จะทำงานให้ลูกหนี้ต่อไป ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ ๒
บอกเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ ๑
จึงเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายเงินค่าชดเชยซึ่งกฎหมายแรงงานบังคับให้จำเลยที่ ๑
ต้องจ่ายให้แก่โจทก์นั้นเกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ย่อมเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระได้ ตามมาตรา
๙๔
แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ
แต่เมื่อจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้จัดการกิจการทรัพย์สินแทนจำเลยที่ ๑
แล้วเกิดมีเงินที่กฎหมายบังคับให้จ่ายเกิดขึ้น จำเลยที่
๒
ก็มีหน้าที่ต้องเอาเงินของจำเลยที่
๑ จ่ายแทนจำเลยที่ ๑
โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่
๒ ให้จ่ายเงินค่าชดเชยได้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๕๒๓/๒๕๕๒
การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดมีผลเพียงทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถกระทำการใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน
ต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้จัดการหรือกระทำการแทน ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา
๒๒ และ ๒๔
หามีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างลูกหนี้ผู้เป็นนายจ้างกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นลูกจ้างสิ้นสุดไปด้วยไม่ ทั้งไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่า
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดแล้วลูกจ้างของลูกหนี้หมดสิทธิ
ที่จะทำงานให้ลูกหนี้ต่อไปแม้ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้ก็ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของลูกหนี้อยู่นั่นเอง
กรณียังไม่ถือว่ามีการเลิกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา
๑๑๘
๒.๒ หนี้ภาษีอากร
หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
หากปรากฏว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินและเกิดหนี้ภาษีอากร ซึ่งกองทรัพย์สินจะต้องรับผิด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ต้องนำเงินจากกองทรัพย์สินมาชำระหนี้ภาษีอากรดังกล่าว หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ชำระ
เจ้าหนี้ภาษีอากรดังกล่าวสามารถฟ้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นจำเลยได้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๔๕๙/๒๕๓๓
บริษัทลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแต่ยังเป็นเจ้าของที่ดินอยู่ในระหว่างนั้นย่อมต้องมีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่
พระราชบัญญัติล้มละลายฯมิได้กำหนดมิให้ฟ้องเกี่ยวกับหนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายหลังถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่สามารถขอรับชำระหนี้ได้ภายในเวลาตามที่พระราชบัญญัติล้มละลายฯ
กำหนดไว้การเกิดหนี้ขึ้นโดยผลของกฎหมายเช่นนี้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินการแทนลูกหนี้
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เกี่ยวกับภาษีรายนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องให้รับผิดได้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๔๗/๒๕๓๔
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ปรากฏว่าลูกหนี้เป็นหนี้ภาษีบำรุงท้องที่ต่อโจทก์
เจ้าพนักงานของโจทก์จึงได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยเพื่อให้ชำระค่าภาษีดังกล่าวดังนี้
การแจ้งการประเมินจึงเป็นการปฏิบัติตามวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.
๒๕๐๘ มาตรา ๔๘
ไม่ใช่เรื่องการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา
๙๑
การที่จำเลยมีหนังสือไปถึงผู้อำนวยการเขตลาดกระบังแจ้งว่า
หนี้ค่าภาษีบำรุงท้องที่เป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระได้นั้น เป็นเรื่องที่นอกเหนืออำนาจตามกฎหมาย
เท่ากับเป็นการแจ้งความคิดเห็นของจำเลยไปให้ผู้อำนวยการเขตลาดกระบังทราบเท่านั้น
ถือไม่ได้ว่าจำเลยมีคำวินิจฉัยในเรื่องคำขอรับชำระหนี้ จึงไม่มีผลผูกพันใดๆ ต่อโจทก์
โจทก์จึงไม่ต้องร้องคัดค้านความเห็นของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา
๑๔๖ ก่อน ฉะนั้น
การที่จำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของลูกหนี้เนื่องจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และได้จัดให้เช่าที่ดินของลูกหนี้ จำเลยจึงมีหน้าที่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ ตามมาตรา
๓๕ วรรคสอง
หนี้เงินภาษีดังกล่าวเป็นหนี้ที่กฎหมายบังคับให้ต้องชำระ แม้จะเกิดขึ้นภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว จำเลยก็ยังมีหน้าที่ชำระหนี้แทนลูกหนี้
หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการจัดกิจการทรัพย์สินของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น
ถือว่าเป็นหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นๆ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา
๑๓๐(๒) เช่นนี้ หากว่าทรัพย์สินในกองทรัพย์สินมีไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทุกลำดับ
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องนำเงินที่ได้จากการรวบรวมในกองทรัพย์สินมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการจัดกิจการและทรัพย์สินก่อน
ผลของการสิ้นสุดคดีล้มละลาย
การที่คดีล้มละลายสิ้นสุดลงนั้น
ปัญหาว่าลูกหนี้จะต้องรับผิดหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระได้ตามที่กล่าวมาข้างต้นหรือไม่นั้น
คงต้องแยกพิจารณาเป็นการสิ้นสุดของคดีล้มละลายเป็นกรณีๆ ไป
ได้แก่
กรณีศาลมีคำสั่งปลดลูกหนี้จากการล้มละลาย ซึ่งผลของการปลดจากการล้มละลายพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา
๗๗ กำหนดว่า คำสั่งปลดจากการล้มละลาย
ทำให้บุคคลล้มละลายหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระหนี้ได้
เว้นแต่หนี้เกี่ยวกับภาษีอากรหรือหนี้ที่ได้เกิดขึ้นโดยการทุจริตฉ้อโกงของบุคคลล้มละลาย เช่นนี้ในหนี้ส่วนที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้เมื่อได้รับการปลดจากล้มละลายหาทำให้บุคคลล้มละลายหลุดพ้นแต่อย่างใดไม่ ตามตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่า ในกรณีที่ลูกหนี้ก่อหนี้ละเมิดในขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด แม้ว่าศาลจะมีคำสั่งปลดจากลูกหนี้จากการล้มละลาย
แต่ลูกหนี้ก็ยังต้องรับผิดมูลหนี้ละเมิดที่ก่อให้เกิดขึ้น
กรณีศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลาย หากว่าเป็นการยกเลิกการล้มละลาย ตามมาตรา
๑๓๕(๑) หรือ (๒)
นั้น
ไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้สินแต่อย่างใด กล่าวคือ
ลูกหนี้เคยเป็นหนี้อยู่เช่นใดก็คงเป็นหนี้อยู่เช่นนั้น
ในหนี้ส่วนที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ในคดีล้มละลาย
หากว่าต่อมาศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ ตามมาตรา
๑๓๕(๑) หรือ (๒)
ลูกหนี้ก็ไม่หลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าว
ส่วนกรณีที่ศาลมีคำสั่งยกเลิกจากการล้มละลายของลูกหนี้ ตามมาตรา
๑๓๕(๓) หรือ (๔)
ซึ่งได้แก่
กรณีที่หนี้สินของเจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้นั้นได้มีการชำระเต็มจำนวนแล้ว หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้แบ่งทรัพย์ครั้งที่สุด หรือไม่มีทรัพย์สินจะแบ่งให้แก่เจ้าหนี้แล้ว ต่อแต่นั้นมาภายในกำหนด ๑๐
ปี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ไม่อาจรวบรวมทรัพย์สินของบุคคลล้มละลายได้อีก ตามมาตรา
๑๓๕(๓) หรือ (๔)
ซึ่งจะทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงนั้น
ก็หมายความเฉพาะหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้อันจะต้องเข้าสู่กระบวนการขอรับชำระหนี้ และแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลายเท่านั้น ส่วนหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ ซึ่งได้แก่
หนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
หรือหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเข้าไปจัดกิจการและทรัพย์สินของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ลูกหนี้ก็หาหลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าวนั้น
แต่อย่างใดไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น