3507/2546 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ กำหนดวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณา
เพื่อความสะดวกรวดเร็วไว้เป็นพิเศษนอกเหนือจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยมาตรา
19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
บัญญัติให้โจทก์ฟ้องด้วยวาจาได้และให้ศาลบันทึกใจความแห่งคำฟ้องไว้เป็นหลักฐาน
การฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงจึงไม่ต้องปฏิบัติเคร่งครัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 158 โดยเฉพาะในอนุมาตรา 5 คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องเป็นบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและศาลชั้นต้นได้บันทึกไว้แล้วว่าโจทก์ฟ้องว่า
จำเลยได้ช่วยเหลือ ช่วยซ่อนเร้น พ.
ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย บาดเจ็บ
และทรัพย์สินเสียหายอันมิใช่ความผิดลหุโทษโดยรับขึ้นรถยนต์บรรทุกที่จำเลยขับจากที่เกิดเหตุไปส่งยังที่อื่น
เพื่อไม่ให้ พ. ถูกจับกุม ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 คำฟ้องดังกล่าวแม้จะไม่ได้บรรยายว่า จำเลยมีเจตนากระทำเพื่อไม่ให้ พ.
ต้องโทษ แต่การที่จำเลยรับ พ. ขึ้นรถแล้วขับรถไปส่งยังที่อื่นเพื่อไม่ให้ถูกจับกุม
ก็เป็นการแสดงให้เห็นแล้วว่าจำเลยกระทำเพื่อไม่ให้ พ. ต้องรับโทษ
ซึ่งจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วจึงให้การรับสารภาพต่อศาลชั้นต้น
คำฟ้องที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจาตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและตามที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้นั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว
บล็อกนี้ทำขึ้นเพื่อรวบรวมคำพิพากษาของศาลฎีกาย้อนหลังเป็นเวลาประมาณ10ปีจนถึงปัจจุบัน โดยจัดเป็นหมวดหมู่เป็นรายวิชาเพื่อให้ง่ายแก่การค้นคว้า อีกทั้งยังรวบรวมบทความที่น่าสนใจไว้อีกด้วย
วิชา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม , พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ,พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 สามารถค้นหาคำพิพากษาฎีกาภายใน 1o ปี หลังสุดได้แล้วครับ จะเร่งเพิ่มวิชาต่อไปให้เสร็จตามมาเรื่อยๆครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น